23 ธ.ค. 2018 เวลา 16:04 • ประวัติศาสตร์
โหราศาสตร์ไทยชั้นสูง
การพยากรณ์เฉพาะดวงชาตาสตรี
และโรค 108 ในโหราศาสตร์
โดย สิงห์โต สุริยาอารักษ์
เนื้อหาแบ่งเป็นสองเรื่องแยกกัน ราว 75% เป็นเรื่องดวงชาตาสตรี ที่เหลือเป็นการพยากรณ์โรคในดวงชาตา
พิจารณาคำพยากรณ์มีการใช้ศัพท์ปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องด้านสรีรวิทยารวมถึงโรคภัยไข้เจ็บ มีการใช้สมุฏฐานโรคที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นเนื้อหาเพิ่งมีการเขียนขึ้นในยุคนี้นั่นเอง ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงอินเดียประกาศเอกราชจากอังกฤษ(1920s-1930s) เมื่อนักโหราศาสตร์อินเดียมีการฟื้นฟูโหราศาสตร์ภารตะเป็นการใหญ่ มีการแปลตำราโหราศาสตร์โบราณจากภาษาสันสกฤต มาเป็นภาษาอังกฤษ
นักโหราศาสตร์ไทยที่ไปเรียนต่างประเทศหรือมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษก็คงได้รับอิทธิพลด้านโหราศาสตร์ภารตะจากตำราเหล่านี้ นำมาผนวกปรับปรุงเข้ากับ หลักการพื้นบ้านของไทย สังเกตว่ายังมีการใช้ระบบเลขศาสตร์ในฝอยการทำนายอยู่บางเรื่อง หรือแม้แต่การใช้หลักพระเคราะห์คู่ตามคำกลอนหลวงปู่นวม แห่งวัดสังเวช เข้ามาผสมผสาน
ข้อดีคือการขยายหลักการพยากรณ์ให้กว้างขวางออกไปจากต้นฉบับเดิม แต่ก็เป็นภาระให้กับนักศึกษาโหราศาสตร์ยุคปัจจุบันที่ต้องมาทำการวิเคราะห์วิจัยเชิงสถิติและประสบการณ์ว่าหลักการใดใช้ได้หรือไม่ได้บ้าง ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะบุคคลที่ถกเถียงแลกเปลี่ยนให้กว้างขวางขึ้นได้ยาก เนื่องจากผู้นำไปใช้จนเห็นผลย่อมอ้างประสบการณ์ตรงของตนเองเป็นหลัก และพร้อมปฏิเสธหลักการอื่นที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประสบการณ์ตรงที่ตนเองได้มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา