4 มิ.ย. 2019 เวลา 08:21 • การศึกษา
“มีชื่อในพินัยกรรมแต่อดได้สมบัติเพราะอะไร !?”
Cr. pixabay
วันนี้มีเรื่องจะเล่าให้ฟังครับ
มีครอบครัวหนึ่ง ฐานะค่อนข้างดี มีพ่อ แม่ และลูก ๆ อีก 3 คน ลูกคนโตประกอบอาชีพวิศวกร ลูกคนที่สองอยู่บ้านเฉย ๆ เพราะตกงาน ส่วนลูกสุดท้องกำลังเรียนกฎหมายอยู่มหาวิทยาลัย ปีที่ 2
อยู่มาวันหนึ่ง พ่อซึ่งเริ่มมีอายุมากขึ้น ก็เกิดความคิดว่า ตนก็แก่แล้วและทรัพย์สมบัติก็มีมากอยู่ หากตนตายไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมเรื่องทรัพย์สมบัติไว้ ก็กลัวว่าเมื่อตนจากไปแล้วลูก ๆ จะทะเลาะแย่งสมบัติกัน
ด้วยความที่สมัยหนุ่ม ๆ ต้องปากกัด ตีนถีบ สร้างฐานะมาด้วยความยากลำบาก พ่อจึงมีนิสัยประหยัด ไม่ยอมจ้างทนายความ และเห็นว่าลูกคนสุดท้องของตนกำลังเรียนกฎหมายอยู่ จึงได้ไหว้วานให้เขาเขียนพินัยกรรมเพื่อแบ่งสมบัติให้ลูกแต่ละคน และภรรยา และให้ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมให้
เมื่อลูกคนที่สามได้เขียนพินัยกรรมให้พ่อเสร็จแล้ว ก็นึกได้ว่าตามที่ตนได้เรียนมานั้น พยานในพินัยกรรมจะต้องมีอย่างน้อย 2 คน จึงชวนพี่คนโต (วิศวกร) มาลงชื่อเป็นพยานอีกคนหนึ่ง
ซึ่งตนได้ลงชื่อเป็นคนเขียนพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรม ส่วนพี่คนโตก็ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมเช่นเดียวกัน และได้ฝากพินัยกรรมให้แม่เป็นคนเก็บไว้
หลังจากนั้นไม่นานพ่อก็ได้เสียชีวิตลง แม่นึกได้ว่าพ่อได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติไว้ จึงได้นำพินัยกรรมมาเปิดเพื่ออ่านให้ลูก ๆ ทั้ง 3 คนฟัง
ปรากฏว่า แม่ และลูกแต่ละคนได้สมบัติเท่า ๆ กัน เป็นเงินคนละ 20 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในบัญชีเงินฝากประจำของธนาคาร
และก็ถึงเวลาแบ่งสมบัติ ทั้งหมดจึงพากันไปติดต่อธนาคาร เพื่อนำเงินออกมา
มาถึงตรงนี้ ผมอยากให้ทุกคนลองอ่านข้อกฎหมายนี้ แล้วลองคิดคำตอบดูครับ ว่าใคร ที่จะได้ หรือไม่ได้เงิน 🤔
ข้อกฎหมาย “ผู้เขียน หรือพยาน ในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ รวมถึงคู่สมรสของผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมด้วย”
อ่านข้อกฎหมายแล้ว พอจะได้คำตอบแล้วใช่มั้ยครับ ว่าใครที่อด และทำไมถึงอดได้สมบัติ 😭
💡คำตอบอยู่ในคอมเม้นท์นะครับ💡
และถ้าอยากรู้ว่าใครมีสิทธิมีสิทธิได้รับมรดกบ้าง ไปอ่านต่อเลย👇
1
ขอบคุณภาพน่ารัก ๆ จาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกดถูกใจและติดตามผลงานด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา