Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
วันนี้ เวลา 05:45 • สุขภาพ
ไอเรื้อรังจาก “กรดไหลย้อน” เกิดจากอะไร? ทำไมทำให้เกิดหลอดลมอักเสบได้
อาการไอนับเป็นกลไกร่างกายอย่างหนึ่ง แต่โรคกรดไหลย้อนก็สามารถทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ แพทย์เผยอันตรายหรือไม่?
อาการไอ ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายในการขับสิ่งแปลกปลอมออกจากระบบทางเดินหายใจ เช่น มูก เสมหะ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ การไอจึงเป็นการช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในร่างกายของผู้ป่วย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการกระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นด้วยเช่นกัน
แบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ
● ไอเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ซึ่งหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวและหายไอ ภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์
ไอเรื้อรัง
● ไอกึ่งเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า การฟื้นตัวจึงใช้เวลานานกว่า คือประมาณ 3-8 สัปดาห์ขึ้นไป
● ไอเรื้อรัง มีอาการไอติดต่อกันยาวนานกว่า 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบและติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ รวมถึงโรคกรดไหลย้อน
● ไอเรื้อรัง กับ โรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกรดจากกระเพาะอาหาร เคลื่อนตัวขึ้นไปยังหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อและนำไปสู่อาการจุกเสียด เรอ คลื่นไส้ และแสบร้อนกลางอก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและย่อยยาก รวมถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลายหย่อน
ทั้งนี้อาการจุกเสียดและแสบร้อนหน้าอกมักเกิดขึ้นมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดแผลและความเสียหายถาวรโดยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
แม้อาการจุกเสียด แสบร้อนกลางอกและเรอเปรี้ยว จะเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคกรดไหลย้อน แต่อาการไอเรื้อรังก็เป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยเช่นกัน โดยงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าโรคกรดไหลย้อนมีความเกี่ยวข้องกับอาการไอเรื้อรังอย่างน้อย 25 % รวมถึงผู้ป่วยไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หากตรวจอย่างละเอียดจะพบว่ามีปัจจัยมาจากโรคกรดไหลย้อนมากถึง 40%โดยผู้ป่วยไม่มีอาการของกรดไหลย้อน เช่น เรอเปรี้ยว หรือแน่นหน้าอกก็เป็นได้
อาการไอเรื้อรังจากภาวะ กรดไหลย้อน เกิดขึ้นจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง บางกรณีอาจเสี่ยงกับอาการหอบหืด หรืออาจเกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไประคายเคืองเส้นประสาทบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการไอขึ้น
นอกจากนี้ หากพบอาการไอหลังรับประทานอาหารมักเกิดจากความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น จนกรดไหลลงไปในหลอดลม ส่วนภาวะไอในขณะนอนหลับ จนสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกมีสาเหตุมาจากกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มมากขึ้นและไปรบกวนระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมหดตัวหรือเกิดการอักเสบ
วิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน
● รับประทานยาแก้ไอเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
● รับประทานยาลดกรดเพื่อยับยั้งการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร
ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาเป็นเวลานานหรือพบผลข้างเคียงจากการใช้ยา รวมถึงผู้ป่วยที่ใช้ยามาเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้แล้ว
สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจะช่วยให้อาการดีขึ้น โดยการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด เน้นอาหารมีประโยชน์ ไขมันต่ำ ย่อยง่ายและมีกากไย นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักมากเกินไปด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดชากาแฟ และไม่สูบบุหรี่ รวมถึงการลดความดันในกระเพาะอาหารด้วยการสวมเสื้อผ้าหลวมๆ และที่สำคัญคือไม่นอนราบหลังหรือระหว่างมื้ออาหาร ควรรอประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
หากพบอาการไอเรื้อรัง นานกว่า 3–8 สัปดาห์ โดยไม่ได้รับประทานยาที่กระตุ้นให้ไอมากขึ้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ป่วยเป็นภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หรือโรคหอบหืด รวมถึงการเอ็กซเรย์พบว่าปอดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการไอที่หาสาเหตุไม่พบ การรักษากรดไหลย้อนอาจช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/6139
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
ร่างกาย
สุขภาพจิต
สุขภาพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย