Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Crecer - ครีเซอร์ ผลิตภัณฑ์เพื่อไม้ประดับ
•
ติดตาม
7 มี.ค. เวลา 02:09 • บ้าน & สวน
🌱 โรคแอนแทรคโนส
"บุ๋ม-ดำ-ช้ำ" ให้ 3 คำ จำกันได้แน่นอน, โรคพืชในไม้ประดับ ที่ลามมาจากพืชผักสวนครัว บางคนอาจเรียกว่าโรคผลเน่า ส่วนหน้าตาดีๆ แบบเราขอเรียกโรคแอนแทรคโนสก็แล้วกันนน (สรุปรวบรัด อ่านได้ที่ช่วงท้ายของบทความนะครับ!)
1
ข้อมูลเบื้องต้น
●
ประเภทของโรค: เชื้อรา
●
ชื่อเรียก: โรคแอนแทรคโนส(Anthracnose), โรคผลเน่า หรือโรคใบจุดในพริก
●
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Colletotrichum เช่น Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum capsici
อาการของโรค
●
ใบพืชช้ำจากจุดสีน้ำตาลหรือสีดำ เห็นขอบแผลชัดเจน และสามารถขยายออกเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดอาการใบไหม้หรือใบแห้งได้
●
กิ่ง-ก้านของใบมีรอยบุ๋มสีน้ำตาลหรือสีดำคล้ายแมลงเจาะแต่ไม่มีบาดแผล
เพิ่มเติม
●
บางครั้งอาจพบน้ำเหลืองไหลออกมาจากบาดแผลที่ฉีดขาด
●
พืชอาจแสดงอาการใบร่วงและกิ่งแห้งได้
●
ในพืชบางชนิดอาจพบอาการใบหงิกงอหรือแคระแกร็นร่วมด้วย
ระดับความรุนแรงของโรค
●
ระยะที่ 1: ใบเริ่มมีจุดสีน้ำตาลให้เห็นนิดหน่อย แต่พืชยังเจริญเติบโตได้ตามปกติ
✓
วิธีการรับมือ: ตรวจสอบและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น พยายามลดความชื้นในอากาศ และทำให้อากาศถ่ายเทสะดวกมากยิ่งขึ้น
●
ระยะที่ 2: จุดสีน้ำตาลหรือสีดำบนใบและกิ่ง-ก้านมีมากขึ้น เริ่มมีอาการใบไหม้ และการเจริญเติบโตของต้นพืชถูกชะลอลง
✓
วิธีการรับมือ: ตัดแต่งและทำลายส่วนที่ติดเชื้อ ใช้สารเคมีกำจัด และใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อรา
●
ระยะที่ 3: ใบเปื่อยและช้ำจากอาการเน่าอย่างชัดเจน สีของใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ พืชหยุดการเจริญเติบโต และอาจมีอาการใบไหม้และใบแห้งร่วมด้วยโดยเริ่มจากส่วนปลายของใบ
✓
วิธีการรับมือ: ทำลายพืชส่วนที่ติดเชื้อในระยะนี้ออกทั้งหมด และปรับปรุงสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
เพิ่มเติม
●
นอกจากใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสีดำแล้ว อาจมองเห็นเป็นสีส้ม สีส้มอ่อน หรือสีเหลืองก็ได้
●
ในไม้ประดับที่มีเนื้อแข็งหน่อย อาจมองเห็นอาการได้ไม่ชัดเจนมากนัก เช่น มอนสเตอร่า เราอาจจะได้เห็นอาการเหี่ยวไม่ทราบสาเหตุหรือการอ่อนแอลงของต้นพืชแทน
พักเบรกด้วย "ฟอร์จูน" ฮอร์โมนเกษตรเพื่อไม้ประดับ, เสริมความแข็งแรงให้กับต้นพืช หรือใช้ช่วยชะลออาการของโรคจากเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ซีรี่ส์ Our Actions นะครับ!)
ลักษณะการแพร่กระจายของโรค
●
ผ่านลม: สปอร์ของเชื้อราชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายผ่านลมได้
●
ผ่านน้ำ: แพร่กระจายผ่านน้ำที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อราก็ได้นะ
●
ผ่านเครื่องมือทางการเกษตร: กรรไกรตัดแต่งกิ่ง, จอบ, เสียม, คราด หรือแม้แต่ถุงมือ ก็สามารถใช้แพร่กระจายโรคได้เหมือนกันนะ
●
ผ่านซากพืช และสัตว์ขนาดเล็ก: เหมือนเดิมเลยฮะ แหล่งซ่องสุมและผู้ก่อการร้ายดีๆ นี่เอง, ใครรักพืชอย่าลืมทำลายซาก ใครรักมากอย่าลืมใช้ "ฟอร์จูน!"
เพิ่มเติม
●
สภาพแวดล้อมเป็นใจ: อากาศชื้น, อุณหภูมิ 25-30°C และพื้นที่ปลูกพืชที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
ภาพประกอบจากสวนบอนใจดีแห่งหนึ่งในจังหวัดตราดฮะ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
★
ถามมา(Q): ผลิตภัณฑ์ช่วงพักเบรกนี่ช่วยแก้ไขปัญหา โรคแอนแทรคโนส ได้ด้วยหรอ?
✓
ตอบไป(A): ตอบได้ทั้ง ใช่ และไม่ใช่ เลยฮะ, ต้องเข้าใจก่อนว่าผลิตภัณฑ์ของเรา คือ ฮอร์โมนพืช และฮอร์โมนไม่ใช่ยาที่มีฤทธิ์รุนแรงอย่างที่เข้าใจกัน. การแก้ไขปัญหาของเรา คือ การใช้ฮอร์โมนเพื่อปรับสมดุลให้กับพืช เช่น "ฟอร์จูน" เรานำมาใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์พืช และใช้เพื่อลด-ชะลอความความเสียหาย ทำให้พืชทนต่อการเข้าทำลายของโรคพืชและแมลงได้มากขึ้น, ซึ่งการเลือกใช้ฮอร์โมนพืชเป็นวิธีการที่เบามือและเหมาะสมที่สุดสำหรับไม้ประดับ เมื่อเทียบกับการใช้ยากำจัดแมลงและศัตรูพืชซึ่งอาจส่งผลเสียได้ในระยะยาว
2
★
ถามมา(Q): โรคแอนแทรคโนส กับโรคตากบ มันอันเดียวกันรึเปล่า?
✓
ตอบไป(A): คนละอย่างกันเลยครับ ถึงใบจะมีจุดสีน้ำตาลหรือสีดำเหมือนกัน แต่แอคชั่นของมันต่างกันอย่างชัดเจนเลยครับ, แล้วถ้าใครอยากให้เราทำเรื่อง โรคตากบ ช่วยกันกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ทีมคอนเทนต์ของเรากันเยอะๆ ด้วยนะครับ รักส์ ❤️
★
ถามมา(Q): ใช้ภาพประกอบเกี่ยวกับไม้ประดับเยอะๆ น่าจะดีนะ ทำไมภาพก่อนหน้านี้ใช้เป็นภาพในสวนทุเรียนแทนเกือบหมดเลยอ่ะ?
✓
ตอบไป(A): ถึงจะบอกว่าในสวนตัวอย่างไม่มีให้เห็นเลยเป็นเรื่องที่ดีใจมากๆ ก็ตาม, แต่เอาเป็นว่าจะพยายามหามาให้ได้นะครับ กระซิกๆ 😔
2
เคล็ดไม่ลับ (Tips)
★
ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีแสงแดดเพียงพอ ช่วยลดความชื้นในอากาศได้
★
ใช้ปุ๋ยที่มี ไนโตรเจน ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ครับ
★
คอยตรวจสอบพืชบ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศชื้นและเย็น ช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
★
ตอนกลางคืนอุณหภูมิปกติจะอยู่ที่ 25-30°C แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่านี้ได้อีก รู้ก่อน ช่วยให้สามารถวางแผนรับมือล่วงหน้าได้ครับผม
สรุปรวบรัด
โรคแอนแทรคโนส
โรคที่พบเห็นได้ทั่วไปในพืชผักสวนครัว เช่น พริก, ใบพืชจะเปื่อยและช้ำจากอาการเน่า มีแผลที่กิ่ง-ก้านเป็นรอยบุ๋มสีดำคล้ายแมลงเจาะ
3
🌱🌱🌱
ครีเซอร์ เราสรุปไว้แบบนั้น ทุกๆ ท่านคิดเห็นกันยังไงบ้างครับผม?
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
เยี่ยมชม
linktr.ee
Crecer | Instagram | Linktree
Great to see you here! ขอขอบคุณสำหรับทุกๆ Followers ด้วยนะครับ
เกษตร
สิ่งแวดล้อม
ความรู้รอบตัว
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคพืช
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย