เมื่อวาน เวลา 07:05 • ความคิดเห็น
ข้อ 1 คือพฤติกรรมส่วนบุคคล ว่ากันไม่ได้ค่ะ ใครจะส่วนตัวสูงหรือต่ำ ชอบพูดคุยสนทนาหรือไม่อย่างใด หากไม่ใช่ในงาน ก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ไม่อย่างนั้น ยิ่งคุณไปโฟกัสเขามากเท่าใด สนใจเขามากเท่าใด คุณอาจไม่รู้ตัวว่า "กำลังขุ่นเคืองในตัวเขาไปทุกเรื่อง จ้องจับตามองไปทุกเรื่อง" ซึ่งมันก็คือ คุณกำลังให้ความสำคัญกับคนๆนี้ เป็นอย่างมาก....รู้ตัวบ้างไหม? น่าตีให้ตาย!
ข้อ 2 เป็นคนเก่ง ทำงานสำเร็จ ข้อนี้เราขอแย้งคุณนะคะ และเราแนะนำว่า คุณควรต้องนิยามคำว่า "คนเก่ง" เสียใหม่ เพราะคำว่าคนเก่ง ไม่ได้หมายถึง ทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ต้องให้หมายถึง "ทำงานสำเร็จเกินกว่าเป้าหมาย" ค่ะ (ให้นึกถึงสูตรการปรับผลตอบแทนประจำปี กราฟ Bell Curve นะคะ คนเก่งจะหมายถึงคนจำนวนน้อยมากๆ ที่อยู่ทางขวามือของปาก Bell Curve ที่คว่ำอยู่ และคนจำนวนน้อยๆ เหล่านี้แหละ ที่องค์กรใหญ่ๆ เน้นว่าต้องรักษาและพัฒนาเพื่อการสืบทอดตำแหน่งงาน เป็นเรื่องที่ Secretive มากในองค์กร
3. กับเพื่อนร่วมงาน ไม่ทะเลาะกับใคร ทำงานด้วยกันได้ปกติ แต่ไม่ร่วมกิจกรรมทางสังคม ไม่ร่วมกิจกรรมองค์กรเลย ซึ่งเฉพาะคำว่า "ไม่ร่วมกิจกรรมองค์กรเลย" ก็ไม่เป็นไปตามข้อบังคับการทำงานแล้วล่ะค่ะ แล้วปล่อยไว้ได้อย่างไร? คุณควรสอบถาม HR ดูว่ามีข้อนี้อยู่หรือไม่ คุณต้องร่วมกับ HR เพื่อออกหนังสือเตือนค่ะ ลองคิดดูว่าในขณะที่คนอื่น ปฏิบัติตามวินัยที่ระบุในข้อบังคับการทำงาน แต่มีคนไม่ยอมปฏิบัติ โดยไม่มีเหตุผลใดรองรับ หากปล่อยไว้จะทำให้คุณเสียการบังคับบัญชาได้นะคะ
4. ชอบเถียงหัวหน้า เถียงเก่ง มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่เมื่อหัวหน้าอธิบายจนเข้าใจก็ทำงานได้ตามปกติ แบบไม่เถียง ลองทบทวนดูว่า "เขาเถียง" หรือ "เขาแสดงความคิดของตัวเอง" เพื่ออยากให้คุณรับฟังบ้าง ยิ่งคุณฟังนิ่งๆ อมยิ้มน้อยๆ เอ่ยปากว่า "อื้ม! ที่คุณพูดก็น่าคิดนะ (ชมเขาสักหน่อย) แต่คุณช่วยทำตามที่ผมสั่งก็แล้วกัน มีปัญหาอะไรผมรับผิดชอบเอง ขอบใจมาก" คุณต้องทำให้ลุกน้องที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เชื่อมั่นในตัวเองสูง ได้เบาใจว่า สิ่งที่เขาทำตามที่คุณสั่ง เขาจะไม่ถูกตำหนิใดๆ
5. กล้าแย้งหัวหน้าในสิ่งที่่เขาคิดว่าไม่ถูก หัวหน้าขอก็ไม่ยอมทำตาม จนหัวหน้าต้องไปให้คนอื่นทำแทน หรือเอามาทำเอง ข้อนี้ เราขอตำหนิหัวหน้า คุณเป็นหัวหน้าได้อย่างไร ไม่มีวิธีจัดการลูกน้อง ลูกน้องคนอื่น จะขาดความเคารพในตัวคุณ อย่างไม่ต้องสงสัย จัดการไม่ได้ ก็ต้องไปที่ HR ค่ะ หน้าที่ HR โดยตรง ว่าจะร่วมกันในการจัดการพฤติกรรมลูกน้องคนนี้อย่างไรดี
6. บ่นว่าเกลียดองค์กร แต่ก็ยังไม่ออกไปไหน ทำงานให้องค์กรเต็มที่เหมือนเดิม ที่เขาบ่นว่า เกลียดองค์กร เขาไม่ได้เกลียดองค์กรค่ะ กลับกัน "เขาเกลียดคนในองค์กร" ต่างหาก และคนในองค์กรที่เขาเกลียดนี่แหละ คุณต้องรู้ว่าาคือใคร?
7. บางทีก็มาเช้าก่อนเวลาทำงานมาก ๆ บางทีก็มาสายไปเลย ช่วงเช้าหายไปเลย
8. องค์กรนัดใส่เสื้อสีเดียวกัน แต่เจ้าตัวก็ไม่สนใจ ใส่แบบที่ตัวเองอยากใส่ องค์กรขอให้ถ่ายรูปรวม ก็หนีหายไป องค์กรนัดประชุม นึกอยากจะโดดประชุม ก็หายไป
9. เคยบอกว่า พฤติกรรมแบบนี้มันเสี่ยงมีโทษทางวินัยขององค์กร ก็โดนตอบกลับว่า เอาเลย อยากทำอะไรก็ทำ
เราย้ำอีกครั้ง ในข้อ 3, และ 7 - 9 โปรดคุยกับ HR ร่วมพิจารณาดูข้อบังคับการทำงาน ว่ามีวินัยกำกับไว้หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องกล้าที่จะออกหนังสือเตือน คุณกับ HR กล้าหรือเปล่าคะ? (ขอถามตรงไปตรงมา มีอะไร backup พนักงานคนนี้อยู่หรือ?
10. เป็นคนแปลก ไม่ค่อยคุยกับใคร แต่ดันมีเพื่อนที่สนิทมาก ๆ เกือบ 10 คน (หลาย ๆ กลุ่ม) และไม่เห็นคนในองค์กรที่เกลียดเขาจริง ๆ จัง ๆ
และแล้ว ในข้อ 10 ก็บอกเป็นนัยให้เรารู้ว่า เขามี backup คือเพื่อนร่วมงาน ที่สนิทกับเขาหลายคน คำถามคือ ทำไมเขามีเพื่อนสนิทถึง 10 คน? และคุณรู้ได้อย่างไรว่า คนเหล่านั้นสนิทกับเขา และคำถามสำคัญกว่าก็คือ "อะไรทำให้เพื่อนๆ สนิทกับเขา?
คำว่าคนเก่ง ต้องเกินเป้าหมาย
ถ้าทำได้ตามเป้าหมายเรียกว่าคนตามค่าเฉลี่ยค่ะ
คนที่จะได้รับการพัฒนาและรักษาเอาไว้
ต้องเก่งทั้งคน และเก่งทั้งงานค่ะ
ถ้าทำตัวเป็นหัวหน้าแก๊งค์เราจะไม่เรียกว่าเก่งคนนะคะ
ถ้าคุณเก็ทสิ่งที่เราไกด์ไว้ให้ทั้งหมด
มันจัดการได้ไม่ยากเลยค่ะ
โฆษณา