เมื่อวาน เวลา 02:09 • สิ่งแวดล้อม

🌱 โรคราแป้ง

เชื้อราในสกุล Erysiphe, Podosphaera และ Oidium ชื่อเรียกคุ้นหู โรคราแป้ง หรือโรคผงขาว (สรุปรวบรัด อ่านได้ที่ช่วงท้ายของบทความนะครับ)
2
อาการของโรค
  • ระยะที่ 1: ใบเริ่มมีผงสีขาวคล้ายแป้งให้เห็น แต่พืชยังคงเจริญเติบโตได้ตามปกติ ระยะนี้ยังไม่มีผลกระทบกับผลผลิตมากนักครับ
  • วิธีรับมือ: ตรวจสอบและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น พยายามลดความชื้นในอากาศ และทำให้อากาศถ่ายเทสะดวกมากขึ้น
  • ระยะที่ 2: ผงสีขาวปกคลุมใบมากขึ้น ใบเริ่มมีสีเหลืองและหงิกงอ พืชจะชะลอการเติบโตลง เริ่มส่งผลกับผลผลิตแล้วในระยะนี้
  • วิธีรับมือ: ตัดแต่งและทำลายส่วนที่ติดเชื้อ ใช้สารเคมีกำจัด และใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อราครับ
  • ระยะที่ 3: ผงสีขาวปกคลุมทั้งใบและลำต้น ใบแห้งตายและเริ่มหลุดร่วง พืชแคระแกร็นพร้อมยืนต้นตาย
  • วิธีรับมือ: ทำลายพืชที่ติดเชื้อในระยะนี้ออกทั้งหมด และปรับปรุงสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ข้อมูลเพิ่มเติม
  • ผงขาวเกาะได้ทั้งบนใบและด้านล่างของใบครับ ในช่วงแรกจะมีลักษณะคล้ายคราบน้ำตา เอ้ย! คราบขาวจากการรดน้ำ อาจต้องช่างสังเกตนิดนึงครับ
  • ผงขาวจะทำหน้าที่คล้ายฟิวเตอร์บดบังแสงแดดครับ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ และแห้งตายอย่างน่าสงสาร
1
พักเบรกด้วย "ฟอร์จูน" ฮอร์โมนเกษตรเพื่อไม้ประดับ, เสริมความแข็งแรงให้พืช หรือใช้ชะลออาการของโรคจากเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ซีรี่ส์ Our Actions)
การแพร่กระจายของโรค
  • ผ่านลม: เพราะเป็นผง สปอร์ของเชื้อราเลยสามารถแพร่กระจายผ่านลมได้ง่ายมากๆ
  • ผ่านน้ำ: แพร่กระจายผ่านน้ำที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อราก็ได้
  • ผ่านเครื่องมือทางการเกษตร: กรรไกรตัดแต่งกิ่ง, จอบ, เสียม, คราด หรือแม้แต่ถุงมือ ก็สามารถใช้แพร่กระจายโรคได้เหมือนกันนะ
  • ผ่านซากพืช และสัตว์ขนาดเล็ก: ข้อนี้นับเป็นแหล่งซ่องสุมและผู้ก่อการร้ายได้เลยนะ อันตรายมาก ใครรักพืชอย่าลืมทำลายซาก ใครรักมากอย่าลืมใช้ "ฟอร์จูน" ครับ แฮร่!
ข้อมูลเพิ่มเติม
  • สภาพแวดล้อมเป็นใจ: อากาศชื้นและเย็น, อุณหภูมิ 20-27°C และพื้นที่ปลูกพืชที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
2
โรคราแป้งในยางพารา ภาพประกอบจาก thairubberimages.com
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • ถามมา(Q): พืชที่มักจะเจอกับโรคราแป้งมีอะไรบ้างฮะ?
  • ตอบไป(A): ถ้าตอบว่าพืชทุกชนิดจะโดนตีไหมครับ แฮร่! อ้างอิงจากข้อมูลงานวิจัยหลายแห่ง หลักๆ จะเจอในกุหลาบ, แตงกวา, ฟักทอง, องุ่น, แครอท และพริก ครับ แต่ถ้าจะอ้างอิงผ่านผลการสำรวจแบบไม่เป็นทางการ(Community) จะสามารถเจอได้ในไม้ประดับและพืชเกือบทุกชนิดเลยครับ
  • ถามมา(Q): มีสารสกัดจากธรรมชาติที่ใช้ควบคุมโรคราแป้งได้บ้างไหมฮะ?
  • ตอบไป(A): มีนะครับ สารสกัดจากสะเดา และน้ำส้มควันไม้ สามารถใช้ควบคุมเชื้อราได้บางส่วนครับ หรือทางที่ดีที่สุดจะใช้ "ฟอร์จูน" ก็ได้ครับ ขายซะเลยนี่แหนะ
  • ถามมา(Q): ถ้าทำตามวิธีการป้องกันและรับมือทุกอย่างแล้ว จะสามารถควบคุมโรคราแป้งได้กี่โมงฮะ?
  • ตอบไป(A): ประมาณ 2 สัปดาห์ก็นิ่งแล้วครับผม เชื้อราที่เห่อขึ้นมามันมีอายุขัยของมันครับ, แต่ถ้าอาการยังไม่นิ่ง อาจจะมีโรคอื่นๆ ที่แข็งแกร่งกว่าแทรกซ้อนอยู่ด้วยก็ได้ ตรวจสอบดูให้ดีนะครับ ด้วยรักส์จาก ครีเซอร์!
เคล็ดไม่ลับ (Tips)
  • ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีแสงแดดเพียงพอ ช่วยลดความชื้นในอากาศได้
  • ใช้ปุ๋ยที่มี ไนโตรเจน ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ครับ
  • คอยตรวจสอบพืชบ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศชื้นและเย็น ช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • ตอนกลางคืนอุณหภูมิปกติจะอยู่ที่ 25-30°C แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่านี้ได้อีก รู้ก่อน ช่วยให้สามารถวางแผนรับมือล่วงหน้าได้ครับผม
สรุปรวบรัด
โรคราแป้ง
พบได้ทั่วไปในไม้ประดับและพืชหลากหลายชนิด สามารถรับมือได้ง่ายๆ ด้วยการระบายอากาศที่ดี, คอยตรวจสอบพืชบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาว และเผาหรือทำลายส่วนที่ติดเชื้อทันทีหากทำได้
1
🌱🌱🌱
ครีเซอร์ เราสรุปไว้แบบนั้น ทุกๆ ท่านคิดเห็นกันยังไงบ้างครับผม?
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา