Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
28 พ.ย. 2024 เวลา 13:31 • สุขภาพ
ในผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก ทำไมแพทย์ถึงสั่งยาระบาย 2 ชนิด ให้ใช้คู่กัน
และยาระบาย ทั้ง2 ชนิดต่างกันอย่างไร วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ😍
#ชนิดที่ 1 คือ #Mucilin (มิวซิลิน)
เป็นยาระบายเพิ่มกากใยในลำไส้ (fiber -ไฟเบอร์) ที่สกัดจากเมล็ดเทียนเกล็ดหอย (psyllium husk) เป็นคาร์โบไฮเดรตโพลิเมอร์ชนิดย่อยยาก จึงไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร
.
#การออกฤทธิ์ -เพิ่มปริมาณอุจจาระ จากคุณสมบัติของไฟเบอร์ ที่ดูดน้ำไว้ในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ขยาย จึงกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว และขับถ่ายออกมา
-เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ท้องผูก เนื่องจากทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และลำไส้ยังบีบตัวหรือทำงานได้ดี อาจจะไม่ค่อยได้ผลในผู้สูงอายุซึ่งการบีบตัวน้อย หรือ ท้องผูกมาก อาจต้องใช้ยาระบายอื่นเสริม
ซึ่งยาระบายประเภทนี้อาจจะดูเหมือนมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน คือ
.
-อาจทำให้ท้องอืด จึงควรรับประทานน้ำตามและดื่มน้ำในระหว่างวันให้มากขึ้น และไม่ควรรับประทานก่อนนอน
.
-ผู้ป่วยที่มีอุจจาระแข็งค้างอยู่ในลำไส้ ไม่ควรรับประทาน เช่น ถ่ายได้น้อย หรือไม่ถ่ายหลายวัน การรับประทานยาระบายประเภทนี้อาจเป็นผลเสียทำให้อุจจาระอัดแน่น อยู่ในลำไส้เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้แน่นท้อง ท้องอืดมากได้คะ
.
#ชนิดที่ 2 คือ #Lactulose (แลคตูโลส)
#แลคตูโลส เป็นน้ำตาลชนิดโมเลกุลคู่ของฟรุกโตสและกาแลคโตส ถูกย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เปลี่ยนเป็นกรดแลกติก เมื่อบริเวณลำไส้ใหญ่มีสภาวะเป็นกรด มีผลทำให้เพิ่มการดูดน้ำเข้ามาในโพรงลำไส้ใหญ่ กระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ ทำให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายได้
ยาไม่ถูกย่อยและถูกดูดซึมในทางเดินอาหาร เหมือนมิวซิลิน จึงทำให้มีผลข้างเคียงน้อย
#อาการไม่พึงประสงค์ ก็คือ ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดเกร็งช่องท้องได้ เนื่องจากถูกย่อยโดยแบคทีเรีย อาจทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
.
#สรุป จากคุณสมบัติของยาทั้งสองชนิดซึ่งแตกต่างกัน จึงทำให้แพทย์สั่งยาระบายมิวซิลิน เพื่อเพิ่มกากใยในลำไส้ และเพิ่มปริมาณอุจจาระ
ส่วนแลคตูโลส รับประทานเพื่อที่ทำให้อุจจาระนุ่มลง และขับถ่ายออกมาได้ง่ายขึ้น
ยาทั้งสองชนิด แพทยฺจึงสั่งใช้เสริมกัน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง เพื่อไม่ต้องการให้ผู้ป่วยเบ่งเยอะเกินไป ซึ่งอาจทำให้ริดสีดวงกำเริบ หรืออาการแย่ลงได้คะ😁
สุขภาพ
health
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย