13 มิ.ย. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
เพราะผิดพลาด เดอะซีรีย์
EP:07 เรียนรู้จากการตั้งเป้าหมาย
วันนี้ผมมีเป้าหมาย และการที่จะเขียนบทความนี้ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผมจะทำให้เสร็จในหนึ่งวัน ผมมีหลายอย่างที่ต้องทำในวันนี้
เป็นความจริงที่แต่ละวันคนเรามีความรับผิดชอบที่ต้องทำในหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง โดยเฉพาะในเรื่องงาน
งานทุกงานมีเป้าหมาย มีเส้นตายในแต่ละช่วงเวลาของมันอยู่แล้ว แต่ทางที่ดีในแต่ละวันเช่นวันนี้ หากผมคิดว่าบทความนี้ผมอยากจะเขียนให้เสร็จ ถ้าอยู่ดีๆ ผมเขียนแล้วเกิดตันไอเดียขึ้นมาจะเป็นอย่างไร (ผมเริ่มมีความกลัวที่จะทำไม่ได้ขึ้นมาอีกแล้ว)
ดังนั้นผมจึงตั้งเป้าหมายย่อยๆ เบื้องต้นว่า
ทุกหนึ่งชั่วโมงที่ผ่านไปผมจะเขียนและทำมันได้สำเร็จมากขึ้นเท่าไหร่ (เป็นเรื่องจริงที่การคาดคะเนของผมอาจผิดพลาด ผมอาจมีโทรศัพท์ติดต่อเข้ามา ผมอาจต้องทำบางอย่างเพิ่มเติม ผมมีเรื่องด่วนเรื่องอื่นแทรกเข้ามา แต่ยิ่งผมซอยเป้าหมายให้ใกล้ขึ้นเท่าไหร่ แม้มันจะมีความคลาดเคลื่อนไปบ้างแต่มันก็ทำให้ผมได้ค่อยๆ ก้าวไปอย่างถูกทิศทาง)
เกร็ดในการเรียนรู้
งานส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันเดียว การที่เราตั้งเป้าหมายเพิ่มเติมในแต่ละวัน และค่อยๆ
ทำให้ถึงเป้าหมายย่อยๆ นั้น จะทำให้ยังอยู่ในเส้นทางเพื่อไปถึงผลสำเร็จในงานนั้น เป็นการเพิ่มเติมแรงจูงใจ และเกิดการรับรู้ความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
"หากให้เห็นภาพชัดอาจเป็น การเดินทางจากโลกไปดาวเสาร์ หากไม่มีการปรับแก้องศาในการเดินทางในแต่ละวันแค่เพียงครึ่งองศา ก็อาจจะทำให้ห่างระยะห่างจากเป้าหมายเพิ่มเป็นระดับล้านกิโลเมตร"
เมื่อทบทวนจากปัจจุบัน (ส่วนนี้เพิ่มเติมเข้าไปจากฉบับเดิม)
ที่ผมใช้จริงเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย
1. หลักการเบื้องต้นตามตำราในอดีตอะไรวัดได้จะบริหารจัดการได้ แต่การตั้งเป้าที่ผิดจะมีผลคือ
1.1 เป้าหมายยากสูงเกินไปจนเราท้อและรู้สึกทำไม่ได้และยอมทิ้งเป้าหมายไปจน เลิกทำ
1.2 เป้าหมายง่ายไปจนแทบไม่ต้องทำอะไรก็สำเร็จจนไร้ความท้าทาย
1.3 เป้าหมายที่ดีคือมีความท้าทายที่ยากประมาณนึงที่ตอนเริ่มต้นไม่น่าทำได้แต่ถ้าให้เวลาคิด วางแผนมีคนช่วยสนับสนุน มีทีมงาน น่าจะทำได้
เมื่อวางเป้าหมายได้ถูกต้องค่อยแบ่งช่วงเป้าหมายย่อยในเป้าหมายหลัก
2. ในแต่ละวันประเมินงานที่จะทำเบื้องต้น แบ่งงานเป็นส่วนๆ Focus ทำเรื่องนั้นให้ได้อย่างน้อย 25 นาที โดยไม่วอกแวกไปทำอย่างอื่น (ถ้าเริ่มวอกแวก ให้เขียนสิ่งที่แวบเข้ามาในสมอง ลงพักไว้ในกระดาษไว้ก่อน เพื่อ Focus ต่อเนื่องในเรื่องที่วางแผนไว้) และพักสั้นๆ 1-5 นาทีและกลับมาทำใหม่
พอวนครบประมาณ 4 ครั้งพักยาวสั้น 5-15 นาที เช่น มาเคลียร์งานชิ้นที่สามารถทำเสร็จได้ใน 5 นาที งานที่วอกแวกเข้ามาและจดโน๊ตไว้ เข้าห้องน้ำ คุยขอความเห็น ขอคำปรึกษา เดินไปคุยเล่นแซวคนโน้นคนนี้
3. ผมใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยบริหารจัดการและติดตามงานเป้าหมายเข้ามาช่วย เช่น Onenote / Google Calendar / Tableau / Qlikview ซึ่งช่วยได้มากจริงๆ ครับ
อ้างอิง EP: 06 เรียนรู้เพื่อที่จะรู้ทัน
โฆษณา