21 ก.ค. 2019 เวลา 04:03 • การศึกษา
"ใช้หนี้แทนคนอื่นไปก่อน ระวังจะไม่ได้คืน!!"
เมื่อเราเป็นลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องใช้หนี้ให้เจ้าหนี้จนครบถ้วน จริงมั้ยครับ
Cr. pixabay
แต่ถ้าเราไม่ใช่ลูกหนี้แล้วดันไปใช้หนี้แทนลูกหนี้ไปก่อน ไม่ว่าจะเพราะสาเหตุใด ๆ ก็ตาม
หากเราไม่ได้มีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่ต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ (อย่างเช่น ผู้รับประกันภัยรถยนต์)
ระวัง!! อาจเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ไม่ได้
ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
นายใจดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ต้องการให้แฟนสาวประทับใจในเดทแรก จึงขอยืมรถยนต์นายใจกว้างเพื่อนซี้ที่เรียนคณะเดียวกัน เพื่อไปรับแฟนสาวที่บ้านของเธอ
ส่วนนายใจกว้างก็ใจกว้างสมชื่อ อยากให้เพื่อนของตนจีบสาวสำเร็จ จึงให้นายใจดียืมรถไปใช้เพื่อปฏิบัติภารกิจ (พิชิตใจสาว)
ขณะที่นายใจดีกำลังขับรถไปรับแฟนสาว พบว่าได้มีการซ่อมแซมถนนซึ่งมีป้ายติดกำกับไว้ว่า ดำเนินการซ่อมแซมโดย บริษัทลวกลวก จำกัด
Cr. pixabay
แต่กลับไม่พบว่ามีการปิดกั้น หรือมีวิธีการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการซ่อมแซมแต่อย่างใด
ตดยังไม่ทันหายเหม็น นายใจดีที่เพิ่งชะลอรถเพราะขับผ่านบริเวณซ่อมถนน กลับถูกเศษหินที่กระเด็นจากเครื่องเจาะถนน ที่คนงานของบริษัทลวกลวก จำกัด กำลังปฏิบัติงานอยู่ ปลิวมาถูกบริเวณตัวถังรถและกระจกได้รับความเสียหาย
นายใจดี ก็ใจดีสมชื่อ ไม่อยากให้เพื่อนของตนต้องเสียเวลาไปเรียกร้องเอากับบริษัทประกันภัย หรือบริษัท ลวกลวก จำกัด
จึงได้นำรถมาตีราคาค่าซ่อม และจ่ายค่าซ่อมแซมรถยนต์ให้แก่นายใจกว้าง เป็นเงินทั้งหมด 50,000 บาท
หลังจากจ่ายค่าซ่อมแซมให้นายใจกว้างไปแล้ว นายใจดีจึงนำใบเสร็จรับเงินค่าซ่อมและภาพถ่ายความเสียหายที่ได้รับ ไปเรียกร้องให้บริษัท ลวกลวก จำกัด รับผิดชอบ
บริษัท ลวกลวก จำกัดปฏิเสธความรับผิดชอบ นายใจดีจึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อหวังบารมีศาลเป็นที่พึ่งต่อไป
มาถึงตอนนี้ อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าศาลจะมีคำพิพากษาออกมายังไง
เรื่องนี้ศาลได้มีคำพิพากษาว่า
เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นกับรถคันที่ยืมมานั้นเนื่องจากความผิดของบริษัท ลวกลวก จำกัด นายใจดีซึ่งเป็นผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ (นายใจกว้าง)
แม้นายใจดีจะได้ซ่อมแซมรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่อยู่ในฐานะ "ผู้รับช่วงสิทธิ" ของเจ้าของทรัพย์ ที่จะเรียกร้องให้บริษัท ลวกลวก จำกัด รับผิดได้
เพราะการรับช่วงสิทธิ จะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิ มีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของ เมื่อนายใจดีไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลจึงต้องมีคำพิพากษายกฟ้องนายใจดี
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2766/2551)
Cr. pixabay
📌 สรุปก็คือ นายใจดีไม่ใช่ผู้มีหน้าที่จะต้องชดใช้หรือรับผิดชอบต่อรถยนต์ของนายใจกว้าง จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิตามกฎหมาย ที่เมื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายใจกว้างแล้ว จะรับสิทธิของนายใจกว้างมาฟ้องร้องเอากับบริษัท ลวกลวก จำกัด ผู้ทำละเมิดได้
งานนี้นายใจดีคงนึกในใจว่า "ไม่น่าใจดี" เล้ยยยย ><"
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา