Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Crecer - ครีเซอร์ ผลิตภัณฑ์เพื่อไม้ประดับ
•
ติดตาม
15 ก.พ. เวลา 12:09 • สิ่งแวดล้อม
🌱 โรคไฟทอปธอรา
ลงทุนปลูกพืชดูแลอย่างดี รู้ตัวอีกทีมีแต่คราบน้ำตา
เชื้อราในสกุล Phytophthora เช่น Phytophthora infestans และ Phytophthora palmivora มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า โรคไฟทอปธอรา, โรครากเน่า-โคนเน่า
2
สังเกตอาการติดโรค
●
ระยะที่ 1: รากฝอยเริ่มมีอาการเน่า สังเกตได้จากเปลือกของรากที่ดูเปื่อยยุ่ยและหลุดล่อนออกมาได้ง่าย, เปลือกโคนต้นจะมีรอยแตก และอาจมีน้ำเมือกหรือน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลซึมออกมาให้เห็น
●
ระยะที่ 2: ใบล่างหรือนอกสุดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หลุดร่วงและฉีกขาดได้ง่าย, รอยแตกบนเปลือกจะขยายใหญ่ขึ้น สามารถเห็นคราบน้ำยางแห้งสีน้ำตาลแดงบนผิวเปลือกได้อย่างชัดเจน
●
ระยะที่ 3: ใบสีเหลืองเริ่มหลุดร่วงจนหมดต้น, รอยแตกรอบโคนต้นกลายเป็นแผลเน่ารุนแรงและเริ่มส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
1
เพิ่มเติม
●
บางกรณีน้ำเมือกหรือน้ำยางอาจมีความเหลวและเห็นเป็นสีดำหรือสีที่มีความใกล้เคียงกันได้
●
ในพืชหลายชนิดที่มุ่งเน้นการผลิตและบริโภคผล หากติดโรคจะทำให้ผลมีขนาดที่เล็กลง ไม่เหมาะแก่การนำไปจำหน่าย
●
ใน ทุเรียน อาการติดเชื้อในช่วงระยะที่ 1 แผลเน่าจะมีกลิ่นคล้ายคาลาเมลอ่อนๆ และกลิ่นจะเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าใกล้บริเวณโคนต้นในระยะที่ 2-3
การแพร่กระจายของโรค
1.
ผ่านน้ำ: ฝนตกหนัก น้ำกระเด็นจากพื้นดิน รดน้ำมากเกินไป แค่น้ำค้างสะสมบนใบก็ใช้กระจายเชื้อก่อโรคได้เหมือนกัน
2.
ผ่านดิน: เชื้ออาศัยอยู่ในดินได้นาน เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นใจก็สามารถแพร่กระจายผ่านรากของพืชได้โดยตรง
3.
ผ่านอากาศ: เวลาฝนตกลมแรงก็แพร่กระจายได้นะ แต่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ตอนที่ปลูกพืชอยู่ใกล้กันมากจนเกินไปเท่านั้น แค่อย่าประมาทกันก็พอ
4.
ผ่านซากพืช&สัตว์ขนาดเล็ก: ซากพืชที่ไม่เผาก็เหมือนเชิญให้เขาได้ลุยต่อ, สัตว์ขนาดเล็ก จะมีขาหรือไม่มีขา แค่สามารถเคลื่อนที่ได้ก็อันตรายทั้งสิ้น
เพิ่มเติม
●
สภาพแวดล้อมเป็นใจ เช่น ดินมีความชื้นสูง อุณหภูมิ 25-30°C พื้นที่ปลูกมีน้ำขังหรือน้ำท่วม เป็นต้น
1
การป้องกันและรับมือโรค
●
หลีกเลี่ยงการให้น้ำที่มากเกินไป คอยปรับปรุงการระบายน้ำในพื้นที่ปลูก เพื่อลดความชื้นสะสมในดิน
●
ปลูกพืชต่างสกุลหมุนเวียนกันไป เพื่อลดการสะสมของเชื้อก่อโรคในดิน
●
ล้างและฆ่าเชื้อเครื่องมือทางการเกษตรก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค
●
ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ผสมลงไปในดินที่ใช้ปลูก เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อในดิน
●
เฝ้าระวังและคอยสังเกตอาการติดโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน ภาพประกอบจากสวนทุเรียนใจดีแห่งหนึ่งในจังหวัดตราด
ไฟทอปธอรา เป็นเชื้อเจ้าบ้านที่ฝังตัวอยู่ในดิน ออกหากินเมื่อสภาพแวดล้อมเป็นใจ มีพาหะใช้กระจายโรคอยู่มากมาย พร้อมสร้างความเสียหายเมื่อความชื้นสะสม
🌱🌱🌱
เนื้อหาของเราเป็นยังไงบ้าง, แสดงความคิดเห็นกันที่ด้านล่างของโพสต์ได้เลยนะครับ!
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
เยี่ยมชม
linktr.ee
Crecer | Instagram | Linktree
Great to see you here! ขอขอบคุณสำหรับทุกๆ Followers ด้วยนะครับ
สิ่งแวดล้อม
เกษตร
ไม้ประดับ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคพืช
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย