Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
S
SINNER
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2024 เวลา 08:07 • บันเทิง
ทำไมเราถึงขี้เกียจ ?
เพราะสมองมนุษย์ถูกออกแบบให้ประหยัดพลังงาน ในอดีตมนุษย์ขาดแคลนอาหารและไม่มีตู้เย็นตุนเสบียง ทำให้การใช้พลังงานไปเรื่อยเป็นหนทางสู่ความตาย มนุษย์ที่ทำตัวขี้เกียจ นอนบ้าง อู้บ้าง จะรอดชีวิตและส่งต่อพันธุกรรมมาจนรุ่นเรา โดยที่สมองยังไม่พัฒนา แม้ว่าเราไม่ต้องอดอาหารแล้ว สรุปคือในอดีตความขี้เกียจทำให้อยู่รอด
แต่ไม่ใช่กับปัจจุบัน ความขี้เกียจนำพาไปสู่หายนะ ความยากจน ทำลายหน้าที่การงานและสถานะทางสังคม ความขยันและมีวินัยจึงเป็นตัวแปรสำคัญของความอยู่รอด
ดังนั้นวันนี้เราจะมารู้จักวิธี “สร้างวินัย” สไตล์ “คนขี้เกียจ” กัน
เราไม่ได้มีอารมณ์ทำงาน แต่เราทำงานจนเกิดอารมณ์
คุณเคยรู้สึกอิ่มข้าว แต่ข้าวเหลืออยู่ในจาน และคุณเลือกกินจนหมด ทั้งที่คุณอิ่มแล้วไหม ? เคยกำลังทำงานแล้วมีคนขัด เลยบอกว่า “รอแป๊ปนึง” ไหม? ถึงสมองเราจะขี้เกียจ แต่เมื่อมันเริ่มทำอะไรสักอย่างแล้ว มันต้องทำให้เสร็จ สิ่งนี้เรียกว่า Zeigarnik Effect และสมองชอบผลัดงานที่รู้สึกว่าใหญ่ ยาก ออกไปห่างๆ (Hadassah Lypzic)
ดังนั้นเราต้องซอยให้งานเล็กพอที่จะเริ่มทำ และให้ Zeigarnik Effect ทำงานต่อจนจบ เช่น แทนที่จะบอกตัวเองให้วิ่งทุกเช้า ลองแค่ใส่รองเท้าแล้วออกไปเดินดู ขี้เกียจอ่านหนังสือ 20 หน้าให้ลองอ่านแค่บรรทัดเดียว แล้วจากนั้นคุณจะอ่านบรรทัดต่อไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้กับทุกอย่างที่รู้สึกขี้เกียจ
สมองถูกออกแบบให้ขี้เกียจเพราะ สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต แม้ว่าความขี้เกียจเคยช่วยให้เรารอดชีวิต แต่เราต้องทิ้งมันไปเพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในปัจจุบัน
มันไม่ง่ายเลยที่จะมีวินัย แต่เรามีพรสวรรค์ของสมองซึ่งก็คือ เมื่อเริ่มงานทำใดแล้วงานนั้นต้องเสร็จ เราต้องเริ่มทำงานให้ได้และสมองจะสานต่อจนจบ เพียงแค่เริ่มจากจุดเล็กๆที่เริ่มต้นได้ทันที
เช่น อ่านหนึ่งบรรทัด เขียนหนึ่งประโยค วิ่ง 1 นาที อย่าประเมินสิ่งที่ผมพูดต่ำเกินไป แม้แต่เรือไททานิคยังจมได้จากแค่รูรั่วเล็กๆที่ไม่สำคัญ ความสำเร็จและวินัยคุณเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย