ความคิดเห็นบนคำถาม

คิดเห็นประการใด กับข้อความนี้ ?
19 ต.ค. 2024 เวลา 10:11 • ความคิดเห็น • 14 คำตอบ
-ภาพประกอบ-
คำตอบ (14)
  • ความผิดพลาดก่อให้เกิดการเรียนรู้
    เพื่อให้เกิดการผิดพลาดน้อยลง หรือไม่ผิดเลยค่ะ
  • ไม่เกี่ยวกับ เรื่องยุคสมัย
    ผิดเป็นครู เพราะเรียนรู้ พัฒนาจากความผิด ถึงเป็นครู
    ถ้าผิดซ้ำ ๅ เดิม ๆ จะยุคไหน แล้วไม่รับรู้
    ไม่ปรับปรุง ให้อยู่ดึกดำบรรพ์ ก็ไม่ต่าง...
  • สมัยนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจ ว่าใครเป็นครู ระหว่างนักเรียนกับครู เพราะข่าวลับในกูเกิ้นมันเยอะ😆😆😆😆
    1
  • สิ่งที่สำคัญคือเรียนรู้จากความผิดพลาดได้มากแค่ไหน ยิ่งผิดยิ่งต้องฉลาดครับ คำโบราณจึงกล่าวว่า ผิดเป็นครู คือผิด มันสอนให้ฉลาดขึ้น แต่ถ้าผิดแล้วไม่แก้ไข มันก็โง่วนไปเท่านั้นครับ
  • อย่าผิดเป็นคู่ก็พอครับ เห็นอะไรยั่วยุที่ผิดๆก็อย่าไปเข้าหา ไปเป็นคู่กะมัน ความพลาดพลั้ง กับ ความผิด คือคนละเรื่อง ความผิดผู้อื่นมองเห็นเป็นป่าเขาความผิดของเราเห็นเป็นฝุ่นผงใต้เท้า
  • ผิดเป็นครู หมายถึงเราเรียนรู้ที่จะแก้ไขเพื่อสรุปบทเรียนที่จะแก้ไข พัฒนาตนเอง แต่การทำผิดซ้ำซากนั้นไม่ได้ต้องการแก้ไข จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม กลายเป็นความเคยชินที่เลี้ยงกิเลส จากคนไม่ดีแล้วกลายเป็นคนชั่วในที่สุด
    4
  • กาลเวลาเปลี่ยน อะไร ๆ ก็เปลี่ยนไป สมัยก่อนคำว่า "ผิดเป็นครู" หมายถึง ความผิดพลาดจะสอนบทเรียนให้เรา คำนี้เป็นที่นิยมมาก แต่สมัยต่อมาเกิดคำว่า "ผิดเป็นซ้ำวนไป" หมายถึง การทำผิดซ้ำ ๆ ก็อาจเกิดได้อีก เหมือนกับการวนลูป (Loop) ของคอมพิวเตอร์ ประมาณนี้
  • ความผิดมีสองประการ ความผิดจากผู้ที่รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวและสามารถจะเเก้ไขได้เพียงผู้เดียวคือผิดเป็นครู! กับความผิดที่มีผู้อื่นร่วมรับผิดชอบคือผิดเป็นทีม! ที่ปัจจุบันทำงานเป็นทีมเพราะฉะนั้นความผิดจึงอยู่ในดุลยพินิจของผู้อื่นอยู่เสมอ เช่นผิดผู้เดียวคือ นักพูด พิธีกร นักข่าว......
  • สมัยไหนก็เหมือนกันครับ มันอยู่ที่นิสัยคนมากกว่า
    สังคมไทย ผิดซ้ำซากเรื่องเดิมๆมาเป็นร้อยๆปี
    คนแก่ๆ อย่าแปะทองใส่หน้าผากตัวเอง
    เพื่อจะไปด่าเด็กมันดีกว่าไหม...
  • จะใช้คำว่าสมัยไม่น่าจะได้นะคะ
    ขึ้นกับแต่ละคน ผิดเป็นครูคือเจอประสบการณ์ที่ตัวเองผิดพลาด จะเอามาเป็นบทเรียน ในการพัฒนาตัวเอง ไม่ให้เกิดผิดพลาดเรื่องเดิมซ้ำๆ ซึ่งมักเกิดกับคนที่ฉลาดๆ...