20 ต.ค. 2019 เวลา 12:49 • ความคิดเห็น
ระนอง ระยอง ยะลา
จังหวัดใดในประเทศไทย มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ??
.
.
.
.
.
.
.
คำตอบ ก็คือ จังหวัดระยอง โดยในปี 2560 จังหวัดระยองมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงถึง 1,095,667 บาทต่อคน ในขณะที่ชลบุรีอยู่ลำดับที่ 2 ตามมาที่ 581,475 บาทต่อคน และกรุงเทพฯ ตามมาติดๆ ที่ลำดับ 3 นอกจากนี้ระยองยังมีรายได้มวลรวมสูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากกรุงเทพฯ
เราไปย้อนดูกันว่า ระยอง มาอยู่ที่ 1 ได้ยังไง?และ ระนอง กับ ยะลา อีก 2 จังหวัด ที่พอเรียกชื่อรวมกัน 3 จังหวัด แล้วลิ้นพันกันเรียกยากมาก จะมาเกี่ยวกับบทความนี้อย่างไร??
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
"โชติช่วงชัชวาล"
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2524 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไปทำพิธีเปิดวาล์วท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่สถานีส่งก๊าซจังหวัดระยอง โดยเหตุการณ์ที่ป๋าเปรม หมุนวาล์วในวันนั้น ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ในการพึ่งพาพลังงานด้วยตนเองของคนไทย นำมาสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจมาจนถึงทุกวันนี้
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี  เป็นผู้หมุนเปิดวาล์วส่งท่อก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก Cr.Kapook.com
"นับจากนี้ไป ประเทศไทย จะพัฒนาก้าวหน้า และโชติช่วงชัชวาล"
"โชติช่วงชัชวาล" นั้น ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการที่ไทยชุดก๊าซธรรมชาติขึ้นมาเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันต่างประเทศ แต่ยังหมายถึงการพึ่งพาพลังงานด้วยตนเอง ซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ โครงการ Eastern Seaboard ที่มีการลงทุนทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงงานอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจากต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ที่จังหวัดชลบุรี และระยอง ทำให้ความเจริญกระจายไปที่บริเวณนั้น
ผ่านมาเกือบ 40 ปี ในแง่ตัวเลขรายได้ประชากรต่อหัวของทั้งสองจังหวัด (ระยองและชลบุรี) ถือว่า สูงที่สุดในประเทศ แต่ก็อาจมีคำถามตามมาเรื่องการกระจายรายได้ นอกจากภาคอุตสาหกรรม และคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อม
ท่าเรือน้ำลึกระนอง ประตูสู่เอเชียใต้
จังหวัดระนองเป็นจังหวัดเล็กๆ ในภาคใต้ มีประชากรเพียง 191,868 คน (ลำดับที่ 77 ของไทย) และมีพื้นที่ 3.3 ล้าน  ตร.กม. (ลำดับที่ 59) ปี 2560 ระนองมีรายได้ประชากรต่อหัวเพียง 104,517 บาท/คน หรือ น้อยกว่าระยองเกือบ 10 เท่า!
ด้วยความที่ภูมิประเทศ เป็นแนว ความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีชายแดนติดกับประเทศก็เมียนมา และทะเลอันดามัน ทางรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงวางแผนที่จะสร้างรถไฟเชื่อมชายฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน พร้อมทั้งท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดระนอง เรียกว่า เป็น "แลนด์บริดจ์" (Land Bridge) ทดแทนโครงการขุดคลอง "คอคอดกระ"
แผนการสร้างสถานีรถไฟรางคู่ ชุุมพร-ระนองCr. ประชาชาติธุรกิจ
โครงการเชื่อม ชุมพร-ระนอง จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้า เป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) คือกลุ่มประเทศที่อยู่บริเวณ อ่าวเบงกอล มี 7 ประเทศได้แก่ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน
BIMSTEC Cr. IAS parliament
สำหรับท่าเรือน้ำลึกระนอง เฟส 1 วงเงิน 5,000 ล้านบาท น่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563 แล้วเสร็จปี 2565
ยะลา ใต้สุดแห่งสยาม
จังหวัดยะลา มีประชากรเพียง 532,326 คน (ลำดับที่ 49 ของไทย) และมีพื้นที่ 4.5 ล้าน  ตร.กม. (ลำดับที่ 47)
ยะลาเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวน้อยที่สุดในภาคใต้ โดยปี 2560 มีรายได้ประชากรต่อหัว เพียง 96,867 บาท/คน เป็นลำดับที่ 43 ของประเทศ
(จังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวน้อยที่สุดในประเทศไทยก็คือ หนองบัวลำภู รายได้อยู่ที่ 53,416 บาท/คน/ปี)
โดยในปีหน้านี้สนามบินเบตง ก็จะเปิดให้บริการกันแล้ว คาดว่าจะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากปีละ 600,000 คน เป็น 1,000,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี
1
สนามบินเบตง Cr. MGR online
เศรษฐกิจจังหวัดยะลาเมื่อก่อนพึ่งพายางพารากว่า 70% ปัจจุบันได้มีการสนับสนุนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) ทั้งส้มโชกุนยะลา กล้วยหิน ลองกอง ทุเรียนพวงมณี และเมล็ดกาแฟ ใครสนใจไปทำแบรนดิ้ง แปรรูปส่งออกกันได้
Cr. Thairath
ก็ถือว่าเป็นข้อมูลโดยสังเขป สำหรับจังหวัดที่พอมาเรียงต่อกันแล้วออกเสียงยาก อย่าง "ระนอง ระยอง ยะลา" (ใครอ่านออกเสียง ระนอง ระยอง ยะลา เร็วๆ ไม่ได้ยกมือขึ้น 😆)
ส่วนตัวยังเชื่อว่าประเทศไทยเรายังไปได้ไกลกว่านี้ ซึ่งโครงการลงทุนภาครัฐ ถือเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาทางอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
เกาะหัวใจมรกต ฝั่งพม่า ออกจากระนอง
แต่ที่น่าสนใจ คือ เราจะพัฒนาเมืองโดยกระจายความเจริญให้ทั่วถึงจริงๆ และควบคุมผลกระทบโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ได้อย่างไร?
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด "ติดดาว" ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และสำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เชิญพูดคุยแลกเปลี่ยน ความรู้ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา