23 ก.ค. 2019 เวลา 09:21 • การศึกษา
“ที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม จะใช้เสียงข้างมากเพื่อนำออกเช่า หรือขายได้หรือไม่ ?”
ใครที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์สินนั้น ๆ โปรดจงดีใจ
Cr. pixabay
เพราะท่านจะนำทรัพย์สินไปให้ผู้อื่นเช่า หรือขาย หรือให้ใครฟรี ๆ ก็คงไม่มีใครว่าหรือคัดค้านอะไร
แต่สำหรับใครที่เป็นเจ้าของรวมมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินเดียวกัน เช่น ที่ดิน 1 แปลงแต่มีชื่อพี่น้องเป็นเจ้าของร่วมกัน 3 คน
1
อย่างนี้ การจะนำทรัพย์สินนั้นออกให้เช่า หรือขาย ก็อาจทำได้ลำบากหน่อย
เพราะขึ้นชื่อว่าเจ้าของรวม หรือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว แต่ละคนย่อมมีสิทธิเท่า ๆ กัน
ถามต่อไปว่า ถ้าเจ้าของรวมจะใช้หลักประชาธิปไตยในการตัดสินใจล่ะ
(เนื้อเพลงเค้าบอกว่า ประชาธิปไตย คือการออกเสียงของคนส่วนใหญ่ พวกเราต่างเป็นคนไทย มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจ.......พอ ๆ เดี๋ยวมีคนอิน)
ลองมาดูตัวอย่างนี้กันครับ
ชิพกับเดลมีสองพี่น้อง ขายของในคลอง....................
Cr. pantip.com
เดี๋ยว ๆ ไม่ใช่คู่นี้ เอาใหม่ ๆ
เรื่องมีอยู่ว่า นายเจ้าพ่อ (ชื่อคนนะ) พ่อม่ายเนื้อหอมเมียตาย มีลูกชาย 3 คน ชื่อ เจ้ามือ, เจ้าหนี้ และเจ้าภาพ
ที่นายพ่อเจ้าเป็นหนุ่มเนื้อหอม เนื่องจากเป็นเจ้าของที่ดิน 10 ไร่ใจกลางสุขุมวิท ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยเจ้าคุณปู่
แต่นายเจ้าพ่อก็ไม่ได้คิดจะขายหรือทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะตั้งใจจะยกให้ลูกชายทั้ง 3 คนของตนเมื่อถึงเวลาที่สมควร
Cr. pixabay
แต่ยังไม่ทันได้สั่งเสีย นายเจ้าพ่อก็ได้มาด่วนจากไปเพราะอาการหัวใจล้มเหลว ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 10 ไร่ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกตกแก่บุตรชายทั้ง 3 คนในทันที
ในปีดังกล่าว ภาษีที่ดินฉบับใหม่ได้มีผลบังคับใช้ มีผลทำให้เจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมาก
นายเจ้ามือ และนายเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นพี่คนโตและคนรอง เห็นพ้องต้องกันว่าจะนำที่ดินแปลงดังกล่าวออกให้เช่า เพราะนอกจากจะได้เงินค่าเช่ามาใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถลดภาระด้านภาษีได้อีกด้วย
แต่เจ้าภาพ น้องเล็กสุดติ๊ดไม่ยอมให้นำออกเช่า เพราะตนต้องการใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวสร้างเป็นแกลลอรี่แสดงงานศิลปะของตน
นายเจ้ามือและเจ้าหนี้ เห็นว่าพวกตนเป็นเสียงข้างมากย่อมมีสิทธินำที่ดินออกให้เช่าได้ จึงได้ทำสัญญาให้เช่าที่ดินกับนายร่ำรวย เจ้าสัวตระกูลดัง เพื่อพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า
Cr. pixabay
นายเจ้าภาพเมื่อทราบเรื่อง จึงได้มาฟ้องต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว
ซึ่งเรื่องนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาออกมาอย่างนี้ครับ
"การให้เช่าที่ดินพิพาทถือได้ว่าเป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันในตัวทรัพย์สินซึ่งจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของทายาทซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคน
นายเจ้ามือและนายเจ้าหนี้ไม่อาจตกลงให้นายร่ำรวยเช่าที่ดินพิพาทได้ ไม่ว่าจะเป็นการตกลงให้เช่าโดยลำพังหรือเป็นการตกลงให้เช่าโดยเป็นมติเสียงข้างมากของทายาท
เมื่อนายร่ำรวยอ้างว่า นายเจ้ามือและทายาทของเจ้ามรดกฝ่ายเสียงข้างมากตกลงให้ตนเช่าที่ดิน
ส่วนนายเจ้าภาพทายาทอีกคนหนึ่ง ก็ยืนยันว่าไม่ได้ให้ความยินยอมให้นายเจ้ามือและนายเจ้าภาพ ตกลงทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับนายร่ำรวย
แสดงว่าการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง นายเจ้ามือกับนายร่ำรวยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคน
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง นายเจ้ามือกับนายร่ำรวยจึงไม่มีผลใช้บังคับได้"
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2938/2559)
📌 เรื่องนี้สรุปได้ว่า หากทรัพย์สินใดมีชื่อเจ้าของหลายคนเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน การจะนำทรัพย์สินนั้นไปทำนิติกรรมใด ๆ เช่น นำออกให้เช่า หรือขาย จะต้อง "ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน"
จะอาศัยเสียงข้างมากเพื่อดำเนินการไม่ได้
กราบความติสท์ของนายเจ้าภาพ
Cr. pixabay
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา