11 ธ.ค. เวลา 08:00 • สุขภาพ

ส่องอนาคตสุขภาพจิตและการออกแบบเมืองเพื่อคน Gen Y

[#GenerationY] [#GenY] [#Millennials] คือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1981 - 1996 ซึ่งมีอายุ 28 - 43 ปี ในปี ค.ศ. 2024 ปัจจุบันคนเจน Y กำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านการทำงาน การเงิน และความรับผิดชอบต่อครอบครัว แม้ว่าคนเจเนอเรชันนี้จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หลายคนเริ่มสนใจการเกษียณก่อนวัย รวมถึงสร้างรายได้เสริมจากการลงทุน เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
43% ของคนเจน Y ในประเทศไทยมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเกษียณก่อนวัย ในขณะที่ 67% ของคนเจน Y มีรายได้เสริมที่แตกต่างกัน สร้างรายได้เสริมผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การทำงานศิลปะ การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ เป็นต้น
ปัจจุบัน คนเจน Y ที่อาศัยในเมืองใหญ่ต้องเผชิญกับความเครียดสะสมมากขึ้นจากปัจจัยหลากหลาย:
🔒 ความหนาแน่นของเมือง: ประชากรในกรุงเทพ มีความหนาแน่นมากกว่า 5,500 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งสัมพันธ์กับความเครียดที่เพิ่มขึ้น และการขาดพื้นที่ส่วนตัวในการผ่อนคลาย
🔒 การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล: คนเจน Y มักต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ปัจจุบัน ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8.55 ชั่วโมงต่อวัน การใช้เวลาออนไลน์มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกโดดเดี่ยว
🔒 การพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต: คนเจน Y ถูกบังคับให้ต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และหลีกเลี่ยงการถูกแทนที่งาน และเพิ่มโอกาสในอาชีพ
🔒 ปัญหาสิ่งแวดล้อม: การลดลงของพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ เหลือเพียง 7.49 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งส่งผลให้คนเจน Y ขาดโอกาสในการพักผ่อนและฟื้นฟูจิตใจ
ในอีก 10 ปีข้างหน้า คนเจน Y จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น:
⚠️ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม: การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิต ผู้ที่อยู่ในเมืองที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 35°C มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นถึง 20%
⚠️ ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลง: การพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในหน้าที่การงาน มีการคาดการณ์ว่า 44% ของแรงงานในประเทศไทยจะต้องพัฒนาทักษะใหม่ภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดงาน
⚠️ การดูแลครอบครัวและการเงิน: ความกดดันจากการดูแลครอบครัวและการสร้างความมั่นคงทางการเงินจะเพิ่มขึ้น โดยคนเจน Y ในประเทศไทยต้องแบกรับหนี้สินสูงกว่าคนรุ่นก่อนถึง 30%
เพื่อรองรับสุขภาพจิตของคนเจน Y เมืองในอนาคตจึงควรได้รับออกแบบที่เน้นความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดี ดังต่อไปนี้:
📌 เพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณะ เพื่อลดความเครียดและส่งเสริมการพักผ่อน การอยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่สีเขียวสามารถลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าลงได้ถึง 18%
📌 สนับสนุนชีวิตการทำงานแบบยืดหยุ่น เนื่องจาก 67% ของคนเจน Y ชอบทำงานแบบไฮบริด ซึ่งทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น
📌 จัดตั้งหน่วยดูแลสุขภาพจิตที่เข้าถึงง่ายทั้งในโลกจริงและทางออนไลน์ ใช้เทคโนโลยีจัดการความเครียด สอดคล้องกับความสำรวจที่พบว่า คนเจน Y 62% ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ
📌 ยกระดับระบบขนส่งมวลชนให้ปลอดภัยและทันสมัย ช่วยลดความเครียดจากการเดินทางประจำวัน
📌 ใช้เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ สารปนเปื้อนในอาหาร เป็นต้น การป้องกันมลพิษเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเจน Y
ดังนั้น เมืองในอนาคตต้องเป็นสถานที่ที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ ช่วยให้คนเจน Y สามารถใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนและสมดุลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
🔊 ดาวน์โหลดฟรี: งานวิจัย อนาคตสุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2576 (Future of Mental Health in Thailand 2033) https://www.futuretaleslab.com/research/futuresofmentalinthailand2033
ติดต่อเพื่อจัดอบรมหรือบริการที่ปรึกษาเพื่อสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการรองรับต่ออนาคต: contact@futuretaleslab.com
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #MentalHealth #MQDC
โฆษณา