Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Letter From History
•
ติดตาม
28 ก.พ. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
จีน
ประเทศจีน ตอนที่ 15 มังกรผงาดฟ้า
นับตั้งแต่ ”เติ้ง เสี่ยวผิง” ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ และได้นำพาประชาชนให้ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ยาก อดอยาก ตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จนนำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น พร้อมทั้งเศรษฐกิจของประเทศจีนก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ และเป็นไปอย่างเงียบๆ
หลังจากนั้นไม่นานก็คือ ในปี ค.ศ.1989 เกิดเหตุการณ์เทียนอันเหมิน และด้วยเหตุการณ์นี้เองทำให้ทั่วโลกเริ่มหันมามองจีนด้วยสายตาหลากหลายรูปแบบ เช่น มุมมองทางเศรษฐกิจ ทางการค้าการลงทุน และทางการเมือง ซึ่ง ณ ตอนนั้นทั่วโลกต่างมองมุมเดียวกันหมดคือ มุมทางการเมือง “ โอ้โห.. จีนละเมิดสิทธิมนุษยชน “
“ เมื่อใด.. ก็ตามที่เปิดประเทศให้มีการค้าขาย หรือการลงทุนอย่างเสรีภาพ เพื่อกระตุ้นเศรษกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น เมื่อนั้น.. มักจะมีสิ่งอื่นตามเข้ามาด้วยเสมอ ”
ภาพเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
ตอนนั้นผู้คนเริ่มจะรู้สึกว่า.. อยากได้เสรีภาพกันมากขึ้นในหลายๆด้าน มิใช่เพียงแค่เศรษฐกิจด้านเดียว พวกเขาอยากมีเสรีภาพทางการเมืองโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่คือ “กลุ่มนักศึกษา”ทำไม??.. ถึงไม่มีการเลือกตั้งแบบชาติตะวันตกกันบ้าง และทำไม??.. พวกเราถึงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไม่ได้ล่ะ จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์กลุ่มนักศึกษาที่ปักกิ่งมารวมตัวชุมนุมกันมากมายที่ “จตุรัสเทียนอันเหมิน” เพื่อประท้วงเรียกร้องต้องการเสรีภาพ
ซึ่งตอนนั้นอยู่ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีมีนามว่า “จ้าว จื่อหยาง ” ท่านเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการตั้งลำ ตั้งหลักของเศรษฐกิจจีนยุคใหม่อย่างมาก และด้วยความที่จังหวะช่วงเวลานั้นจำเป็นต้องใช้ความเด็ดขาดในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนว่าท่านไม่เหี้ยมพอ “จ้าว จื่อหยาง” ได้ปฏิเสธที่จะใช้วิธีการรุนแรงในการจัดการกับปัญหาตรงหน้า
จนกระทั่งในที่สุดท่าน “เติ้ง เสี่ยวผิง” จึงจำเป็นต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ผู้มีนามว่า “หลี่เผิง” ซึ่งก็ได้แจ้งเกิดพร้อมกับชื่อของ “เทียนอันเหมิน” โด่งดังไปทั่วโลกเลยทีเดียว บุคคลิกที่เด่นชัดจดจำได้ง่ายของท่าน “หลี่ เผิง” ก็คือ รอยยิ้มและใส่แว่นอันใหญ่ และแล้วท่านก็สามารถจัดการกับสถานการณ์นี้ได้จนจบ
ภาพเหตุการณ์ชายคนหนึ่งที่ยินขวางรถถัง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้ทั่วโลกต่างมองไปที่ประเทศจีนแบบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ แล้วก็จะมีภาพหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าทุกคนอาจต้องเคยได้เห็น คือมีชายคนหนึง เขายืนจังก้าขวางทางรถถังไว้ พร้อมประกาศว่า.. จะขอตายเพื่อเสรีภาพ
จนในที่สุดแล้ว มุมมองที่นานาประเทศ องค์การสิทธิมนุษยชนและนักวิเคราะห์การเมืองทั่วโลกต่างก็ประณามรัฐบาลจีนจากการสังหารหมู่ในครั้งนี้ สายตาที่มองแบบการเมืองก็จะมองว่า ..จีนเป็นประเทศที่ล้าหลัง ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ ทั่วโลกต่างก็มองด้วยมุมมองนี้มาตลอดแม้แต่ประเทศไทย
จะมีคนสักกี่คนที่เห็นว่าจีนกำลังเติบโต ไม่มีใครเห็นนะ ไม่ต้องมาก ผมลองมองย้อนกลับไป ในวงการยานยนต์อุตสาหรรมรถยนต์จีน เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่รู้เลย อยู่ๆ มาวันหนึ่งเขากลายเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับหนึ่งไปแล้ว ที่ไม่มีใครรู้ เพราะทั่วโลกมัวแต่มองมุมเดียว มันคือส่วนสำคัญเป็นเหตุการณ์เดียวที่ทำให้คนทั่วโลกต้องมองจีนอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ประเทศจีนยังมีอีกหลายสิ่งอย่างที่น่าสนใจและคาดไม่ถึงซ่อนอยู่
ภาพของเติ้ง เสี่ยวผิง กับ มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์
ผมจะขอกล่าวถึงเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1982 และคิดว่า คนจีนก็คงจะภาคภูมิใจในเหตุการณ์นี้ไม่น้อยเช่นกันคือ หลังจากที่ท่านเติ้ง เสี่ยวผิงครองอำนาจมาได้ 4 ปี ซึ่งตอนนั้นจะต้องมีการเจรจาครั้งสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่คือ การเจรจากับสหราชอาณาจักรในเรื่องต่อสัญญาเกาะฮ่องกงต่อไปหรือไม่ และคนที่มาประชุมก็คือ นางหญิงเหล็ก “มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์” (Margaret Hilda Thatcher) คู่เจรจาของท่านก็คือ “จ้าว จื่อหยาง” นายกรัฐมนตรีและ “เติ้ง เสี่ยวผิง”ในฐานะผู้นำ ก็อยู่ร่วมในการประชุมด้วย
นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ เธอพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะขอให้มีการต่อสัญญาออกไปอีก ต้องขอบอกแบบนี้ก่อนว่า ฮ่องกงเป็นของอังกฤษ เพราะชนะสงครามฝิ่นครั้งที่1 ในขณะที่เกาลูนได้มาในปี ค.ศ.1860 ชนะสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 และพื้นที่ถัดมาคือ ซินเจียหรือนิวเทอร์ริทอรีส์ อยู่เข้ามาด้านในภายใต้สัญญาเช่า แต่ว่าทั้ง 3 พื้นที่นี้ อังกฤษได้พัฒนากันมาตลอดจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันเรียบร้อยแล้ว
1
นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ อยากจะเก็บพื้นที่ทั้ง 3 ไว้เพราะว่า สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับอังกฤษมากมาย โดยเข้าไปบอกว่า.. “จะขอต่อสัญญา ถ้าจะเอาเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นดับเบิ้ลก็ได้ เดี๋ยวเอาเงินมาให้” แต่ เติ้ง เสี่ยวผิง กลับตอบว่า.. “ไม่ นอกจากไม่ให้ต่อสัญญาฮ่องกงแล้ว อีก 2 พื้นที่ก็จะเอาคืนมาด้วย” และคิดว่า คนอย่างนางมาร์กาเรต แทตเชอร์ จะยอมไหมล่ะ??
ภาพของเกาะฮ่องกง เกาลูน และซินเจียหรือนิวเทอร์ริทอรีส์
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น อังกฤษ โดยนาง มาร์กาเรต แทตเชอร์ เพิ่งชนะสงครามมาหมาดๆ ก็คือ “สงครามฟอล์คแลนด์” มันยิ่งใหญ่มากๆ สำหรับอังกฤษ ทำให้คะแนนนิยมของเธอนี่ พุ่งปรี๊ดชนิดถล่มทลาย แต่สุดท้ายคำตอบนั่นคือ.. ต้องยอมครับ!!!
เพราะเธอไม่ได้คุยกับเลโอโปลโด กัลติเอรี (ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา ; สงครามฟอล์คแลนด์) นะ
หากแต่เป็น “เติ้ง เสี่ยวผิง” ผู้ซึ่งหันไปพูดด้วยภาษาจีนว่า “ บอกเธอหยุดพูดได้ไหม?” ต่อด้วยประโยคที่ว่า “หรือจะให้ส่งกำลังทหารไปที่ฮ่องกงตอนบ่ายนี้เลย เอากลับมาทั้งหมดบ่ายนี้เลยก็ได้“ นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ ท่านก็เลยต้องยอมถอย
1
หลังจากการประชุม 3 ชั่วโมงดังกล่าว ก็จะปรากฏภาพว่า เธอนั้นอ่อนล้า เธอเดินออกมาจากศาลาประชาชน และหกล้มอยู่ที่บริเวณหน้าศาลาประชาชน ด้านนึงบอกว่า เธอคงเหนื่อยล้าและเธอคงจะรู้สึกไม่พอใจกับผลการเจรจา ซึ่งอังกฤษไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการเจรจาในครั้งนั้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1983 เป็นการเจรจารอบ 2 คือการที่อังกฤษนั้น ยอมรับในอธิปไตยของจีนเหนือดินแดนทั้ง 3 ส่วน ก็คือ ฮ่องกง เกาลูนและสโตนคัตเตอร์ รวมถึงซินเซีย แต่อังกฤษเองนั้นยังคงเดินหน้าในการเจรจาขอเช่าพื้นที่ดังกล่าวต่อไป
ภาพเหตุการณ์นาง มาร์กาเรต แทตเชอร์ ล้มที่หน้าศาลาประชาชน
แต่ว่าจีนเองก็ปฏิเสธแบบไม่ใยดี ส่งผลคือแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจของฮ่องกงในทันที ค่าเงินเหรียญฮ่องกง รวมถึงหุ้นของตลาดฮั่งเส็ง ร่วงหล่นวูบลงมาทั้งหมด อนาคตของฮ่องกงชัดเจนแล้วว่าหลังปี ค.ศ. 1997 ฮ่องกง เกาลูน ซินเจีย ต้องกลับคืนสู่อ้อมอกของจีน หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน และเมื่อการเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ คำขอเช่าพื้นที่ทั้ง 3 ในราคาที่ไม่ได้ถูกเปิดเผย แต่เชื่อว่า.. มากมายมหาศาลไม่เป็นผล ดังนั้นในปี ค.ศ.1984 ทั้ง 2 ฝ่ายนัดเจรจาลงรายละเอียดกันอีกครั้งนึง
เริ่มต้นจากการตั้งทีมเจรจากันอย่างเป็นทางการในรายละเอียดต่างๆ และในปลายปีนั้นเองคือ เดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1984 นายกรัฐมนตรีทั้ง2ฝ่าย คือ นาง มาร์กาเรต แทตเชอร์ และนายกรัฐมนตรี จ้าว จื่อหยาง ได้ลงนามระบุให้ปี ค.ศ. 1997 มีพิธีการส่งมอบพื้นที่ฮ่องกง เกาลูน ซินเจีย เรียกรวมว่า ฮ่องกงกลับคืนสู่จีนอย่างเป็นทางการ
1
ซึ่งทางฝั่งสหราชอาณาจักรมีเจ้าชายแห่งเวลส์หรือเจ้าชายวิลเลียม ได้เสด็จมาเป็นผู้แทนพระองค์พระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ทางฝั่งจีนก็คือ ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน โดยในเวลานั้น คริส แพทเทน (Chris Patten) เป็นผู้ว่าการคนสุดท้ายของเกาะฮ่องกง และจากนั้นเป็นต้นมาฮ่องกงก็เป็นพื้นที่ปกครองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน
2
ภาพเหตุการณ์ส่งมอบพื้นที่ฮ่องกง เกาลูน ซินเจีย
ในที่สุดท่านเติ้ง เคยบอกว่า ความฝันของท่านคือ การรับมอบเกาะฮ่องกงคืนจากอังกฤษด้วยตัวท่านเองนั้น ไม่อาจบรรลุผลสำเร็จได้แล้ว เพราะว่าท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมใน 5 เดือนก่อนหน้านั้น และนั่นคือ ฝันเดียวของท่านซึ่งทำเพื่อจีนมาตลอด ซึ่งงานในวันนั้นก็จะมีผู้แทนพระองค์จากทางบริติสครั้งนั้น ก็คือ เจ้าชายชาลส์ ซึ่ง ขณะนั้นเป็นเจ้าชาย และทางฝ่ายจีนก็จะเป็นท่าน เจียง เจ๋อหมิน เป็นผู้รับฮ่องกงกลับคืนมา
1
และก็อย่างที่รู้กันครับ ชื่อนางหญิงเหล็กไม่ได้มาเพราะโชคช่วย อันนี้จะเป็นสิ่งที่ผมวิเคราะห์สำหรับการตัดสินใจของ นางมาร์กาเรต แทตเชอร์
1. สถานการณ์หลังสงครามเย็น (1980s):
อังกฤษไม่ใช่ "มหาอำนาจ" แบบที่เคยเป็นในศตวรรษที่ 19 อีกต่อไป
1
จีนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจและกองทัพ
2. ต้นทุนมหาศาล:
สงครามเพื่อ "เกาะเล็กๆ" อย่างฮ่องกง ไม่คุ้มค่ากับการสูญเสียชีวิต เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. การเมืองระหว่างประเทศ:
สหรัฐอเมริกา และ ชาติยุโรป สนใจการสร้างสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ กับจีนมากกว่าการช่วยอังกฤษรักษาฮ่องกง ไม่มีชาติใดอยากเสี่ยงที่จะถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับจีน
อังกฤษเสียพื้นที่ทั้ง 3 ให้จีน แต่ก็ได้บ้างอย่างกลับมา
1. ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Economic Influence)
~ บริษัทอังกฤษจำนวนมากยังคงดำเนินธุรกิจในฮ่องกง เช่น ธนาคาร HSBC, Standard Chartered, และบริษัทกฎหมายต่างชาติ
1
~ ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างจีนและโลกตะวันตก ทำให้อังกฤษยังคงได้รับผล ประโยชน์จากการลงทุนและบริการทางการเงิน
2 การรักษาภาพลักษณ์ในเวทีโลก (Global Reputation)
~ การส่งคืนฮ่องกงอย่างสันติ ทำให้อังกฤษแสดงตนว่าเป็นมหาอำนาจที่ยึดมั่นในกฎหมายระหว่างประเทศ
~ ช่วยรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ซึ่งกลายเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ
(3) สายสัมพันธ์ทางการเมือง (Political Leverage)
~ อังกฤษยังคงมีบทบาทในการ "จับตาดู" สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในฮ่องกง
~ รัฐบาลอังกฤษสามารถใช้สถานการณ์ในฮ่องกงเป็นเครื่องมือทางการทูตเมื่อเจรจากับจีนในประเด็นอื่น ๆ เช่น การค้าและการลงทุน
อังกฤษเองก็ยังคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตัวเอง และสำหรับใครๆ ที่สงสารอังกฤษล่ะก็ คงต้องย้อนกลับไปอ่านซีรี่ย์ประเทศจีน ตอนสงครามฝิ่นครั้งที่ 1~2 กันได้นะครับ จะได้เข้าใจจีนด้วย
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Letter From History] จักรวรรดิอังกฤษ ดวงอาทิตย์สาดแสงสู่ช่วงเวลาอับแสง
มีหลายครั้งเวลาที่ทั่วโลกมองจีน ต่างก็บอกว่า เขาลิดรอนสิทธิมนุษยชน เขาไม่มีเสรีภาพ เขาปิดกั้น นั่นเป็นเพราะเรามองตามชาติตะวันตก ซึ่งจริงๆ แล้วต้องบอกว่า พวกนักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนกันในจีน เขามองเห็นภาพอีกแบบครับ
1
แต่ว่า.. มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ สหรัฐอเมริกา กว่าจะตระหนักได้ว่า.. จีนหายใจรดต้นคอ ก็ปาเข้าไปยุคสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบามา(คนที่ 44) มันเป็นสิ่งที่น่าฉงนมากว่า.. ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง ครองอำนาจอยู่ในยุคของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์(คนที่ 39) และยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (คนที่ 40) แสดงว่ามันเก่ามากเป็นยุคนั้น
1
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา
แล้วทำไมกว่าที่พวกเขาจะมารู้ตัวว่า.. จีนได้พลิกฟื้นแล้ว มันก็คือยุคของบารัก โอบามาประธานาธิบดีคนที่44 ของสหรัฐ มาเปิดดูงบการเงินถึงได้รู้ว่า.. ขาดดุลการค้าให้กับจีนทั้งนั้นเลย ท่านก็คง งงๆ ว่าทำไมอยู่ดีๆ จีนหายไปประมาณ 20 กว่าปี แต่อยู่มาวันหนึ่งจีนกลับผงาดขึ้นมาได้ มันน่าสนใจมากว่าตอนที่จีน เปลี่ยนจากผู้นำรุ่นที่หนึ่งคือ เหมาเจ๋อ ตุง มาเป็นเติ้ง เสี่ยวผิง อย่างที่ไล่เรียงให้ฟังกันมาทั้งหมดแล้วนั้น ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ผมขอเล่าเสริมตลกสั้นๆ ในยุคของท่าน หู จิ่นเทา อดีตประธานาธิบดีของจีน ได้เกิดสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ จีนได้เริ่มต้นเบ่งกล้าม แสดงแสนยานุภาพให้เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก ในยุคนั้นจะมีพวกโจรสลัด ที่เขาเรียกว่า “โจรสลัดโซมาเลีย”
บริเวณที่เขาเรียกกันว่า “นอแรดแอฟริกา” และภาพจากหนัง Captain Phillip
ก็ป้วนเปี้ยนอยู่ในพื้นที่ที่มีการค้าชุกมากคือ บริเวณที่เขาเรียกกันว่า “นอแรดแอฟริกา” เรือลำไหนผ่านเข้ามาเราปล้นหมด พวกโลกตะวันตกก็กลัวเรื่องสิทธิมนุษยชน เขาก็ไม่กล้ากัน พอถึงคราวที่เรือสินค้าของจีนต้องผ่านแถวบริเวณนี้ ท่านหู จิ่นเทา ก็ส่งกองเรือคุ้มกันไปด้วย ผลปรากฎว่า.. ยิงกันแหลกเลยครับ พี่มังกรแดกเรียบโจรสลัดไม่เหลือ
หลังจากนั้น เราก็ไม่ได้ยินคำว่า “โจรสลัดโซมาเลีย” กันอีกเลย และมีการเผยแพร่ภาพออกมาเป็นกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งเราไม่เคยรู้เลยว่า จีนทันสมัยขนาดนี้เลยเหรอ ตอนนั้นแสนยานุภาพมหาศาล และอีกหมุดหมายที่สำคัญในยุคท่านหู จิ่นเทา คือในปี ค.ศ. 2008 จีนได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง ด้วยพิธีเปิดที่ยิ่งใหญ่ตระการตามาก ณ ตอนนั้นทั่วโลกรู้แล้วว่า.. ที่ผ่านมานั้นคิดผิดตลอด
ภาพโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง
จากครั้งหนึ่งที่จีนเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ตอนนี้จีนเปิดขึ้นมามันไม่ใช่แบบเดิมที่โลกรู้อีกแล้ว ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายมหาศาล จากวันที่เป็นศตวรรษแห่งความอัปยศ จีนสู้ใครไม่ได้เลย สะกิดแค่นิดเดียวก็ล้มแล้ว แต่วันนี้กลับกลายเป็นจีนที่ไม่มีใครรังแกได้อีก เปรียบเหมือนมังกรที่พลาดท่า ต้องหลบซ่อนกาย พักฟื้นพร้อมลับเขี้ยวเล็บให้แหลมคม เมื่อได้เวลาที่เหมาะสม ก็เป็นมังกรผงาดฟ้า ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะมีใครต้านทานได้
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ประเทศจีน ตอนที่ 15 มังกรผงาดฟ้า
https://shorturl.asia/xy4Z5
https://shorturl.asia/mPiq8
https://shorturl.asia/9H38m
https://shorturl.asia/t8bd9
https://shorturl.asia/wplRB
https://shorturl.asia/xLC7X
https://shorturl.asia/6LaoV
https://shorturl.asia/PKR9X
https://shorturl.asia/U9MAE
https://shorturl.asia/FCzM6
https://shorturl.asia/O7pA5
https://shorturl.asia/HXJMT
https://shorturl.asia/2eQb3
https://shorturl.asia/5o7bc
https://shorturl.asia/lnyw2
https://shorturl.asia/HKTwX
https://shorturl.asia/0an1b
เรื่องเล่า
ความรู้รอบตัว
ประวัติศาสตร์
30 บันทึก
43
8
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเทศจีน ดินแดงมังกร
30
43
8
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย