Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
mae-ying:organic
•
ติดตาม
23 ม.ค. เวลา 23:39 • สุขภาพ
ฝุ่น Pm2.5
ปัจจุบันอากาศในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงตามเมืองสำคัญต่าง ๆ เต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษมากขึ้น ซึ่งค่ามลภาวะทางอากาศของประเทศสูงติดอันดับต้น ๆ ของโลก
ฝุ่น PM 2.5 คือ
PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matters 2.5 หมายถึง ฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร (ไมครอน) ซึ่งด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กมาก ๆ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ถ้ามีปริมาณสูงมาก ก็จะดูคล้ายหมอกหรือควัน
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก การเผาไหม้ (Combustion particles) จากที่ต่าง ๆ เช่น
◉ ท่อไอเสียรถยนต์ หรือเครื่องยนต์
◉ ควันบุหรี่ ควันธูป
◉ การเผาขยะ เผาป่า เผาหญ้า
◉ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน หรือ เชื้อเพลิงในครัวเรือน
ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ ของฝุ่น PM 2.5 ทำให้สามารถลอดผ่านกลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ( ได้แก่ ผิวหนัง ขนจมูก เยื่อเมือกในหลอดลม รวมไปถึงเซลล์ที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมในถุงลม ) เข้าสู่ถุงลมปอดและซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้
ผลเสียต่อร่างกาย
ภายนอกร่างกาย
ผิวหนัง
1. เกิดผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองผิว ผื่นแดงคัน
2. ซึมผ่านเข้ารูขุมขน เกิดผิวหน้ามันขึ้น และ ทำให้เกิดการอัดตันของรูขุมขน เกิดสิว
3. ฝุ่นที่ซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนัง จะเกิดการอักเสบและกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำลายผิว ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร และจุดด่างดำ
ภายในร่างกาย
ระบบการหายใจ – เกิดการอักเสบที่เยื่อบุทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงปลายสุดของถุงลม ทำให้ผู้ที่โรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบการหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หรือ โรคหอบหืด จะเกิดการกำเริบของโรคได้ง่ายขึ้น และรุนแรงมากขึ้น คือ ภูมิแพ้กำเริบ (แสบจมูก แสบตา มีน้ำมูก คัดจมูก) หลอดลมอักเสบ (ไอ) หรือ
โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพองกำเริบ (ไอ หอบเหนื่อย และ หายใจลำบาก มีเสียงหายใจดังจากหลอดลมตีบ) ส่วนผู้ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวดังกล่าวเดิม สามารถแสดงอาการเช่นเดียวกันได้ หากได้รับฝุ่น PM2.5 เป็นระยะเวลานาน พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดได้สูงขึ้น รวมถึงสามารถเข้าไปทำลายในปอดของเด็กให้แย่ได้ง่ายกว่าปกติ
ระบบหลอดเลือด - ฝุ่น PM2.5 ที่เข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือด ในระยะยาวส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายจากเส้นเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์อัมพาตจากเส้นเลือดในสมองตีบ
การป้องกันตัวจาก PM2.5
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่มีการดึง PM2.5 ออกจากร่างกายได้ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้มลพิษร้ายเข้าสู่ร่างกายจึงเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ดังนี้
การดูแล ป้องกันตนเอง
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรืออาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศ
- สวมหน้ากากอนามัยชนิดที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่นหน้ากาก N95 เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน
- ควรทำความสะอาดผิว / ล้างหน้าให้สะอาดทันที หลังจากที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
- สวมเสื้อแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคืองของผิว
- ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันผิวแข็งแรงขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษหรือฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นได้หรือไม่แน่ใจการป้องกันตนได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงหากพบว่ามีอาการ เช่น หายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที
tiktok.com
#tiktokuni #tiktokสุขภาพ #ฝุ่นpm25
TikTok | Make Your Day
อาหารสุขภาพ
ฝุ่นpm
มะเร็ง
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย