เพราะโลกยุคใหม่นี้ การนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จะทำให้การใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ซีรีย์นี้ จะทำการค้นหา mobile application ดีๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดตาม เพราะข้อมูลต่างๆ จะเป็นสินทรัพย์ในอนาคต ดังนั้นเราจึงจำเป็นรู้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ต่อยอดเพื่อนำไปวิเคราะห์ และตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น
กระบวนการคิดแบบลีน ( Lean Methodology ) ที่ถูกนำไปใช่อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิต ( Lean Manufacturing ) เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และนำมาซึ่งการลดต้นทุน และหรือ สร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามกระบวนการแบบลีนนี้ ก็จัดว่าเป็นระบบการบริการจัดการแบบหนึ่ง เหมือนกับ ISO9000, IATF16949, GMP เป็นต้น ซึ่งแต่ละระบบก็มั่งในการสร้างมาตรฐานการทำงานให้ชัดเจน เพื่อมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการ แต่ระบบลีนนั้น จะแตกต่างออกไป เพราะจะเป็นระบบที่มุ่งเน้น 1. การสร้างองค์กรให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2. การลดต้นทุนในการผลิต/บริการ ระบบลีนนี้ จะยิ่งเกื้อหนุนให้องค์กรที่มีระบบมาตรฐานสากลอยู่แล้ว ต่อยอดให้เกิดการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
แบ่งปันเรื่องราวของคนตัวเล็กๆ แต่มีความภูมิใจที่ได้แก้ปัญหาในการทำงานได้ เพื่อนำมาแบ่งปันประสบการณ์ เล่าสู่กันฟัง
นานาสาระ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ เพื่อการพัฒนาตนเอง
ถ้าพูดถึงค่ายรถยนต์ที่มีขายในท้องตลาด คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า จะไม่รู้จัก โตโยต้า TOYOTA ซึ่งเป็นค่ายรถยนต์ที่มียอดขายเป็นอันดับต้นๆของโลก และในบางปี ก็เป็นอันดับหนึ่งเหนือคู่แข่งอย่าง GM ได้ และอะไรทำให้ โตโยต้า สามารถสร้างองค์กรให้สามารถแข็งแรงได้อย่างนั้น คำตอบหนึ่ง คือ การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้มีแนวคิดที่เรียกว่า TOYOTA way หรือ วิถีของคนโตโยต้า ด้วยแนวคิดแกนหลัก 2 แกน คือ 1. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( continuous improvement ) 2. การเคารพในผู้อื่น ( respect for people ) ในรายละเอียดสามารถติดตามได้ในแต่ละตอนของซีรีย์นี้ ** ด้วยวิถีการดำเนินการแบบนี้ ทำให้สร้างคนให้เป็นเลิศในการทำงาน และแทรกซึมฝังลึกจนเป็นนิสัย พฤติกรรม บุคลิกภาพ ของคนเหล่านั้น ให้สามารถเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้
การใช้กราฟิคต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก มันสามารถช่วยให้จับจุดที่ต้องการโฟกัส ได้ดีกว่าการสรุปออกมาเป็นข้อความ ในชุดความรู้นี้ จะนำเสนอ 7 เครื่องมือ ที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมการผลิต ( ซึ่งจริงๆ แล้ว มีกราฟฟิคมากมายให้เลือกใช้งาน ) ได้แก่ 1. กราฟเส้น 2. แผนภูมิก้างปลา 3. แผนผังการกระจายตัว 4. ใบ/เอกสารการตรวจสอบ 5. แผนภูมิควบคุม 6. แผนภาพกระบวนการ 7. ฮีลโตรแกรม #statistical technique
PPS หรือ Practical problem solving คือ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กำหนดหัวข้อเรื่อง 2. รวบรวมและทำปัญหาให้ชัดเจน 3. แจกแจงรายละเอียดของปัญหา 4. กำหนดเป้าหมาย 5. วิเคราะห์สาเหตุ 6. ทดลองเพื่อพิสูจน์ 7. ดำเนินการแก้ไข 8. สรุปผล 9. จัดตั้งมาตรฐาน โดย PPS จัดว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาประเภทเรื้อรัง ( Chronic problem ) รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนนั้น ติดตามได้ในแต่ละตอนได้ครัช !! ** ประเภทของปัญหา มี 2 ประเภท คือ 1. ประเภทฉุกเฉิน ( Emergency case ) - เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่รุนแรง ต้องรีบแก้ไขด่วน 2. ประเภทเรื้อรัง ( Chronic case ) - เกิดขึ้นเรื้อรัง แต่ไม่รุนแรงมาก พอรับได้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาให้หายไป