19 ต.ค. 2019 เวลา 12:09 • ธุรกิจ
ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เปิดประตูสู่อินเดีย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางจีนประกาศตัวเลข GDP รายไตรมาส เติบโตน้อยที่สุด ในรอบกว่า 30 ปี โดยได้รับผลกระทบจากทั้งสงครามการค้าและเรื่องโรคอหิวาต์ระบาดในหมู ทำให้หลายสำนักมองว่าเศรษฐกิจจีนอาจแย่ลงกว่านี้ ดังนั้นการที่ไทยจะหวังพึ่งจีนทั้งการส่งออกสินค้าไปจีน และการท่องเที่ยว ก็คงไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก
ซึ่งหากไม่นับจีน หลายๆ ท่านน่าจะทราบว่าประเทศที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในตอนนี้ ก็คือ ประเทศอินเดีย รวมไปถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย
ทางไทย ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ นะ มีการวางแผนรองรับการขยายตลาดในจุดนี้เอาไว้ด้วย
ซีรีส์ใหม่ของเพจ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” เราเลยจะพาเพื่อนๆ ไปเตรียมความพร้อมในการค้าขายกับประเทศเหล่านี้กันหน่อย
โดยตอนนี้ ขอเล่าถึงแผนการของไทย ที่จะเปิดประตูสู่อินเดียและภูมิภาคเอเชียใต้ นั่นก็คือ “ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้” (Southern Economic Corridor) หรือ SEC
ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC คืออะไร??
ถ้าจะว่ากันตามหลักภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศใดก็ตามที่มีทางออกทางทะเลทั้ง 2 ฝั่งของประเทศ ถือว่ามีชัยภูมิที่ยอดเยี่ยมมาก ตัวอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออกทะเลได้ทั้งฝั่ง แปซิฟิก (มาเอเชีย) และฝั่งแอตแลนติก (ไปยุโรป) สำหรับประเทศไทยเอง ก็ต้องบอกว่าบริเวณภาคใต้ของไทยนี่หล่ะ ที่มีทางออกทะเล ทั่งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
โดยแผน SEC ก็คือการพัฒนา 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และการเกษตรได้แก่ น้ำมันปาล์มและยางพารา รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร
SEC Cr. สภาพัฒน์ฯ
หากคิดภาพ ชุมพร คือ แหล่งผลไม้และท่องเที่ยว
ระนอง คือ ท่าเรือสู่พม่า อินเดีย ลังกา บังคลาเทศ
สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช คือ พื้นที่เกษตรที่จะเป็นแหล่งผลิตและแปรรูป
กรอบการพัฒนา 4 ด้าน
1)  การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway)
โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนองและรถไฟรางคู่ชุมพร-ระนอง เพื่อเป็น "Land Bridge" เชื่อมโยง เปิดประตูไปสู่ประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆในกลุ่มเอเชียใต้  ถึงแม้ปัจจุบันยังเป็นตลาดที่ยังไม่ใหญ่มากนัก สำหรับสินค้าส่งออกไทย แต่เติบโตได้อย่างโดดเด่น โดยใน ปี 2561 มูลค่าการส่งออกจากไทยไปอินเดียอยู่ที่ 7,600 ล้านดอลลาร์ หรือ 1 ใน 4 ของตลาดจีน แต่ขยายตัวถึง 17.3% ต่อเนื่องจากปี 2560 ที่เติบโตมากถึง 25.6% เทียบกับส่งออกไปจีนที่ขยายตัวเพียง 2.3%
แลนด์บริดจ์ เชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน Cr. ฐานเศรษฐกิจ
2) การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน (Royal Coast and Andaman Road)
เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-เมียนมา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำแห่งใหม่รองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเทียบเรือสำราญ และการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว โครงการที่ดูจะสร้างความฮือฮา ก็คือ พัฒนาถนนเลียบชายฝั่งอ่าวไทย หรือ "Thailand Rivera"
เส้นทาง เลียบชายฝั่งทะเล Cr.Bangkok Post
Riviera ประเทศฝรั่งเศส Cr.TheItalianhost
3) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมฐาน ชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง (Bio-Based and Processed Agricultural Products)
โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ยางพารา อาหารทะเล และพืซเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ
4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมวัฒนธรรมและพัฒนาเมืองน่าอยู่ (Green, Culture, Smart, and Livable Cities)
มีโครงการสำคัญเช่น โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก และนโยบาย ประเทศไทย 4.0 เมืองอัจฉริยะ
ป่าชายเลนระนอง สู่มรดกโลก น่าไปเที่ยวมากๆ เขียวสดชื่นจริงๆ FB ป่าชายเลนระนอง
ทั้งนี้ในรายงานการศึกษาของ สภาพัฒน์ฯ ก็มีวิเคราะห์ว่า หากเรามีท่าเรือน้ำลึกระนอง จะช่วยส่งสินค้าไปเอเชียใต้ได้เร็วขึ้น อย่างไรบ้าง ไปดูตารางกันเลย
ไทยไปอินเดีย
ไทยไปบังคลาเทศ
ไทยไปศรีลังกา
จริงๆแล้วโครงการลักษณะนี้มีแนวคิดมาตั้งแต่ ปี 2525 ตอนนั้นใช้ชื่อว่า "โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้" หรือ Southern Seaboard Development Program หรือ SSB แต่ถ้าคิดภาพประเทศอินเดียเพิ่งปฏิรูปเศรษฐกิจเมื่อปี 2534 ดังนั้นโครงการแบบนี้เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว อาจไม่เหมาะเท่าไหร่ แต่มาถึงปัจจุบัน อินเดียถือว่าเป็นประเทศที่น่าติดตามมากๆ โครงการนี้อาจเกิดขึ้นจริงก็เป็นได้
แต่ก็ในระหว่างรอ SEC เสร็จดังฝัน เราก็คงต้องส่งออกสินค้าไปอินเดียด้วยเครื่องบินกันไปก่อน ได้ข่าวลำไยไทยที่อินเดีย กิโลกรัมละ 300 บาท...
ลำไยหนึ่งในผลไม้ที่ชาวอินเดียชอบ Cr. เทคโนโลยีชาวบ้าน
ที่มา: รายงาน SEC สภาพัฒน์ฯ, ผู้จัดการออนไลน์
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด "ติดดาว" ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และสำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เชิญพูดคุยแลกเปลี่ยน ความรู้ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา