Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Last Naturalist - ธรรมชาติวิทยา
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2019 เวลา 13:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไม่ใช่ผึ้งทำแทนไม่ได้! (Pollination syndrome)
ผึ้งหลวงมาหาเกสรและน้ำหวาน
บ่ายวันนี้ผมนั่งดูวีดีโอเกี่ยวกับ Colony collapse disorder จาก The standard ใน YouTube ที่มีการพูดถึงการที่ผึ้งกำลังมีจำนวนลดลง และอาจจะหายไปจากโลกในอนาคต มีช่วงหนึ่งคุณพิธีกรพูดถึงว่า ถ้าผึ้งหายไปจะขาดผู้ผสมเกสรในพืชเศรษฐกิจ ทำให้พืชเศรษฐกิจไม่ออกผล เพราะแมลงอื่นๆ อย่างผีเสื้อก็ไม่สามารถทำหน้าที่แทนผึ้งได้
อ้าวแล้วทำไมแมลงสองชนิดที่ชอบตอมดอกไม้เหมือนกันถึงทำหน้าที่แทนกันไม่ได้?
วันนี้ผมจะมาเขียนเรื่อง Pollination syndrome ให้อ่านกัน เพื่อที่จะให้เห็นภาพว่า การทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาตินั้นเป็นอย่างไร
พืชมีดอกเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากในปัจจุบัน พืชที่เรารู้จักและใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ก็เป็นพืชดอก ในพืชมีดอกกว่า 250,000 ชนิด พบชนิดที่ผสมเกสรโดยลมเพียงไม่กี่ชนิด (ได้แก่ หญ้า กก โอ๊ก และพืชในทุ่งหญ้าสะวันนา) ส่วนที่เหลือจะใช้สัตว์ช่วยเหลือในการผสมเกสร ได้แก่ แมลง (ผึ้ง ต่อ แตน (Order Hymenoptera), ด้วง (Order Coleoptera), แมลงวัน (Order Diptera) ผีเสื้อและมอธ (Order Lepidoptera) ค้างคาว นก สัตว์กลุ่มลิง (Primate) และสัตว์เลื้อยคลาน
โดยพืชจะได้ประโยชน์คือ ได้ผสมพันธุ์แบบอาศัยเพศ และแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมในลูกที่เกิดขึ้น ในขณะที่สัตว์จะได้น้ำหวาน (nectar) และละอองเกสร (pollen) ที่มีสารอาหารสูงเป็นการตอบแทน
พืชแต่ละชนิดมีการดึงดูดสัตว์ต่างกลุ่มกันให้มาผสมเกสร โดยนักวิทยาศาสตร์จัดดอกไม้ไว้เป็น Pollination Syndromes หรือ ลักษณะร่วมกันของดอกไม้ ที่เป็นผลมาจากวิวัฒนาการเพื่อดึงดูดสัตว์เฉพาะกลุ่มให้มาผสมเกสร (เป็น Convergent evolution แบบหนึ่ง) ซึ่งรวมไปถึงสี กลิ่น ปริมาณน้ำหวาน ตำแหน่งของเกสร โครงสร้างของดอกไม้ เช่น ดอกไม้ที่ผสมโดยแมลงจะมีน้ำหวานที่เข้มข้นกว่าและมีฟรุกโตสกับกลูโคสเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
1. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยผึ้ง -จะบานกลางวัน มีสีสดใส มี nectar guide (สีบอกทางให้กับแมลงให้ไปเจอละอองเกสร) มีกลิ่นหอม มีที่ยืนให้ผึ้ง มีน้ำหวาน มีละอองเกสรที่เหนียวแต่มีปริมาณไม่มาก
2. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยผีเสื้อกลางวัน - จะสีสดใสและโดดเด่น มี nectar guide มีที่ยืนให้ มีกลิ่นหอม
สีม่วงบนดอกไม้เป็น Nectar guide ที่เป็นเหมือนลูกศรที่จะบอกทางให้กับแมลงให้ไปเจอละอองเกสร
การดูดน้ำหวานของผีเสื้อจะมีการยืนเกาะบนดอกไม้
3. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยผีเสื้อกลางคืน - จะบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมหวาน โคนดอกยาว แต่สีไม่สดใสเพราะผีเสื้อกลางคืนจะไม่ได้ใช้การมองเห็นในการหาดอกไม้เป็นหลัก ไม่มี nectar guide ไม่มีที่ยืนให้ ละอองเกสรมีปริมาณไม่มาก
4. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยแมลงวันและด้วง - จะมีสีอ่อน (ขาว เขียว) หรือสีน้ำตาลแดง ไม่มี nectar guide กลิ่นรุนแรง ส่วนใหญ่บานตอนกลางคืน (nocturnal) และมีละอองเกสรมาก เช่น พืชในวงศ์ Annonaceae (กระดังงา น้อยหน่า), Dipterocarpaceae (ยาง ยางนา), Araceae (บอน)
ด้วงก็มีบทบาทในการผสมเกสรเช่นกัน
5. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยค้างคาว - สีอ่อน (ขาว เขียว) บานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอม มีน้ำหวานและละอองเกสรมาก มักจะซ่อนอยู่ ไม่โดดเด่น ดอกเป็นช่อ และห้อยลงมาอยู่ต่ำๆ ไม่ได้อยู่ปลายยอด
6. ลักษณะดอกไม้ที่ผสมเกสรโดยนก - สีแดง ดอกใหญ่ เข้าถึงง่าย ไม่มีกลิ่น บานกลางวัน ไม่มีที่เกาะ ไม่มี nectar guide และมีละอองเกสรน้อย มักจะไม่มีกลิ่น เพราะนกจะไม่ค่อยตอบสนองต่อกลิ่น
ซึ่งจะเห็นว่าลักษณะของดอกไม้ที่แตกต่างกันนี้ ช่วยดึงดูดสิ่งมีชีวิตต่างกลุ่มกันให้มาผสมเกสร เพราะฉะนั้นถ้าสัตว์บางกลุ่มหายไปจากระบบนิเวศ เช่น ผึ้ง สัตว์กลุ่มอื่นที่เหลือในระบบนิเวศอาจจะไม่สามารถทำหน้าที่แทนได้ เพราะพืชไม่ได้ปรับตัวมาให้ดึงดูดสัตว์กลุ่มอื่นๆ เหล่านั้น
อ่านเพิ่มเติมที่
https://en.wikipedia.org/wiki/Pollination_syndrome
https://en.wikipedia.org/wiki/Nectar_guide
วีดีโอที่เล่าเรื่อง Colony Collapse Disorder จาก The Standard
https://www.youtube.com/watch?v=Dsqu8BLd8dQ
5 บันทึก
10
2
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สารบัญเพจ The Last Naturalist
Natural Selection - ธรรมชาติสรรสร้าง
5
10
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย