15 มี.ค. 2020 เวลา 02:22 • ธุรกิจ
แผนผังการกระจายตัว หรือ scatter diagram จะมีประโยชน์กับเราอย่างไร?
scatter diagram
แผนผังการกระจายตัว ( SD) เป็นเครื่องมือในการใช้วิเคราะห์ตัวแปร 2 ตัว ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
มาดูตัวอย่างกันง่ายๆสัก 1 เรื่อง เช่น
น้ำหนักตัวของเรามีความสัมพันธ์กับปริมาณการทานข้าว ( แป้ง) ในแต่ละวันหรือไม่
จากการเก็บข้อมูล ตามตัวอย่างในรูป
จะพบว่าเมื่อปริมาณการทานข้าวที่เยอะขึ้นจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญ
น้ำหนักตัว เทียบกับ ปริมาณข้าว
แต่ถ้าเราเจาะจงว่า ในการทานในแต่ละวันนั้นๆ
(ที่มีทั้งแป้ง และโปรตีน)
เทียบระหว่าง น้ำหนักตัวกับโปรตีน ( ไม่รวมแป้งจากข้าว ) ที่ทาน จะมีความสัมพันธ์อย่างไร
น้ำหนักตัว เทียบกับเฉพาะ โปรตีนที่ทาน
จะพบว่า น้ำหนักตัวกับโปรตีน แทบไม่มีนัยยะสัมพันธ์
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การที่น้ำหนักตัวของเรามากขึ้นมาจากปัจจัยของการทานแป้ง ( ข้าว ) เป็นส่วนสำคัญ ส่วนโปรตีนนั้นมีผลต่อน้ำหนักตัวของเราไม่มาก
ก็น่าจะพอเห็นภาพของการใช้แผนผังการกระจายตัว ว่ามีประโยชน์อย่างไร เพื่อจะได้ควบคุมตัวแปรนั้นๆ
ทีนี้เราจะเอา SD ไปใช้ในการทำงานได้อย่างไรบ้าง...
แต่ก่อนจะอธิบายต่อไปนั้น
สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ไว้เพิ่มเติม คือ
การจะหาความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรนั้น เราจำเป็นต้องกำหนดตัวแปรอื่นๆที่น่าจะเกี่ยวข้องให้คงที่ เช่น
จากตัวอย่างข้างต้น น้ำหนักตัวกับปริมาณการทานอาหาร นั้น อาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่จะกระทบต่อน้ำหนักตัว เช่น การออกำลังกาย, ความเครียด เป็นต้น ตัวแปรเหล่านี้จะต้องมีการควบคุมให้คงที่ในทุกๆการทดลอง ไม่ฉะนั้นจะมีผลน้ำหนักตัว เป็นต้น
ทีนี้มาดูตัวอย่างอีกสัก 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกันบ้าง เช่น
ความแข็งของชิ้นงานมีปัจจัยมาจากอุณหภูมิของที่สูง ( แต่ไม่หลุดมาตรฐาน )
ความแข็งของชิ้นงาน กับ อุณหภูมิ ที่ ความหนา 15 mm
จากรูปพบว่า เมื่อทำการทดลองจะพบว่า อุณหภูมิที่สูง จะไม่มีผลต่อความแข็งของชิ้นงาน
.
.
แต่ถ้าประกอบกับ ความหนาของชิ้นงานที่บาง ด้วย ( ไม่หลุดมาตรฐาน ) ความแข็งจะมีโอกาสหลุดเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้
1
ความแข็งของชิ้นงาน กับ อุณหภูมิ ที่ ความหนา 10 mm
ซึ่งในการทดลองนี้เราจะได้แผนผังการกระจายตัวมาหลายตัว ที่แสดงให้เห็นว่า
เมื่อปรับความหนาด้วย จะยิ่งทำให้ความแข็งมากขึ้น และหลุดมาตรฐาน
** ที่ความหนา 10 mm เมื่อเพิ่มอุณหภูมิไป จะทำให้ความแข็งเพิ่มขึ้น และจะส่งผลทำให้หลุดมาตรฐานได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ประกอบกับความหนาชิ้นงานที่ลดลง จะส่งผลทำให้ ความแข็งชิ้นงานเพิ่มขึ้นจนเกินมาตรฐาน ( ทั้งๆที่ อุณหภูมิ และ ความหนา ไม่ได้หลุดมาตรฐาน )
เป็นต้น
และนี่ก็เป็นประโยชน์และการใช้แผนผังการกระจายตัว... สามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานกันได้นะครัช 😀
( ติดตามตอนอื่นๆได้ใน ซีรีย์ : 7 tools for data analysis )
🔊
ถ้าเนื้อหานี้มีประโยชน์ ขอกำลังใจ LIKE COMMENT SHARE เพื่อสร้างเนื้อหาดีๆ ต่อไปครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา