7 ต.ค. 2019 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
“สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) มหาสงครามพลิกโลก” ตอนที่ 3
สงครามที่แผ่กว้างไปทั่วโลก
สงครามไม่ได้จบภายในคริสมาสต์ตามที่ทุกฝ่ายคาดหวัง แต่ในวันคริสมาสต์ 25 ธันวาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ก็ได้เกิดเหตุการณ์น่าประทับใจในแนวรบด้านตะวันตก
ทหารอังกฤษและทหารเยอรมันต่างหยุดรบเพื่อมาฉลองคริสมาสต์ด้วยกัน โดยทั้งสองฝ่ายต่างเตะฟุตบอล ร้องเพลง และแลกเปลี่ยนของขวัญกันอย่างสนุกสนาน
เหตุการณ์นี้ผมเคยเขียนลงไว้อยู่ ลองอ่านดูได้ตามลิ้งค์นี้เลยครับ
ต่อมาไม่นาน ชาติอื่นๆ ต่างก็เข้าร่วมในสงครามด้วย และแต่ละชาติก็หวังจะได้ดินแดนใหม่ๆ จากการเข้าร่วมสงคราม
ตุลาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ตุรกีเข้าร่วมกับมหาอำนาจกลาง
ในเวลานั้น ชนชาติตุรกีได้ปกครองอาณาจักรที่กำลังทรุดโทรม และ “แอนแวร์ พาชา (Enver Pasha)” ผู้นำของอาณาจักรออตโตมันก็ได้วางแผนจะทำให้อาณาจักรนี้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
แอนแวร์ พาชา (Enver Pasha)
ในขณะที่พาชากำลังฝันถึงวันที่ตุรกีจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง สหราชอาณาจักรก็กำลังเป็นกังวล
ซัพพลายเออร์หลักที่ทำหน้าที่ส่งน้ำมันให้กองทัพเรือสหราชอาณาจักรคือเปอร์เซียใต้ และเปอร์เซียใต้ก็อยู่ใกล้กับอาณาจักรของตุรกี
สหราชอาณาจักรรีบส่งทหารจากอินเดีย (ในเวลานั้นอินเดียเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร) ไปคุ้มกันเปอร์เซียทันที
แต่พาชานั้นให้ความสนใจในรัสเซียมากกว่าเปอร์เซียใต้ เขาส่งกองทัพบุกไปทางเหนือพร้อมความหวังว่าจะได้ดินแดนผืนใหญ่มาประดับตุรกี
แต่ดูเหมือนพาชาจะลืมคิดไปว่าฤดูหนาวของรัสเซียนั้นโหดร้ายจริงๆ ทัพตุรกีต้องเดินทัพฝ่าอากาศหนาว และแน่นอน กองทัพตุรกีนั้นแพ้ให้แก่กองทัพรัสเซีย
5
พาชานั้นทั้งโมโหทั้งเสียหน้า เขาต้องหาที่ระบายความโกรธ และหวยก็ไปออกที่ “ชาวอาร์เมเนีย”
ชาวอาร์เมเนียเป็นคนในบังคับของตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์ ไม่ใช่มุสลิม และชาวอาร์เมเนียบางส่วนก็ได้ให้การสนับสนุนรัสเซีย ซึ่งพาชาใช้ข้อนี้เป็นข้ออ้างในการลงโทษชาวอาร์เมเนีย
1
พาชาสั่งให้ทหารทำการจับกุมชาวอาร์เมเนียทั้งหมด รวมทั้งเด็กและผู้หญิง และส่งชาวอาร์เมเนียเข้าค่ายกักกันและบังคับให้ทำงานจนเสียชีวิต และก็มีบางส่วนถูกทหารตุรกียิงตาย
3
มีชาวอาร์เมเนียที่ต้องเสียชีวิตจากความโกรธเกรี้ยวของพาชากว่า 800,000 คน
3
ย้อนกลับมาฝั่งสหราชอาณาจักร “วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill)” นักการเมืองอังกฤษที่ในเวลานั้นเป็นผู้รับผิดชอบกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ได้คิดแผนการที่จะเอาชนะตุรกี
วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill)
เชอร์ชิลล์วางแผนเข้ายึดคาบสมุทรกัลลิโพลีในตุรกี ก่อนที่จะมุ่งโจมตีคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) เมืองใหญ่ของตุรกี
คาบสมุทรกัลลิโพลี
เมษายน ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) กองทัพสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็ได้โจมตีคาบสมุทรกัลลิโพลี
1
แต่คาบสมุทรกัลลิโพลีนี้ก็ได้รับการป้องกันอย่างดีจนกองทัพสัมพันธมิตรไม่สามารถทำอะไรได้เลย
3
การรบที่คาบสมุทรกัลลิโพลีดำเนินไปเป็นเวลาแรมเดือน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า สภาพในตอนนั้นก็แย่มาก ในฤดูร้อนก็ร้อนจัดและทำให้ทหารล้มป่วย ส่วนในฤดูหนาวก็ทรมานและยิ่งทำให้ทหารจำนวนมากล้มป่วยหนักกว่าเดิม
ในที่สุด ธันวาคม ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) กองทัพสัมพันธมิตรก็ได้ยอมแพ้
1
และในเดือนธันวาคม ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) นี้เอง กองทัพตุรกีได้ทำการปิดล้อมกองทัพสหราชอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศอิรักในปัจจุบัน
กองทัพสหราชอาณาจักรต้องยอมแพ้ในปีต่อมาซึ่งเป็นความอับอายครั้งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตร
1
ในขณะที่กองทัพสหราชอาณาจักรกำลังรบกับกองทัพตุรกีในตะวันออกกลางอยู่นั้น สงครามก็ได้แผ่วงกว้างไปทั่วโลก
อิตาลีได้หันมาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้โจมตีจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซึ่งอยู่อีกฝากของเทือกเขาแอลป์
1
ส่วนทางฝั่งน่านฟ้าเหนือแนวรบด้านตะวันตก เครื่องบินรบต่างก็สู้รบกันด้วยปืนกลประจำเครื่อง
ประเทศต่อไปที่ต้องพูดถึงคือญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) และประกาศสงครามต่อเยอรมนี
ญี่ปุ่นสามารถยึดฐานทัพเรือของเยอรมันซึ่งตั้งอยู่ในเมืองชิงเต่าในประเทศจีนได้ และเมื่อไม่มีฐานทัพเรือ เรือของเยอรมนีจึงต้องเร่ร่อนไปตามน่านน้ำและหาโอกาสโจมตีเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร
ปัญหาของกองทัพเรือเยอรมันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เรือของสหราชอาณาจักรได้ทำการลาดตระเวนทะเลเหนือ คอยกันไม่ให้เรือเสบียงของเยอรมนีเข้าไปในเยอรมนี รวมทั้งป้องกันไม่ให้เรือรบของเยอรมนีออกมาจากประเทศได้
ในทะเลเหนือรวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก เรือรบของฝ่ายเยอรมนีสามารถจมเรือของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าก็จริง แต่เยอรมนีเองก็เริ่มจะกระสุนหมดและต้องถอยทัพ
แต่เยอรมนีก็ยังมีความหวังอยู่บ้าง นั่นคือ “เรือดำน้ำ”
1
เรือดำน้ำเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1
เยอรมนีได้ใช้เรือดำน้ำโจมตีเรือเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตร
7 พฤษภาคม ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เรือดำน้ำเยอรมันได้โจมตีและจมเรือเดินสมุทร “อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania)” ทำให้ผู้โดยสารจำนวน 1,198 คนเสียชีวิตและสร้างความโกรธแค้นให้คนทั่วโลก
ภาพวาดขณะเรืออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนียกำลังจม
ในบรรดาผู้เสียชีวิต 1,198 คน มีชาวอเมริกันอยู่ 128 คน
ชาวอเมริกันจำนวนมากโกรธแค้นและเรียกร้องให้ประธานาธิบดี “วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)” ประกาศสงครามต่อเยอรมนี
2
วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)
ดูเหมือนการโจมตีเรืออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนียนั้นจะเป็นการเดินเกมที่พลาดและอันตรายสำหรับฝั่งเยอรมนี หากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงคราม สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนไปอย่างมากทีเดียว ซึ่งในส่วนของสหรัฐอเมริกา ผมจะมาเล่าต่อในช่วงหลังนะครับ
ตอนต่อไป ฝั่งยุโรปจะเกิดอะไรขึ้นต่อ สถานการณ์ของสงครามเป็นอย่างไร สหรัฐอเมริกาจะตัดสินใจอย่างไรต่อ ติดตามต่อในตอนหน้านะครับ
โฆษณา