Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุณหมอหุนหวย กับผู้ป่วยเฮฮา
•
ติดตาม
1 มี.ค. 2019 เวลา 13:48 • ความคิดเห็น
#ซึมเศร้า เราเหมือนมั้ย มาประเมินกันเถอะ
เราไม่มีวันเข้าใจโลกของใครคนนั้น “เธอไม่เป็นฉัน เธอไม่เข้าใจหรอก”
หมอคิดว่ามันเป็นเรื่องจริงเลยแหละ ทำไมบางเรื่องเพื่อนเล่าให้ฟังเราว่ามันเล็กน้อยมากเลยนะ ทำไมถึงรับไม่ได้นะ
การเกิดโรคซึมเศร้านี้มาจากหลายสาเหตุเลย จากสภาวะแวดล้อม การเลี้ยงดู และมาจากพันธุกรรมได้ด้วย มียีนที่ถ่ายทอดโรคซึมเศร้าได้ด้วยหรอ
https://unsplash.com/photos/0HAIE_uZ5-0
ได้ค่ะ เพราะโรคซึมเศร้ามีส่วนจากความเสียสมดุลของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในสมอง มียีนบางตัวที่ทำให้การทำงานของจุดที่ผลิตสาวเหล่านี้ผิดเพี้ยนไปได้
ในขณะเดียว หากไม่ได้มาจากกรรมพันธุ์ สภาวะแวดล้อมที่กดดันสามารถทำให้สารสื่อประสาทนี้ผลิตไปอย่างไร้ทิศทาง เมื่อนานวันเข้าเคยชินกับการผลิตแบบนี้ก็ก่อตัวเป็นโรคได้ค่ะ
ฉะนั้น เฉกเช่นเดียวกับโรคความดัน ไขมัน เบาหวาน โรคซึมเศร้าก็ต้องการการปรับยาและติดตามอาการเหมือนกัน
มีแบบประเมินโรคซึมเศร้าจากกรมสุขภาพจิตให้ลองทำกันดูค่ะ แบบประเมินนี้ชื่อ 2Q 8Q 9Q เพราะมันมีขั้นตอนสามขั้น และหลายคำถาม หมอจะคั่นเฉลยไว้ด้วย ค่อย ๆ ลองทำกันดูนะคะ แบบซื่อสัตย์ต่อตัวเองนะ :)
ขอบคุณ กรมสุขภสพจิตค่ะ
https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
พอจบส่วนนี้ ถ้าคำตอบว่า “มี” ในช่วง “2 สัปดาห์” นี้ หรือมากกว่า ให้ทำส่วนถัดไปค่ะ
จบส่วนนี้ คะแนนมากกว่า 7 ให้ประเมินส่วนสุดท้ายต่อนะคะ สำคัญมาก!!
จบในส่วนนี้ ถึงแม้คะแนนจะไม่เข้าขั้นรุนแรง แต่ควรปรึกาาคุณหมอนะคะ เพราะเข้าข่ายป่วยโรคซึมเศร้า ในอนาคตอาจมีแนวโน้มต่อการทำร้ายตัวเองได้ เป็นห่วงนะคะ
เนื่องจากโรคทางจิตเวช แบ่งได้แบบยิบ ๆ มีหลายประเภท หากพบคุณหมอและได้รับการประเมินแล้วว่าป่วยจริง ๆ จึงจะจ่ายยาให้ค่ะ
บางทีผู้ป่วยหลายคนเดินเข้ามาเพื่อปรึกษา หลายครั้งประเมินแล้วว่าไม่ใช่ แต่เมื่อคุยแล้วได้ไขข้อข้องใจให้กับตนเองว่าเราเข้าข่ายมั้ย ก็ทำให้เรารู้ปัญหาตัวเองได้เปราะหนึ่ง มีหลายครั้งที่คนไข้เดินเข้ามาเล่าปัญหาชีวิตต่าง ๆ ให้ฟัง เพราะกำลังสงสัยว่าตัวเองจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแต่สุดท้าย การเล่าเรื่องที่ตัวเองรู้สึกให้กับใครบางคนที่ไม่รู้จักเรา เมื่อไม่รู้จักจึงไม่ตัดสิน การพูดคำเหล่านั้นออกไปกลายเป็นว่าคนไข้รู้ปัญหาตัวเอง เข้าใจตัวเอง และรู้ทั้งเหตุต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยที่หมอไม่ได้พูดอะไรมากมายเลย
หมอเห็นหลายเคส ที่คนไข้เริ่มต้นจากเดินยิ้มเจื่อน ๆ เข้ามา ร้องไห้ ซับน้ำตาตัวเองโดยที่เนื้อแท้แล้วไม่ถึงขั้นเข้าโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงมรสุมที่ต้องผ่านมันไปเท่านั้น
หมอดีใจที่ระยะช่วงสองสามปีหลังนี้ วันหนึ่ง ๆ จะมีเคสที่มาเพื่อปรึกษา 1-2 คน ซึ่งถือว่าค่อนข้างชุมทีเดียว แม้ว่าบางเคสมาจากอาการที่แทรก ๆ แฝง ๆ มากับโรคอื่น แต่ก็ไม่น้อยที่คนไข้เข้ามาปรึกษาเรื่องว่า “จะเป็นโรคซึมเศร้ามั้ย” แบบตรง ๆ โดยไม่อาย ไม่กลัวการคุยกับหมอ ไม่กลัวที่จะบอกว่าอยากพบจิตแพทย์
สุขภาพกายที่ดีมาจากสุขภาพใจที่สมบูรณ์นะคะ :)
29 บันทึก
104
17
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องของจิตใจ Body and Soul
29
104
17
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย