26 ก.ย. 2019 เวลา 15:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โลกร้อนจริงไหม. . .???
โลกจะอาศัยได้อีกนานแค่ไหน. . .???
มนุษย์เป็นสาเหตุรึเปล่า. . .???
มาหาคำตอบกัน. . .😉😁
ไม่ต้องดราม่ากันหรอกนะว่าน้อง "เกรต้า" เธอก้าวร้าวเกินวัยหรือเปล่า 😔
เพราะองค์การอวกาศยุโรป (ESA) กำลังจะให้คำตอบว่าโลกเราร้อนจริงหรือไม่ 😉
Cr: vjanez/iStock
หลายคนคงจะเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่าสภาพอากาศมันเริ่มแปรปรวนผิดปกติในรอบสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะน้ำท่วมใหญ่ อากาศหนาวเดือนเมษา
มาวันนี้เราควรจะได้รู้กันแล้วว่าโลกเรากำลังป่วยจริงหรือเปล่า ควรจะต้องมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้เพื่อมาประกอบการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับทั้งโลก ย้ำ ว่าทั้งโลก!!
และล่าสุด European Space Agency (ESA) หรือองค์การอวกาศยุโรปได้ประกาศโครงการ Far-infrared Outgoing Radiation Understanding and Monitoring mission, หรือ FORUM
ซึ่งเป็นโครงการเพื่อทำความเข้าใจและติดตามตรวจวัด การแผ่รังสีความร้อนกลับสู่อวกาศของโลก
ก่อนจะพูดต่อ มาทำความรู้จัก Earth's radiation budget กันก่อน
พลังแสงอาทิตย์ส่องเข้าหาโลก บ้างสะท้อน บ้างกระเจิง ส่วนหนึ่งลงถึงผิวโลก Cr: NASA/Goddard Space Flight Center Scientific Visualization Studio
มันคือ การคำนวนสมดุลย์พลังงานระหว่างส่วนที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์กับส่วนที่โลกสะท้อนคืนกลับสู่อวกาศในรูปของรังสีความร้อน
เมื่อวัตถุต่าง ๆ ได้รับพลังงานและร้อนขึ้นจะแผ่รังสีความร้อนกลับสู่อวกาศ Cr: NASA/Goddard Space Flight Center Scientific Visualization Studio
ซึ่ง Forum จะเพิ่มความสามารถในการตรวจจับค่าคลื่นรังสีความร้อนที่โลกสะท้อนกลับ เพื่อใช้หาค่า Earth's radiation budget ที่แม่นยำขึ้น
แล้วเราจะได้รู้ว่าโลกอมความร้อนเอาไว้มากกว่าที่ได้รับมาหรือไม่
ด้วยการสแกนโลกด้วยกล้องอินฟราเรด ก็จะรู้ได้ว่าโลกเราสะท้อนความร้อนกลับออกไปเท่าใด, Cr: NASA/Goddard Space Flight Center Scientific Visualization Studio
ซึ่งถ้าโลกเรากำลังเข้าสู่สภาวะเรือนกระจกจริง Earth's radiation budget ย่อมต้องแสดงค่าว่าความร้อนสะท้อนกลับน้อยกว่าที่ได้รับมา
โดยความร้อนส่วนเกินนี้จะสะสมในบรรยากาศและทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ
** FORUM วัดอะไร และจะบอกอะไรเรา?? **
โลกเรานั้นได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มาขับเคลื่อนภูมิอากาศโลก
ซึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่พุ่งเข้าสู่โลกบ้างก็สะท้อน บ้างกระเจิงออก บางส่วนบรรยากาศโลกและผืนดินกับทะเลซึบซับเอาไว้
พลังงานส่วนใหญ่เข้าสู่โลกในช่วงคลื่นแสงที่เรามองเห็น แต่ส่วนที่สะท้อนกลับออกไปนั้นเป็นคลื่นความร้อน หรือคลื่นอินฟราเรด
ซึ่งการสะท้อนกลับของพื้นผิวต่าง ๆ จะมีลักษณะคลื่นเฉพาะตัว เช่นผืนมหาสมุทรจะแผ่ความร้อนกลับในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 20 ไมครอน
แต่ก้อนเมฆนั้นสะท้อนกลับไปที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 15 ไมครอน
ส่วนละอองเกร็ดน้ำแข็งในบรรยากาศนั้นสะท้อนกลับไปที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 9 ไมครอน
ปัจจุบันระบบการตรวจจับที่มีอยู่สามารถวัดได้ที่ช่วงความยาวคลื่น 4-15 ไมครอน แต่ FORUM จะเพิ่มการตรวจวัดไปได้กว้างถึง 100 ไมครอน
ซึ่งจะช่วยในการติดตามและตรวจวัดปริมาณส่วนผสมบรรยากาศที่สนใจ อันได้แก่ ปริการก๊าซเรือนกระจก ไอ้น้ำ ปริมาณเมฆ
และการเลือกดูในแต่ละช่วงคลื่น ยังสามารถเป็นการแยกการติดตาม โดยจำแนกตามความสูงชั้นบรรยากาศได้ด้วย
อย่างเช่นหากกรองเอาเฉพาะช่วงความยาวคลื่น 15 ไมครอน จะแสดงอุณหภูมิบรรยากาศในชั้นสตาโตรสเฟียร์ส
แต่ถ้าเลือกที่ 17.7 ไมครอน จะกลายเป็นการมองลงมาถึงพื้นน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ (วัดการสะท้อนความร้อนกลับของแผ่นน้ำแข็ง)
ส่วนคลื่นความร้อนที่ 40 ไมครอนจะขึ้นอยู่กับปริมาณไอน้ำในบรรยากาศชั้นสตาโตรสเฟียร์ส (วัดค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ)
Forum จะทำให้เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกในแง่มุมที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้เราสามารถประเมิน Earth's radiation budget ได้อย่างแม่นยำขึ้น ว่ามันเสียสมดุลย์หรือไม่
Cr: Twitter/ESA
หรือสามารถใช้ติดตาม สภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก อย่างเช่นภาพบนก็แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของไฟป่าที่อเมซอน ในช่วงที่ผ่านมา
แล้วเราจะได้รู้ว่า "โลกร้อน" นั้นเป็นแค่การมโน หรือเรากำลังเผชิญหายนะกันจริง ๆ 😎
แต่ทั้งนี้โครงการ FORUM ยังคงต้องใช้เวลาเตรียมการอีกพักใหญ่ โดยคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในปี 2026 ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าต้องใช้ดาวเทียมในโครงการกี่ดวง
เครดิตรูปที่เหลือ: Cap จาก ESA youtube/FORUM
โฆษณา