20 ก.พ. เวลา 16:57 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

องค์บาก-ฉากบู๊ที่อาจแฝงอะไรไว้มากกว่าความมันส์

ฉากที่จาพนมต่อยในสังเวียนมวย มองเผิน ๆ ก็คงเป็นฉากแอึคชั่นโชว์มวยไทยธรรมดา ๆ ฉากหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วมันอาจมีอะไรมากกว่านั้นรึเปล่า?
ประเด็นหนึ่งที่หนังเรื่ององค์บากใช้เดินเรื่องก็คือความเป็นคนต่างจังหวัด (อีสาน) vs คนกรุง ตัวละครของหม่ำพยายามที่จะกลายเป็นคนกรุง และพยายามลืมความเป็นคนอีสานของตนด้วยการไม่พูดอีสาน จนกระทั่งท้ายเรื่อง แต่นี่อาจไม่ใช่ตัวละครเดียวที่หนังใช้ ethnicity มาเล่าเรื่อง
แน่นอนว่าองค์บากเป็นหนังที่มีความชาตินิยม ด้วยกระแสหันกลับมานิยมของไทยหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 40 แต่ว่ามันก็เป็นหนังชาตินิยมที่มีความวิพากษ์ในระดับหนึ่ง มันไม่ได้ชาตินิยมแบบศูนย์กลางอย่างหนังอิงประวัติศาสตร์หลาย ๆ เรื่อง
อันที่จริงแล้วตัวร้ายหลักของเรื่องคือคนไทยนี่เอง เป็นคนไทยแบบเจ้าขุนมูลนายเสียด้วย ขณะที่ตัวละครฝั่งพระเอกเป็นตัวแทนของชาวบ้านไทย
ในฉากสังเวียนมวย เราจะเห็นว่าผู้กุมอำนาจในเกมนั่งชมอยู่จากมุมสูง คือเจ้าขุนมูลนาย (ข้าราชการ) และเจ้าสัว (นายทุน) คนไทยเชื้อสายจีน ที่ต่างกำลังพนันมวยหาผลประโยชน์
[จะเห็นว่าการจับคู่กันแบบนี้ถูกใช้ในหนังยุคหลัง 40 อีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องตลก 69 ค่ายมวยครรชิต มีความเป็นไทยแบบเจ้าขุนมูลนาย ส่วนอีกฝ่ายเป็นเสี่ย ไทยเชื้อสายจีน]
ทิ้ง ประดู่พริ้ว (จาพนม) เข้าสู่สังเวียน เริ่มด้วยการต่อยกับ Big Bear ฝรั่งแต่งตัว punk ซึ่งเราเดาว่าคงสื่อถึงคนอังกฤษ (ถึงจะจับสำเนียงบริติชไม่ค่อยได้ก็เถอะ) คู่ต่อสู้คนต่อมาคือโทชิโร่ ชาวญี่ปุ่น และสุดท้ายคือ Mad Dog ที่น่าจะเป็นคนอเมริกัน
ถ้ามันเป็นไปตามนั้น ก็แปลว่าคู่ต่อสู้ทั้งสามของทิ้งต่างก็เป็นตัวแทนของชาติที่เคยรุกรานไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในประวัติศาสตร์นั่นเอง และทิ้งก็เอาชนะทั้งสามมาได้ด้วยมวยไทย ก่อนจะขึ้นไปเผชิญหน้ากับผู้กุมอำนาจที่นั่งดูอยู่ข้างบนนั่นเอง
ใด ๆ ก็ตาม เราอาจจะมโนไปเองล้วน ๆ ก็ได้ 555
ปล. แล้วหนังอย่าง "ต้มยำกุ้ง" มีอะไรเกี่ยวกับต้มยำกุ้งกันล่ะ ถ้าการกินช้างทั้งตัวไม่ใช่การอุปมาถึงวิกฤตต้มยำกุ้งที่ไทยสิ้นเนื้อประดาตัว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา