Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
3 ต.ค. 2019 เวลา 05:01 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็มฉบับสมบูรณ์ (針灸學) ภาคทฤษฎี
บทที่ 4
ปรัชญาอวัยวะภายในกับการวินิจฉัยโรค
ปรัชญาของอวัยวะอินและหยางเป็นปรัชญาการแพทย์ที่เกิดจากการศึกษาในทางชีวภาพ กายภาพ และพยาธิสภาพของร่างกาย
โดยลักษณะอาการและการทำงานต่าง ๆ ของอวัยวะจะสะท้อนไปที่ภายนอกของร่างกาย ดังนั้นแพทย์จีนจึงสามารถดูลักษณะภายนอกของร่างกายแล้วนำไปสู่การวินิจฉัยอาการของอวัยวะภายในได้
ทั้งนี้ เนื่องด้วยอวัยวะภายในมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเคลื่อนไหวของอวัยวะจึงทำให้เกิดเป็นคลื่นที่ส่งผ่านตัวกลางต่าง ๆ เช่น ส่งผ่านกระดูก เส้นเอ็น เส้นผม เส้นเลือด เป็นต้น แต่ตัวกลางที่คลื่นจะสามารถส่งผ่านได้ดีที่สุดก็คือโลหิต โลหิตที่ได้รับกระแสคลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะก็จะสั่นสะเทือนไปตามเส้นโลหิตอย่างเป็นจังหวะเฉพาะ ดังนั้นแพทย์จีนจึงใช้วิธีการจับชีพจรเพื่อสังเกตดูลักษณะการสั่นของคลื่นที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน
ในยามที่อวัยวะภายในปกติ อวัยวะก็จะมีการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง แต่ยามที่อวัยวะภายในไม่ปกติ อวัยวะก็จะมีการเคลื่อนไหวอีกแบบหนึ่ง และการเคลื่อนไหวที่แตกต่างก็ย่อมจะสร้างเป็นกระแสคลื่นที่แตกต่าง และกระแสคลื่นเหล่านี้ก็จะส่งผ่านไปตามตัวกลางต่าง ๆ เช่นโลหิต เป็นต้น
โลหิตที่ได้รับกระแสคลื่นเหล่านี้ก็จะส่งผ่านไปตามเส้นโลหิต และสุดท้ายจึงสะท้อนออกเป็นจังหวะการเต้นของชีพจร แพทย์ผู้ชาญฉลาดจึงพบว่า ยามที่ร่างกายป่วยด้วยโรคอย่างนี้ การเต้นของชีพจรที่เกิดจากคลื่นที่ส่งออกมาจากอวัยวะภายในก็จะเต้นแบบนี้ เมื่อทำการสังเกตจนมั่นใจแล้วก็จะทำการจดจำและบันทึก สุดท้ายจึงกลายเป็นศาสตร์แห่งการวินิจฉัยโรคที่มีความแม่นยำโดยไม่จำเป็นต้องเปิดช่องร่างกาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ เพียงแค่มือเปล่าและประสบการณ์ก็จะสามารถทราบอาการของร่างกายได้แล้ว
จึงสรุปได้ว่า ปรัชญาของอวัยวะอินและอวัยวะหยางนั้นเกิดจากการสังเกตและสั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลานาน โดยมีพื้นฐานจากการสังเกตในสามด้านด้วยกันคือ
หนึ่ง สังเกตในทางกายภาพ เช่นอวัยวะภายในมีรูปร่างลักษณะเป็นแบบกลวงหรือแบบตันเป็นต้น
สอง สังเกตในทางชีวภาพและพยาธิสภาพ เช่น เมื่อร่างกายได้รับความเย็นและเป็นหวัด ร่างกายก็จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล กลัวหนาว ตัวร้อน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้แพทย์จีนพบว่า ผิวหนัง จมูก และปอดมีความเกี่ยวพันกัน เป็นต้น
สาม สังเกตจากประสบการณ์การรักษาทางคลินิก เช่น ใช้วิธีการบำรุงไตจะมีส่วนช่วยในการรักษาอาการกระดูกหักให้สมานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงรู้ได้ว่าไตมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระดูก เป็นต้น
4 บันทึก
8
2
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
4
8
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย