9 ก.ค. 2019 เวลา 05:00 • ปรัชญา
Alfred Witte’s Rules for Planetary Pictures 5th Ed (1959)
หนังสือเล่มนี้ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมันฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปีค.ศ. 1959 แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Curt Knupfer และRichard Svehla ขณะเดียวกันท่านอาจารย์พลตรีประยูร พลอารีย์รวมถึงบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ร่วมมือกันแปลจากต้นฉบับภาษาเยอรมันมาเป็นฉบับภาษาไทยโดยใช้ชื่อว่า “คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ” ที่ท่าน Admin ได้จัดแสดงไปแล้ว คงไม่ต้องกล่าวถึงฉบับภาษาไทยอีก
แต่อยากกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของต้นฉบับในภาษาเยอรมันของหนังสือเล่มนี้ โดยสรุปจากบทความของ Michael Feist เรื่อง The Rules Book Through The Age (June 1999) ที่ค้นหาได้ตาม Google และปาฐกถาเรื่อง Facts About The Rules For Planetary Pictures (Mar 14, 2015 Bangkok) ที่ค้นหาได้จาก Youtube
โดยมีใจความสำคัญดังต่อไปนี้
(1) Rudolph เกริ่นไว้ในคำนำของหนังสือว่า “In general, one should not take the interpretations for the various planetary pictures, given in the Rules Book for granted…” พูดง่ายๆว่าในการใช้หนังสือเล่มนี้อย่ามักง่ายตีความตามตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันการตีความปัจจัยโหราศาสตร์ของ Witte อิงกับการวิเคราะห์การจัดหมู่ของปัจจัยโหราศาสตร์ โดยให้ความหมายสั้นและกะทัดรัด (Childres’s language of planets) ไม่ได้เกิดจากการตีความทางปรัชญา/ทฤษฎีแต่เพียงอย่างเดียว การตีความยังอ้างอิงผลจากการอ่านดวงชะตาจริง ฉบับพิมพ์ครั้งแรกจึงค่อนข้างอ้างอิงจากประสบการณ์จริง แต่มีจุดอ่อนเรื่องการตีความหมายเชิงลบบ่อย และขาดการให้ความหมายเชิงจิตวิทยา
.
(2) ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ปีค.ศ. 1928 จำนวน 200 หน้า Rudolf เขียนคำนำ, Witte อธิบายตัวอย่างการใช้งาน 6 หน้า ครอบคลุม ศูนย์รังสี/จุดอิทธิพล และดาวทิพย์ Cupido Hades Zeus Kronos
.
(3) ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สอง ปีค.ศ. 1932 จำนวน 408 หน้า เพิ่มปฏิทินดาราศาสตร์ของดาวทิพย์ 4 ดวงคำนวณโดย Witteและความหมายของดาวในเรือนชะตาราศีต่างๆ รวมถึงยังไม่รวมดาวทิพย์ 4 ดวงของ Sieggruen
.
(4) ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สาม ปีค.ศ. 1935 จำนวน 420 หน้า เพิ่มรูปถ่าย Witte ยังไม่รวมดาวทิพย์ 4 ดวงของ Sieggrue ปีรุ่งขึ้น 1936 ถูกนาซีสั่งเก็บและเผาทิ้งพอมาในปี 1939 Richard Svehla ตีพิมพ์ฉบับแปลอังกฤษ
.
(5) ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สี่ปีค.ศ. 1946- 1950 จำนวน 200 หน้าเป็นฉบับชั่วคราว Hermann Lefeldt (ลูกศิษย์ของ Ludwig Rudolph ) เป็นผู้ปรับปรุงแก้ไข โดยมีการเรียงลำดับความหมายใหม่หมด มีการรวมดาวพลูโต (Pluto) และดาวทิพย์สี่ดวงของ Seiggruen (Apollon, Admetos, Vulkanus และ Poseidon) ที่ผ่านการตีความโดย Lefeldt (ให้ความหมายแตกต่างไปจากฉบับของ Seiggruen ซึ่งไม่ได้จัดพิมพ์)
.
ในปี1948 ภรรยาหม้ายของ Witte เขียนจดหมายถึง Rudolf ว่าไม่ต้องการรวมความคิดคนอื่นในผลงานของ Witte รวมถึงกล่าวพาดพิงถึง Lefeldt ที่กล่าวไว้ในคำนำว่า “ด้วยเหตุผลของความเคารพนับถือ ผมไม่สามารถตัดทิ้งการแปลของ Witte บางส่วนที่ผมคิดว่าไม่ถูกต้องออกไปได้” ในที่สุดคำนำดังกล่าวถูกตัดทิ้งออกไป ต่อมาปี1959 Niggerman ตีพิมพ์ฉบับแปลภาษาอังกฤษ
.
(6) ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ห้าปีค.ศ. 1959 จำนวน 370 หน้าเป็น ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน โดยปี 1974 Knupfer ตีพิมพ์ฉบับแปลอังกฤษ และปี 1978 อาจารย์ประยูร ตีพิมพ์ฉบับแปลไทย
สรุป
.
1. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1-3 ตรวจแก้โดย Rudolf โดยอาศัยการตีความโดย Witte (ปากเปล่า) ด้วยวิธีวิเคราะห์จัดกลุ่มความหมาย แต่ไม่ได้อิงกับทฤษฏีทั้งหมด บางส่วนอิงจากผลทดลองจริง
.
2. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4-5 ตรวจแก้โดย Lefeldt โดยเพิ่มเติมความหมาย Pluto ดาวทิพย์ของ Sieggruen ที่ตีความโดย Lefeldt และเพิ่มเติมความหมายในเวอร์ชั่นก่อน แต่ไม่มีการปรับปรุง แก้ไข ลบสิ่งที่ Witte ทำไว้ในการพิมพ์ครั้งที่ 1-3 แต่อย่างใด
หมายเหตุโดยโหราทาส
.
Michael Feist เป็นผู้สืบทอดสำหรับ Hamburg School of Astrology คนปัจจุบัน เป็นหลานชายของ Udo Rudolph ผู้สืบทอดคนก่อนหน้า ส่วน Udo เป็นลูกชายของ Ludwig Rudolph ผู้ร่วมก่อตั้งสำนัก และยังเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ที่จัดการตีพิมพ์ผลงานของสำนัก ส่วน Sieggrun เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าสำนัก ขณะที่ Witte วิศวกรทำแผนที่ เป็นผู้คิดค้นโหราศาสตร์แบบใหม่ (ที่เราคุ้นเคยในชื่อโหราศาสตร์ยูเรเนียน) และ เป็นแขกรับเชิญที่ Sieggrun เชิญมาบรรยายที่กลุ่ม จนต่อมาทางกลุ่มได้นำวิธีการของ Witter มาใช้เป็นมาตรฐานของสำนัก จุดหักเหของสำนักเกิดขึ้นมา Witte มาถึงแก่กรรมกระทันหันจากการถูกทรมานและกดดันโดยพวกนาซี ส่งผลให้ Ludwig มอบหมายให้ Lefeldt ปรับปรุงแก้ไขผลงานของ Witte ซึ่ง Lefeldt เป็นผู้นิยมโหราศาสตร์ดังเดิมแบบที่มีการตีความทางปรัชญา (ซึ่งผิดไปจากปณิธานของ Witte ที่ต้องการตีความจากตัวอย่างการทดลอง ) ทำให้ผู้ใช้คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการแปลความหมาย
เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปลึกไปกว่านั้น ว่าใครเป็นใคร ขอกล่าวถึงประวัติโรงเรียนโหราศาสตร์สำนักฮัมบูร์ก ( Hamburg School of Astrology) สักเล็กน้อย จากบทความที่ชื่อ “The Hamburg School – The Early Years” ของ Michael Feist
.
1913 Afred Witte เริ่มตีพิมพ์ผลงานโหราศาสตร์ แต่วิธีการที่ใช้ยังไม่เป็นที่รู้จักและคุ้นเคย
.
1915 Friedrich Sieggrun ก่อตั้งกลุ่ม Kepler-Circle มี Ludwig Rudolph เป็นเลขากลุ่มและสมาชิกอายุน้อยสุด และเป็นศิษย์ของ Sieggrun
.
1919 Alfred Witte ถูกเชิญมาบรรยายให้กลุ่ม หลังจากนั้นตีพิมพ์ 40 บทความจนถึงปี 1924 ให้กลุ่ม
.
หลัง 1924 Witte และกลุ่มเริ่มแนะนำวิธีการใหม่ใน Magazine
.
1929 Witte ตีพิมพ์ผลงานชุดสุดท้ายโดย L.Rudolph
.
1919-1925 กลุ่ม Kepler-Circle เริ่มหันเหจาก Traditional มาสนับสนุนวิธีการของ Witte
.
1923 Witte นำเสนอดาวสมมติ Cupido เป็นครั้งแรก พร้อมวิธีการคำนวณ ในเวลานั้นมีการคำนวณตำแหน่งดาว Trans-Neptune กันอย่างแพร่หลายแล้ว
.
1923 Sieggrun เริ่มใช้ชื่อเรียกกลุ่มว่า The Hamburg Astrologers School ในงานประชุมนักโหราศาสตร์ที่เมือง Leipzig ต่อมาวิธีการของ Witte ถูกเรียกว่า Hamburg School
.
1925 F.Sieggrun, A.Witte, L.Rudolph, H.Feddern และกลุ่มนักโหราศาสตร์รวม 27 คนก่อตั้งสมาคมนักโหราศาสตร์ Hamburg School อย่างเป็นทางการ มี Sieggrun เป็นประธานบริหาร และ Rudolph เป็นเลขา จุดประสงค์เพื่อเก็บรวมรวมสะสม ค้นคว้า วิจัยยืนยันความสัมพันธ์ ตำแหน่งดาวเข้ารูปกับปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้น
.
1926-1927 เริ่มเก็บรวบรวมความหมายเหตุการณ์ตามตำแหน่งดาว ร่างเป็นกฏเกณฑ์
.
1928 Rudolph จัดพิมพ์ Rules for Planetary Pictures เป็นครั้งแรก โดยรวมความหมายดาวทิพย์ 4 ดวงคือ Cupido, Hades, Zeus และ Kronos ที่คำนวณโดย Witte เข้าไป
.
1927 F.Sieggrun นำเสนอดาวทิพย์ Apollon, Admetos และ Vulkanus ต่อกลุ่ม แต่ไม่ได้รับการรับรอง Sieggrun เริ่มแยกตัวออกจากลุ่ม โดยมี Rudolph เป็นคนคอยประสานงานระหว่างกลุ่มกับ Witte (กลุ่มต้องการเน้นเรื่องการอ่านดวงชะตา)
.
หลัง 1928 Witte และ Rudolph ยังคงสอนให้กลุ่มต่อเนื่อง
.
1930 นักดาราศาสตร์ค้นเจอดาว Trans-Neptune ผ่านกล้องโทรทัศน์เป็นครั้งแรก
.
1933 Richard Svehla แนะนำวิธีการ Hamburg Shool ในสหรัฐ
.
1935 ตีพิมพ์ Rules for Planetary Picture 3ed (1935) เป็นฉบับภาษาอังกฤษ และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Uranian System of Astrology โดยนำความหมายจากดาวยูเรนัส (การปฏิวัติ)
.
1939 เริ่มนำดาวทิพย์ที่ Sieggrun คำนวณไว้เพิ่มเข้ามาในตำรา
ต่อไปนี้ผมจะสรุปวิธีการทางโหราศาสตร์ของ Witte จากการสืบค้นข้อมูลมาแต่จำแหล่งอ้างอิงไม่ได้
.
Albert Kniepf (1853-1924) เป็นผู้บุกเบิกโหราศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในเยอรมัน โดยมองโหราศาสตร์ในมุมมองของดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ วิธีการและทฤษฎีที่ใช้ควรมาเงื่อนไขจากสภาวะธรรมชาติ (Condition) และต้องมีผลการทดสอบรองรับวิธีการและทฤษฎี (Control) โดย A.Witte ได้รับอิทธิพลจาก Kniepf และใช้แนวคิดดังกล่าวในการทดลองทางโหราศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ
.
ปี 1913 และ 1920 Witte ตีพิมพ์สองบทความแรกเกี่ยวกับ (การอธิบายความสัมพันธ์เชิงฮาร์โมนิก) ของการสั่นของเสียงดนตรีและสเปคตรัมของแสง โดยใช้คณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบกับดาวเข้ารูป และกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างโหราศาสตร์กับร่างกายในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นผลจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก-กระแสไฟฟ้า)
.
มุมมองทางโหราศาสตร์ของ Witte มีจุดเริ่มต้นมาจาก mundane factors ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตบนโลก โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ทางโหราศาสตร์ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่จุดเมษ (Cardinal Cross) , อาทิตย์ (โลก) และจันทร์ ซึ่งแต่ละปัจจัยถึงเป็นจุดรวมปฏิกิริยาหลากหลายของพลังธรรมชาติไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ฤดูกาล กระแสน้ำ และภูมิอากาศ ชีวิตมนุษย์ยังถูกกำหนดโดยวงรอบประจำปีและประจำเดือน การหมุนของดวงอาทิตย์ที่ทำตัวเหมือนแม่เหล็ก ส่งผลแม่เหล็กไฟฟ้าต่อระบบสุริยะ โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแบ่งออกเป็นชั้นๆ (Ball shells) ตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ โดยโลกเปรียบเสมือน electromotor ซึ่งทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าและแม่เหล็ก ดังนั้นคุณสมบัติทางโหราศาสตร์ของดาวเคราะห์จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างของมัน แต่ขึ้นกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์
.
สรุปโหราศาสตร์ของ Witte เกิดขึ้นสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อเนื่องถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1928-1959) อิงกับปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการทดสอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Proof) งานของ Witte เน้นที่การพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มากกว่าการตีความทางปรัชญาเหมือนนักโหราศาสตร์ร่วมสมัย อย่างไรก็ตามการเพิ่มเติมปรับปรุงเนื้อหาภายหลังโดย Lefeldt ทำให้แนวทางย้อนยุคกลับไปในเชิงปรัชญามากขึ้น
โหราทาส

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา