Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
20 ก.ย. 2019 เวลา 23:59 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็มฉบับสมบูรณ์ (針灸學) ภาคทฤษฎี
บทที่ 3
ปรัชญาห้าธาตุ (五行) ตอนที่1
ในโลกนี้มีสัจธรรมอยู่อย่างหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง นั่นก็คือเป็นพื้นฐานของน้ำ เป็นพื้นฐานของดิน เป็นพื้นฐานของดวงดาว เป็นพื้นฐานของน้ำครำ เป็นพื้นฐานของอุจจาระปัสสาวะ และก็เป็นพื้นฐานของอื่น ๆ อีกมากมายบนโลกใบนี้ โดยสรุปก็คือ สัจธรรมที่ว่านี้เป็นพื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง และมีความคงอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ไม่เกิดไม่ดับ ไร้รูปไร้กลิ่น ไม่เพิ่มไม่ลด เหลาจื่อเรียกสิ่งนี้ว่า “เต๋า”
เต๋าเป็นต้นกำเนิดของอินหยาง อินหยางเป็นต้นกำเนิดของห้าธาตุ และห้าธาตุเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง ดังนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายจึงอยู่ภายใต้กฎแห่งอินหยาง อยู่ภายใต้กระบวนการของห้าธาตุ และทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การให้กำเนิดแห่งเต๋านั่นเอง
นักปราชญ์แต่โบราณได้สังเกตเห็นซึ่งความจริงเหล่านี้ ดังนั้นแม้จักรวาลนี้จะมีความสลับซับซ้อนอย่างไร แต่โดยแท้แล้วมีจุดเริ่มต้นมาจากความเรียบง่าย นั่นก็คือทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนสามารถจัดออกเป็นห้าหมวดหมู่ โดยเราได้ตั้งชื่อให้กับหมวดหมู่เหล่านี้ตามคุณลักษณะประจำหมวดเป็นธาตุต่าง ๆ
โดยมีบางหมวดมีลักษณะที่แข็งแกร่งและแหลมคม เราจึงตั้งชื่อให้กับหมวดนี้ว่าธาตุทอง บางหมวดมีคุณลักษณะที่ให้กำเนิดและแข็งกระด้าง เราจึงตั้งชื่อให้กับหมวดนี้ว่าธาตุไม้ บางหมวดมีคุณลักษณะที่เย็นฉ่ำและพลิ้วไหว เราจึงตั้งชื่อให้กับหมวดนี้ว่าธาตุน้ำ บางหมวดมีคุณลักษณะที่ร้อนแรงและรวดเร็ว เราจึงตั้งชื่อให้กับหมวดนี้ว่าธาตุไฟ บางหมวดมีคุณลักษณะที่หนักแน่นและเที่ยงตรง เราจึงตั้งชื่อให้กับหมวดนี้ว่าธาตุดิน
ในหมวดแต่ละหมวดหรือธาตุแต่ละธาตุเหล่านี้ยังมีลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น นั่นก็คือมีความสัมพันธ์แบบเสริม (生) และข่ม (克) ซึ่งกันและกัน
โดยธาตุทองให้กำเนิดธาตุไม้ ธาตุไม้ให้กำเนิดธาตุไฟ ธาตุไฟให้กำเนิดธาตุดิน ธาตุดินให้กำเนิดธาตุทอง
ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีการให้กำเนิดหรือเสริมให้สูงขึ้น แน่นอนว่าก็ต้องมีการข่มให้ลดลง เช่นนี้จึงจะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น นั่นก็คือ ธาตุทองข่มธาตุไม้ ธาตุไม้ข่มธาตุดิน ธาตุดินข่มธาตุน้ำ ธาตุน้ำข่มธาตุไฟ ธาตุไฟข่มธาตุทอง ฝ่ายหนึ่งคือการเสริม และอีกฝ่ายคือการข่ม การเสริมและข่มที่เสมอกัน จึงจะทำให้เกิดเป็นภาวะสมดุลของธาตุทั้งห้านั่นเอง
5 บันทึก
4
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
5
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย