10 ก.พ. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม

โรคฟิวซาเรียม

ไอ้ลูกพี่ของเหล่าโรคพืชประเภทเชื้อรา ที่เกษตรกรต่างต้องเคยหลั่งน้ำตากันมาแล้วนักต่อนัก โรคฟิวซาเรียม โรคเหี่ยว หรือโรคกิ่งแห้งในทุเรียน (สรุปรวบรัด อ่านได้ที่ช่วงท้ายของบทความนะครับ!)
1
ข้อมูลเบื้องต้น
  • ประเภทของโรค: เชื้อรา
  • ชื่อเรียก: โรคฟิวซาเรียม, โรคเหี่ยว หรือโรคกิ่งแห้งในทุเรียน
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Fusarium spp. หรือ Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการติดเชื้อ
  • พืชมีอาการเหี่ยวเฉา มักเริ่มจากใบที่อยู่ด้านล่างก่อนแล้วจึงค่อยลุกลามขึ้นด้านบน
  • ใบเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง มีอาการแห้งถึงแห้งสนิท
  • เมื่อขุดดินดูอาจพบรากหรือโคนต้นมีอาการเน่าเปื่อย แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นน้อย
  • เนื้อเยื่อด้านในเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ
  • หากอาการของโรครุนแรง พืชอาจแห้งตายได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์
เพิ่มเติม
  • บางกรณีอาจพบเส้นใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ
  • หากตัดลำต้นตามแนวขวางอาจพบวงสีน้ำตาลหรือสีดำภายในท่อน้ำและท่ออาหาร
  • ในพืชบางชนิดอาจพบอาการใบหงิกงอหรือแคระแกร็นได้
ระดับความรุนแรง
  • ระยะที่ 1 รุนแรงน้อย: ใบล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและเหลืองเล็กน้อย แต่พืชยังคงสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ
  • ระยะที่ 2 รุนแรงปานกลาง: การเจริญเติบโตของพืชชะลอลง ใบเหี่ยวและเหลืองมากขึ้น เริ่มลุกลามขึ้นไปยังใบด้านบน รากหรือโคนต้นเริ่มแสดงอาการเน่าเปื่อย
  • ระยะที่ 3 รุนแรงมาก: พืชเหี่ยวเฉาทั้งต้น ใบและกิ่งก้านมีสีเหลืองแห้งสนิท รากและโคนต้นเน่าเปื่อยอย่างรุนแรง
ลักษณะการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ผ่านดิน: เชื้อสามารถอยู่รอดในดินได้นานหลายปี และพร้อมแพร่กระจายผ่านดินที่ติดเชื้อได้ทุกเมื่อแม้อยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นใจ
  • ผ่านน้ำ: สามารถแพร่กระจายผ่านน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อได้
  • ผ่านเครื่องมือทางการเกษตร: เช่นเดียวกับการแพร่กระจายผ่านน้ำ การใช้เครื่องมือที่มีการปนเปื้อนเชื้อก็ลามได้เหมือนกันนะ
  • ผ่านเศษซากพืช: เศษซากพืชที่ติดเชื้อสามารถเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อได้
เพิ่มเติม
  • สภาพแวดล้อมที่เป็นใจ: ดินชื้น อุณหภูมิ 25-30°C และการระบายน้ำที่ดูแล้วควรต้องได้รับการปรับปรุงใหม่
1
มาตรการป้องกันและรับมือ
  • หลีกเลี่ยงการให้น้ำที่มากเกินไปและปรับปรุงการระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดความชื้นสะสมในดิน
  • ปลูกพืชต่างสกุลหมุนเวียนกันไป เพื่อลดการสะสมของเชื้อในดิน
  • ล้างและฆ่าเชื้อเครื่องมือทางการเกษตรก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้ง
  • ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ผสมลงไปในดินปลูก เพื่อควบคุมเชื้อในดิน
  • เฝ้าระวังและตรวจสอบพืชอยู่เป็นประจำ เพื่อค้นหาอาการผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ
โรคกิ่งแห้งในทุเรียน ภาพประกอบจากสวนทุเรียนใจดีแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี
สรุปรวบรัด
ฟิวซาเรียม เป็นเชื้อระดับไอ้ลูกพี่ที่สามารถแพร่กระจายได้แม้สภาพแวดล้อมไม่เป็นใจ อาการติดเชื้อก็ดันมีความละม้ายคล้ายกับอีกโรคอย่าง ไฟทอปธอรา
โชคดีที่วิธีการรับมือนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร แต่ถ้าหากต้องได้มานั่งแก้ไขอาการหลังติดเชื้อในระยะ 2 หรือ 3 อาจได้เห็นการสร้างงานสร้างอาชีพ หรือหนังชีวิตดีๆ สักเรื่องนึงเลยก็เป็นได้ ได้ ได้...(!?)
2
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
ครีเซอร์ เราสรุปเอาไว้แบบนั้น, แล้วทุกๆ ท่านคิดเห็นกันยังไงบ้างครับ?
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา