3 ชั่วโมงที่แล้ว • ธุรกิจ
Wellios Company Limited

⚠️ Post-vacation blues / Post-Holiday Syndrome หรือ Boreout? องค์กรต้องรู้ ก่อนพนักงานจะยื่นลาออก ❌

หลังวันหยุดเฉาทุกทีเลย ไม่อยากทำงาน!! พนักงานดูหมดไฟหลังหยุดยาว? ระวัง! อาจไม่ใช่แค่ขี้เกียจ แต่เป็น “Boreout” ที่องค์กรต้องเข้าใจ ก่อนจะเสียคนเก่งไปแบบเงียบ ๆ
หยุดยาวผ่านไป แต่ทำไมหลายคนยังนิ่ง เฉื่อย และไม่กลับมาทำงานอย่างกระตือรือร้น? องค์กรส่วนใหญ่อาจมองว่านี่เป็นแค่ “Post-vacation blues / Post-Holiday Syndrome” ที่หายเองได้
แต่จริง ๆ แล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะ Boreout
ภาวะหมดไฟเงียบ ๆ ที่อันตรายไม่แพ้ Burnout และอาจทำให้องค์กร “เสียคนเก่ง” ไปแบบไม่รู้ตัว
🔍 Boreout คืออะไร ต่างจาก Burnout อย่างไร?
Burnout คือ ความเหนื่อยล้า เครียด เพราะงานเยอะ แสดงออกชัดเจน
Boreout คือ ความเบื่อเพราะงานเดิมไม่มีคุณค่า ไร้ความท้าทาย เงียบ ไม่บ่น แต่ไม่มีใจ
คนที่ Boreout มัก “ดูปกติ” แต่หมดแรงขับภายใน
พวกเขาอาจไม่พูดตรง ๆ แต่กำลัง “หมดความรู้สึกผูกพัน” กับองค์กรอย่างช้า ๆ
📉 สัญญาณที่ HR ควรสังเกตให้ไว
- เงียบ ไม่อินกับทีม หรือไม่แสดงความเห็นในที่ประชุม
- ขาดความสนใจในเป้าหมาย หรือกิจกรรมขององค์กร
- ไม่เสนอตัว หรือไม่รับหน้าที่ที่เคยทำได้ดี
- ลางานถี่ขึ้น มาสาย หรือไม่เห็นความสำคัญของงาน
- Productivity เริ่มตกลงแบบไม่มีปัญหาชัดเจน
📊 จากผลสำรวจของ Monster:
53% ของพนักงานรู้สึกเครียดกว่าปกติหลังวันหยุด
41% รายงานว่าประสิทธิภาพการทำงานลดลง
🔗 อ้างอิง
(1) บทความ Post-Holiday Survey Analysis: The Secret to Boosting Employee Engagement and Retention (Sogolytics)
(2) Holiday Work Life Balance (Monster Survey)
🌈 ทำไมช่วง “หลังหยุดยาว” ถึงกระตุ้น Boreout?
ช่วงหยุด = เวลาที่พนักงานได้ "ทบทวนชีวิต" การกลับมาทำ “งานเดิมๆ” โดยไม่มีเป้าหมาย ทำให้เห็นความจำเจชัดเจนขึ้น
ยิ่งองค์กรไม่มีระบบช่วย Engage หรือ Re-connect พนักงานช่วงนี้ Boreout ก็จะค่อย ๆ ฝังลึกโดยไม่รู้ตัว
💥 กลยุทธ์ด่วน! กู้ใจพนักงานก่อนพวกเขาจะหายไปจากทีม อย่ารอให้เขาหายเอง องค์กร / HR ต้อง Engage ก่อนที่จะสายไป!
1. Check จิตใจพนักงาน
ถามมากกว่าคำว่า “โอเคไหม?”
ลองถามเชิงลึก เช่น “อะไรทำให้คุณรู้สึกมีความหมายในงาน?”
ดูตัวอย่าง "5 คำถามเช็คใจพนักงาน"
2. เพิ่มความท้าทาย = เติมแรงใจ
งานซ้ำเดิมทำให้ใจเบื่อ ลอง “เขย่าบทบาท” บ้าง
- ให้โอกาสนำโปรเจกต์ใหม่
- ลองให้เขาเป็น mentor ให้รุ่นน้อง
- ชวนมาช่วยออกแบบกิจกรรม HR / CSR / Internal Campaign
3. ทำ Re-onboarding สั้น ๆ แต่ได้ผล
ใช้ช่วงต้นไตรมาส หรือหลังหยุดยาว เป็น Reset Point “จุดรีเซ็ต”
- แชร์เป้าหมายใหม่ขององค์กรแบบเข้าใจง่าย
- เล่า success stories ที่พนักงานมีส่วนร่วม
- เน้นให้เห็นว่า “ทุกคนคือส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ความสำเร็จขององค์กร”
4. สร้าง Safe Space ที่พนักงาน “กล้าพูดความรู้สึก”
ถ้าพนักงานพูดไม่ได้ พวกเขาก็จะค่อยๆ “หายไป”
- 1:1 แบบไม่ทางการ
- รีลไทม์ฟีดแบ็ก
- ให้หัวหน้าทีมเป็นตัวอย่างในการแชร์ความรู้สึก
💡 แล้ว WellExp ช่วย HR ได้ยังไง?
การจัดการ Boreout ไม่ใช่แค่ “จัดกิจกรรมสนุก ๆ” แล้วจบ แต่องค์กรต้องมี ระบบที่เข้าใจพนักงานเชิงลึก – อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นจุดที่ WellExp เข้ามาช่วย ได้จริง
เครื่องมือเด่นของ WellExp ที่ช่วย HR:
🔹 Open Answer – พนักงานให้ feedback แบบปลายเปิด ไม่ถูกตีกรอบ
🔹 Rating – สำรวจความรู้สึกแบบเรียลไทม์
🔹 Summary Dashboard – ดูข้อมูลพฤติกรรมการมีส่วนร่วมแบบชัดเจน
🔹 Conselling / Feedback – พนักงานพูดถึงสิ่งที่รู้สึกได้ โดยไม่ต้องรอ 1:1 Meeting
🎯 สรุป:
ภาวะ Boreout กำลังคืบคลานเข้ามาแบบเงียบ ๆ หลังวันหยุด
"ยิ่งองค์กรเข้าใจช้า = ยิ่งเสี่ยงเสียคนเก่ง"
HR ที่เข้าใจคน = องค์กรที่รักษาคนเก่งได้ อย่ารอให้พนักงานลาออก ถึงจะเริ่มใส่ใจ เริ่มต้นออกแบบ Employee Experience ที่ใช่ ด้วย WellExp วันนี้! องค์กรอื่นเริ่มแล้ว องค์กรคุณละ?
พร้อมรู้จักพนักงาน ไม่ใช่แค่ถามว่า “โอเคไหม?”
ให้ WellExp ช่วยคุณออกแบบ Employee Experience ที่คนอยากอยู่ต่อด้วยใจ
📣 สนใจระบบ Employee Experience / Employee Engagement / Employee Motivation ที่ออกแบบให้เหมาะกับองค์กรคุณ
📩 ลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/R8sqDYSW1rETRH9Z6
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ WellExp | Employee Motivation Platform
โฆษณา