Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Well Inspire – สุขภาพดีมีเรื่องเล่า
•
ติดตาม
4 เม.ย. เวลา 13:27 • สุขภาพ
กรุงเทพมหานคร
จุลินทรีย์ในลำไส้ ผู้พิทักษ์สุขภาพที่เรามองไม่เห็น
ในร่างกายของเรามี “สิ่งมีชีวิต” ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่แบบสันติและช่วยดูแลเราทุกวัน นั่นคือ “จุลินทรีย์ในลำไส้” หรือที่เรียกว่า Gut Microbiome ซึ่งกำลังกลายเป็นคำสำคัญของคนรักสุขภาพในยุคนี้ แล้วจุลินทรีย์เหล่านี้คืออะไร? สำคัญกับเราแค่ไหน? มาหาคำตอบกันค่ะ
แม้ร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยเซลล์ 100 ล้านล้านเซลล์ แต่แท้จริงแล้ว เซลล์ของมนุษย์เองมีเพียงประมาณ 30 ล้านเซลล์ เท่านั้น ส่วนที่เหลือกลับเป็นเซลล์จุลชีพหรือจุลินทรีย์ (Microorganisms) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเราอย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณผิวหนัง ช่องปาก ช่องคลอด หรือภายในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนของ ลำไส้ (Intestinal tract) ซึ่งเป็นแหล่งรวมจุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์มากถึง กว่า 5,000 ชนิด
จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)
ในระบบทางเดินอาหารมีจุลชีพที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของจุลินทรีย์มากที่สุดในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ ไม่เพียงช่วยย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร แต่ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน การควบคุมน้ำหนัก อารมณ์ การนอนหลับ และการตอบสนองต่อยา จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคหัวใจ ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
จุลินทรีย์ในลำไส้>> มีทั้งดีและร้าย
1. จุลินทรีย์กลุ่มดี (Health-Promoting Microbes)
เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยดูแลลำไส้ให้แข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกัน และสนับสนุนสุขภาพโดยรวม เช่น
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics): ช่วยปรับสมดุลลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงอารมณ์ ลดการอักเสบ
-แลกโตบาซิลลัส (Lactobacillus): ต่อต้านเชื้อโรคโดยแย่งพื้นที่และอาหาร
-บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria): สังเคราะห์สารอาหารดี ช่วยย่อย และเสริมภูมิคุ้มกัน
2. จุลินทรีย์กลุ่มร้าย (Harmful/Pathogenic Microbes)
ถ้าจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากเกินไป อาจก่อโรคและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น Helicobacter pylori ก่อแผลในกระเพาะอาหาร และเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะ
จุลชีพบางชนิดในลำไส้ใหญ่ เชื่อมโยงกับ มะเร็งลำไส้ โรคอ้วน เบาหวาน ตับแข็ง โรคหัวใจ และโรคอักเสบเรื้อรัง
*หากจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล...ผลกระทบต่อสุขภาพอาจตามมาอย่างไร?
จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสมดุลของร่างกาย เมื่อเกิดภาวะ “เสียสมดุล” หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรคมากกว่าจุลินทรีย์ดี อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ในหลายระบบ ดังนี้
1. 🧠 อารมณ์แปรปรวน และปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือ ความวิตกกังวล
2. ⚖️ ภาวะอ้วน และความผิดปกติของระบบเผาผลาญ
3. 🩺 โรคหัวใจและหลอดเลือด
4. 🍬 โรคเบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2
5. 🧬 ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้
6. 🍖 โรคตับ เช่น ไขมันพอกตับและตับอักเสบ
7. 😷 โรคผิวหนัง เช่น กลาก สะเก็ดเงิน หรือสิวเรื้อรัง
8. 🦷 ปัญหาช่องปาก เช่น ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ
*ทำอย่างไรให้จุลินทรีย์สมดุลและแข็งแรง
การดูแลลำไส้ให้มีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก หากเราใส่ใจดูแลทั้งเรื่องอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต และการนอนหลับให้เหมาะสม หนึ่งในแนวทางสำคัญที่แพทย์แนะนำคือ การเสริมโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ร่วมกับ พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) เพื่อฟื้นฟูและรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์
• โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลลำไส้ และลดการอักเสบ
• พรีไบโอติกส์ คือ ใยอาหารหรือสารอาหารที่เป็น "อาหาร" ของโพรไบโอติกส์ ช่วยให้จุลินทรีย์ดีเจริญเติบโตได้ดี
ปรับพฤติกรรมให้ลำไส้สมดุล
• ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน, 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
• หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป
• ลดอาหารที่มีรสจัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัด
• ลดการบริโภคไขมันและคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก
• เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวโอ๊ต ถั่ว และอาหารหมักดอง
1
สุขภาพของลำไส้ขึ้นอยู่กับทั้ง "สิ่งที่เราใส่เข้าไป" และ "พฤติกรรมที่เราปฏิบัติในแต่ละวัน" การปรับสมดุลด้วยโพรไบโอติกส์และพฤติกรรมที่ดีต่อร่างกาย ไม่เพียงแต่ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยป้องกันโรคและเสริมสุขภาพในระยะยาว
เพราะ “สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้”… อย่าลืมดูแลจุลินทรีย์ในตัวคุณให้แข็งแรงในทุก ๆ วันนะคะ 💚
ข้อมูลอ้างอิงจาก:
1. พญ. จิตแข เทพชาตรี โรงพยาบาลสมิติเวช. จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ไม่สมดุล เสี่ยงโรค, สืบค้นจาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/gut-microbiome
2. ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. อย่าให้ลำไส้แปรปรวน รบกวนชีวิตคุณ, สืบค้น
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/ibs
3. ศูนย์สุขภาพนครธน โรงพยาบาลนครธน. เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล คุณจะเป็นอย่างไร, สืบค้นจาก
https://www.nakornthon.com
4. คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย ADDLIFE. รู้หรือไม่?แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุล สัมพันธ์กับการเกิดโรค, สืบค้นจาก
https://www.add-life.org/th/blogs/importance-of-gut-bacteria
5. ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์. จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล..เสี่ยงเกิดโรค, สืบค้นจาก
https://tlc-medlab.com/gut-microbiome/
สุขภาพ
healthyfoods
อาหารสุขภาพ
2 บันทึก
4
6
2
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย