4 ต.ค. 2019 เวลา 09:39 • ธุรกิจ
แผนภูมิก้างปลา ( Fishbone diagram )
เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ - [ 3rd tools for analysis and take action ]
หรือบางคนจะเรียกมันว่า WHY WHY analysis นั่นเอง
แต่จะให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ได้ประสิทธิผลที่ดี !! ทำอย่างไร มาดูกันเลย 😀
โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้น เมื่อเกิดปัญหา เรามักจะหมกมุ่น สาระวน อยู่ในสมองและความคิดของเรา ทำให้ส่งผลไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงๆได้ !!
สิ่งที่ตามมา คือการหาทางแก้ปัญหาไม่ได้ หรือ การแก้ปัญหานั้นผิดทางไป
ดังนั้น Mr. Ichikawa ( อิชิกาวา ) จึงได้หาเครื่องมือในการแก้ปัญหานี้โดยสร้างเป็นแผนภูมิก้างปลา ออกมานั่นเอง
เพราะยิ่งเขียนออกมา ยิ่งเข้าใจสาเหตุของปัญหาและเชื่อมโยงกันได้แจ่มชัดขึ้น
โดยโครงสร้างของแผนภูมิก้างปลา ก็ต้องเริ่มที่หัวปลา
ซึ่งจะเป็นการเอาปัญหามาใส่ที่หัวปลาด้านขวา เช่น
.
.
สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด
cr : http://elearning.psru.ac.th/courses/63/lesson1478.html
จากนั้น สาเหตุมาจากปัจจัยอะไรได้บ้างหละ ??
.
.
จึงกำหนดปัจจัยหลักไว้ 4 ตัว ที่เรียกว่า 4M ประกอบด้วย
1. Man - พนักงาน
2. Machine และ หรือ Equipment - เครื่องมือ เครื่องจักร
3. Method - วิธีการทำงาน
4. Material - วัถตุดิบที่นำมาใช้ผลิต/บริการ
และอย่างไรก็ตาม จะกำหนดหัวข้อหลักอื่นๆ ก็ได้นะครับ เช่น ▪ Environment - ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
▪ Money - ปัจจัยการทางเงิน
เป็นต้น
เอาหละ เมื่อมีหัวปลา และ ปัจจัยหลักแล้ว
ที่นี้ความยากคือ จะมีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ??
ขอแบ่งวิธีการในการแจกแจงสาเหตุ ออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Direct break through
2. Post-it message
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪
1. Direct break through
เป็นการตั้งคำถามแบบเจาะไปทีละปัจจัย เช่น
จากหัวข้อ : สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด
ปัจจัยด้าน : เครื่องจักร
.
.
การตั้งคำถามให้สอดคล้องกับปัจจัยนี้ คือ
" ทำไมเครื่องจักรจึงทำให้สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด ? "
》》คำตอบคือ มีการจับยึดไม่ดี ( ไม่แน่น )
เอาหละเอาได้มา 1 สาเหตุย่อยหละ !!
แต่มันยังไม่พอ มีสาเหตุย่อยลงไปอีกไหม ก็จะถามต่อไปว่า
.
.
" ทำไม มีการจับยึดไม่ดี ? "
》》 คำตอบคือ อุปกรณ์จับยึดมีการสึกหรอ.
.
.
มาถึงตรงนี้ สมมติว่า มันเพียงพอต่อการวิเคราะห์สาเหตุ
เพื่อให้เกิดการแก้ไข เช่น ทำระบบซ่อมบำรุงในการวัดการสึกหรอของอุปกรณ์เพื่อทำการเปลี่ยนตามรอบเวลา เป็นต้น
เราก็ทำลูป แบบนี้ไปกับปัจจัยอื่นๆ จนมากพอจะครอบคลุมปัญหานี้ และเลือกสาเหตุมาดำเนินการแก้ไข
( ไม่จำเป็นว่าทุกสาเหตุที่กำหนดขึ้นมา จะต้องได้รับการแก้ไขทุกเรื่องนะครับ .... ขึ้นอยุ่กับผลกระทบที่รุนแรงมากน้อย และหรือเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งๆแต่ไม่ได้มีผลโดยตรง )
2. Post-it message
เป็นการนึกขึ้นมาลอยๆ ว่ามีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดปัญหา แล้วเขียนไว้เป็นข้อๆ ซึ่งอาจจะเขียนไว้ในกระดาษโพสอิท แล้วค่อยเอามาร้อยเรียงต่อเป็น เหตุและผลกันและกัน เช่น
จากหัวข้อ : สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด
เอ๊ะ 🔥🔥มันเกิดจากอะไรได้บ้างไหมหนอ ??.
.
.
▪ อุปกรณ์สึก
▪ พนักงานไม่ทำตามมาตรฐาน
▪ ชิ้นงานสั้นเกินไป
▪ กำหนดการตั้งค่า tolerance เครื่องจักรที่กว้างไป
▪ หัวกัดงาน ( tip tool ) มีความแข็งไม่พอ
▪ เครื่องจับยึดไม่ดี
▪ เป็นต้น
จากนั้นนำมาเชื่อมโยงตามแต่ปัจจัย และความสัมพันธ์กันและกัน ได้เป็น
▪ อุปกรณ์สึก - - Machine
▪ พนักงานไม่ทำตามมาตรฐาน - - Man
▪ ชิ้นงานสั้นเกินไป - - Material
▪ การตั้งค่า tolerance เครื่องจักรที่กว้างไป - - Method
▪ หัวกัดงาน ( tip tool ) มีความแข็งไม่พอ - - Material
▪ เครื่องจับยึดไม่ดี - - Machine
▪ ไม่ชำนาญการทำงาน - - Man
และนำเชื่อมความสัมพันธ์ เช่น
ปัจจัยด้าน Man 》》
สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด เพราะ
พนักงานไม่ทำตามมาตรฐาน เพราะ
ไม่ชำนาญการทำงาน ( ทำตามความถนัด )
เป็นต้น หรือ
ปัจจัยด้าน Machine 》》
สินค้ามีความยาวไม่ได้ขนาด เพราะ
เครื่องจับยึดไม่ดี เพราะ
อุปกรณ์สึก
ก็วนลูป แบบนี้ ไปจนหมดทุกหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ ก็จะได้แผนภูมิก้างปลาออกมาได้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิก้างปลาแล้ว ทำการเลือกหัวข้อที่น่าจะเป็นสาเหตุจริงๆ ไปดำเนินการทดลองพิสูจน์ แล้วทำการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป .....
( ติดตามตอนอื่นๆได้ใน ซีรีย์ : 7 tools for data analysis )
🔊
ถ้าเนื้อหานี้มีประโยชน์ ขอกำลังใจ LIKE COMMENT SHARE เพื่อสร้างเนื้อหาดีๆ ต่อไปครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา