9 ธ.ค. เวลา 12:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

อยากได้ซักกล่องไปลองเล่นกันไหม? กับของเล่นที่ขึ้นชื่อว่าหายากและอันตรายที่สุด

สนุก สวยงาม อันตรายกับยูเรเนียม-238 ของจริงให้คุณได้ลองสัมผัสประสบการณ์วัตถุกัมมันตรังสีที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
2
เปิดตัวและวางจำหน่ายในช่วงปี 1950-1951 ในชื่อ Gilbert U-238 Atomic Energy Laboratory ชุดของเล่นวิทยาศาสตร์ ผลิตโดย Alfred Carlton Gilbert เจ้าของชุดของเล่น Erector Set ที่เคยได้รับความนิยมในอเมริกา
Erector Set ของเล่นชุดต่อโลหะที่จริงจังเอาเรื่อง
ว่ากันว่ามันถูกผลิตและจำหน่ายไปได้เพียง 5,000 กว่าชุดเท่านั้น จึงเรียกได้ว่าหายากมาก ๆ และมาวันนี้ RR Auction ร้านประมูลในบอสตันก็ได้นำเอาของเล่นหายากสุดอันตรายนี้มาเปิดให้ผู้สนใจร่วมประมูลกันได้แล้ว
1
ส่วนหนึ่งที่มันขายได้น้อยนั่นก็เพราะว่าราคาตอนวางขายเมื่อปี 1950 นั้นอยู่ที่ชุดละ 50 ดอลล่าร์ซึ่งแพงมาก ๆ ในยุคนั้น เอาจริง ๆ ก็สมควรแหละเพราะอุปกรณ์มันคือ Set เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ศึกษาด้านนิวเคลียร์ได้เลย
1
สำหรับเจ้า Atomic Energy Laboratory นี้ในชุดประกอบไปด้วยอุปกรณ์อะไรกันบ้างเรามาดูกัน
หน้าตาของชุด Atomic Energy Laboratory แบบเต็มเซ็ท
- ขวดตัวอย่างแร่กัมมันตรังสี ซึ่งได้แก่ คาร์โนไทต์(Carnotite), ออทูไนต์(autunite), ทอร์เบอร์ไนต์(torbernite) และยูเรนไนท์(uraninite) ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ศึกษาเกี่ยวกับรังสี ^^
1
- ส่วนอุปกรณ์ได้แก่
ชุด cloud chamber ซึ่งใช้สำหรับสังเกตการแผ่รังสีอัลฟา(หรืออนุภาคอัลฟา) ที่วิ่งผ่านอากาศด้วยความเร็วกว่า 20,000 กิโลเมตรต่อวินาที
หน้าตาของ cloud chamber เมื่อประกอบเสร็จตามคู่มือ
spinthariscope กล้องตาเดียวที่ใช้ส่องดูร่องรอยการสลายตัวของกัมมันตรังสีบนฟิล์มฟลูออเรสเซนส์
หน้าตาและหลักการทำงานของ spinthariscope
electroscope กล้องส่องเพื่อใช้ดูอัตราการแผ่รังสีของแร่ตัวอย่างทั้ง 4 ชนิด เพื่อให้เห็นว่าสารกัมมันตรังสีแต่ละชนิดก็มีอัตราการแผ่รังสีที่แตกต่างกันไป
หน้าตาของ electroscope ในเซ็ต
แล้วก็ไฮไลท์เลยครับกับ Geiger counter เครื่องวัดรังสี อันที่จะมีเสียง แกรก ๆ ๆ สุดหลอนที่เราได้ยินได้เห็นในภาพยนตร์นั่นแหละครับ เอาจริงซื้อเอาไอ้เครื่องวัดรังสีนี่ได้ในยุคนั้นผมว่าก็คุ้มแล้ว ^^
3
Geiger counter ก็มีให้ในเซ็ตจ้า ของเล่นที่จริงจังมาก
แล้วก็มีพวกแบบจำลองอะตอมของอนุภาคอัลฟาให้ต่อเล่น (อันนี้ค่อยดูเป็นของเล่นหน่อย)
ว่าแต่เจ้าของเล่นชุดนี้มันอันตรายขนาดไหน?
ในปี 2020 นิตยสาร IEEE Spectrum ได้ทำการวิเคราะห์เจาะลึกเจ้า Atomic Energy Laboratory นี้แล้วว่าถ้าหากตัววัตถุตัวอย่างถูกเก็บไว้ขวดบรรจุอย่างที่คู่มือระบุไว้ อัตราการแผ่รังสีจากแร่ผ่านขวดนั้นไม่ต่างจากปริมาณรังสีที่เราได้รับจากรังสียูวีจากแสงอาทิตย์
เรียกได้ว่าปลอดภัยหายห่วงถ้าไม่แกะตัวอย่างแร่ออกจากขวดมาทำให้มันฟุ้งกระจาย
สำหรับผู้ที่สนใจยังพอมีเวลานะครับ เพราะการประมูลจะสิ้นสุดลงเที่ยงคืนวันที่ 11 ธันวาคมนี้(เวลาที่บอสตัน) และราคาประมูลล่าสุด ณ ที่เขียนบทความอยู่ที่ 4,400 ดอลล่าร์
โดยใน Set ที่จัดประมูลจะมาพร้อมคู่มือและจดหมายแจ้งสาเหตุยกเลิกการจำหน่ายจาก A.C. Gilbert ในปี 1953 ด้วย ซึ่งเนื้อความในจดหมายระบุว่าสาเหตุมาจากการคุมเข้มจากทางรัฐและหาของมาผลิตยากขึ้น (ก็แน่หละ ของแต่ละอย่างใน set จัดเต็มขนาดนี้)
จดหมายแจ้งสาเหตุยกเลิกการจำหน่ายจาก A.C. Gilbert
แต่ก็ขอเตือนไว้ก่อนสำหรับนักสะสมบ้านเรา หากใครจะเข้าร่วมประมูลต่อให้ชนะก็อาจจะไม่ได้ของนะครับ ไม่น่าจะผ่านพิธีศุลกากรได้เพราะสารกัมมันตรังสีเต็มกล่องเลยจ้า
1
เรียกได้ว่าเป็นของเล่นที่จริงจังและอันตรายมากที่เดียว และก็หายากมากด้วย สำหรับเราก็ดูเอาว่าเมื่อก่อนเคยมีของเล่นแบบนี้กับเขาด้วย ;)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา