Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
23 ก.พ. เวลา 10:16 • สิ่งแวดล้อม
"บึงเกลือชายฝั่ง" ระบบนิเวศแห่งการปรับสมดุลย์ หนึ่งในกลไกที่โลกช่วยดูดซับ CO2
ท่ามกลางสภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน มนุษย์เราต่างพยายามขวนขวายหาวิธีในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้้นบรรยากาศด้วยหวังที่จะบรรเทาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนให้กลับไปเป็นดังช่วงก่อนหน้าที่มีภาวะโลกร้อน
ซึ่งจากที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์เคยประเมินถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกไว้ว่าจะมีความรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เราก็ได้เรียนรู้ว่าโลกเรานั้นมีระบบปรับสมดุลย์โดยตัวมันเองที่จะดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินออกไปจากบรรยากาศ โดยหนึ่งในตัวดูดซับหลักก็คือมหาสมุทรนั่นเอง
และหนึ่งในบริเวณที่ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพสูงก็คือบริเวณบึงเกลือชายฝั่งหรือบึงน้ำขึ้นน้ำลง เป็นระบบนิเวศชายฝั่งในเขตน้ำขึ้นน้ำลงชายฝั่งตอนบนระหว่างแผ่นดินกับน้ำเค็มเปิดหรือน้ำกร่อยที่ถูกน้ำท่วมเป็นประจำ พันธ์พืชในบริเวณนี้มักพบพืชทนเค็ม เช่น สมุนไพร หญ้า หรือพุ่มไม้เตี้ยๆ
บึงเกลือชายฝั่งส่วนพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นดินและทะเล น้ำจืด-น้ำกร่อย
โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Massachusetts Amherst ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลดินในพื้นที่บริเวณที่ราบรุ่มแม่น้ำและบึงเกลือชายร่วมกับข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินความสามารถในการดูดซับ ซึ่งผลการประเมินพบว่าหน้าดินในระดับความลึก 1 เมตรลงไปในบริเวณที่สำรวจนั้นสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากเท่ากับที่ปล่อยจากไอเสียรถยนต์กว่า 10 ล้านคัน
และในแต่ละปีที่ผ่านไปเหล่าพืชพันธ์ที่เติบโตทับถมขึ้นไปนั้นคือผลจากการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่ปล่อยจากรถยนต์กว่า 15,000 คัน ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดีกว่าป่าไม้ยืนต้น
ทีมนักวิจัยกำลังเก็บตัวอย่างดินในบริเวณพื้นที่ศึกษาบริเวณที่ราบรุ่มแม่น้ำ East River ในกิลด์ฟอร์ดประเทศแคนานา
รวมถึงการเพิ่มระดับน้ำทะเลก็ไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ดูดซับของเหล่าพืชในบึงเกลือชายฝั่ง ยิ่งทำให้พวกมันเติบโตและดูดซับได้มากขึ้นรวมถึงเพิ่มพื้นที่ของบึงเกลือออกไปจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทำเล
ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ทีมวิจัยได้ใช้วิธี Normalized Difference Water Index(NDWI) ในการเปรียบเทียบข้อมูลตัวอย่างชั้นดินที่ลงเก็บจากพื้นที่สำรวจ 19 แห่งจนได้ตัวอย่างดินกว่า 410 ตัวอย่าง ซึ่งจะใช้นำมาประกอบกับข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมในการประเมินชั้นดิน ความลึก ประเภทของพืชพันธ์ุก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประเมินศักยภาพการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของพื้นที่ชายฝั่งที่สำรวจ
สองนักวิจัยร่วมกับตัวอย่างดินที่ถูกเก็บขึ้นมา โดยในแต่ละความลึกลงไปในชั้นดินนั้นก็คือซากพืชพันธ์ุที่เติบโตทับถมกันเป็นเวลาหลายร้อยปี
ซึ่งทีมนักวิจัยยังได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่ระบบนิเวศชายฝั่งที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นี้อาจกลายเป็นระเบิดเวลาที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลสู่บรรยากาศเพิ่มก็ได้ อย่างเช่นกรณีไฟป่าในไซบีเรียที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่กับเก็บไว้ปริมาณมหาศาลสู่บรรกาศเมื่อปี 2021-2022
รวมถึงถ้าหากระบบนิเวศชายฝั่งเหล่าที่ถูกรบกวนหรือทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ซ้ำอีก เราก็จะเสียตัวช่วยปรับสมดุลย์เหล่านี้ไปและจะทำให้สถานการณ์โลกร้อนเข้าสู่จุดเดือดเร็วขึ้นอีก
อ้างอิง:
https://interestingengineering.com/science/salt-marshes-store-carbon-outperform-forests
https://www.eurekalert.org/news-releases/1073667
https://agupubs.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1029/2024JG008254
สิ่งแวดล้อม
ข่าวรอบโลก
วิทยาศาสตร์
บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามติดสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย