4 พ.ย. 2019 เวลา 00:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมดอกทานตะวันถึงหันหน้าไปตามดวงอาทิตย์?
วันหนึ่งผมขับรถไปส่งลูกชายไปโรงเรียน ลูกชายก็ถามคำถามขึ้นมาว่า
ทำไมดอกทานตะวันถึงหันหน้าไปตามดวงอาทิตย์ด้วย?
ก็เลยคิดว่าไหนๆ ก็อ่านหาคำตอบให้ลูกชายแล้ว ก็มาเขียนลงบล็อกไปด้วยเลยแล้วกัน
ดอกทานตะวันที่บานแล้ว
คำถามแรกที่คนอ่านอาจจะสงสัยคือ ดอกทานตะวันหันหน้าไปตามดวงอาทิตย์จริงๆ หรือ?
พฤติกรรมเช่นนี้ของดอกทานตะวันมีการสังเกตเห็นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 โดยดอกทานตะวันตที่ยังไม่บาน จะหันหน้าไปหาพระอาทิตย์ในทิศตะวันออกในตอนเช้า และค่อยๆ หันตามพระอาทิตย์ไปทางตะวันตกเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนตัวไปในระหว่างวัน และในเวลากลางคืนดอกทานตะวันก็กลับไปทางตะวันออกเพื่อรอรับพระอาทิตย์ในเช้าอีกวันหนึ่ง แต่จะหยุดเมื่อดอกทานตะวันโตเต็มที่และบานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
3
พฤติกรรมนี้เรียกว่า Heliotropism (แปลว่า Sun turn หรือการหันหาดวงอาทิตย์)
นักวิทยาศาสตร์พบว่าการที่ดอกทานตะวันมีพฤติกรรมการหันหน้าไปตามดวงอาทิตย์เนื่องจากการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของด้านต่างๆ ของลำต้น ซึ่งกำหนดโดยฮอร์โมนออกซิน (Auxin) ที่ไม่ชอบแสง และจะเคลื่อนที่หนีไปจากแสงแดด
ในตอนเช้าดอกทานตะวันจะหันไปทางตะวันออก เมื่อเวลาผ่านไป พระอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางด้านตะวันตก ฮอร์โมนออกซินจะเคลื่อนที่ไปยังลำต้นฝั่งะวันออกที่อยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ทำให้ลำต้นที่อยู่ใันฝั่งตะวันออกของพืชเจริญได้มากกว่าอีกด้านหนึ่ง ทำให้ดอกทานตะวันโค้งไปหาพระอาทิตย์ในทางทิศตะวันตกในตอนเย็น และในเวลากลางคืนฮอร์โมนออกซินจะเคลื่อนที่ไปในลำต้นทางตะวันตกของพืชที่เจริญน้อยกว่าในตอนกลางวัน ทำให้ในตอนกลางคืนด้านตะวันตกของพืชเจริญมากและทำให้ลำต้นโค้งกลับมาทางตะวันออกเพื่อรับแสงอาทิตย์ในยามเช้า
3
สรุปเป็นรูปภาพก็จะเป็นดังรูปข้างล่าง
การที่ดอกทานตะวันหันหาแสง เนื่องจากในช่วงที่เป็นดอกตูมจะมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้เหมือนใบไม้ การที่ได้รับแสงมากทำให้ดอกทานตะวันตูมสามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารได้ดี
ดอกตูมของทาน
เมื่อดอกทานตะวันโตเต็มที่กระบวนการเคลื่อนที่ไปตามดวงอาทิตย์นี้จะหยุดลงและทำให้ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางตะวันออกรอรับแสงอาทิตย์ในยามเช้า
แล้วการที่ดอกทานตะวันที่โตเต็มที่หันไปทางทิศตะวันออกมีประโยชน์อะไรกับดอกทานตะวันบ้าง?
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพบว่า ดอกทานตะวันที่รับแสงยามเช้าจะมีความอบอุ่นและดึงดูดแมลงให้มาผสมเกสรมากกว่าดอกทานตะวันที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ถึงห้าเท่า แมลงที่เป็นสัตว์เลือดเย็นที่ต้องการความร้อนจากแสงแดดในตอนเช้า จะชอบดอกทานตะวันที่อบอุ่นมากกว่าดอกที่เย็น เมื่อได้รับการผสมดอกทานตะวันก็จะสร้างเมล็ดทานตะวันขึ้นมา และแพร่กระจายเพื่องอกเป็นต้นทานตะวันต้นใหม่ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
3. Atamain, H.S. et al. (2016) Circadian regulation of sunflower heliotropism, floral orientation, and pollinator visits. Science Vol. 353, Issue 6299, pp. 587-590. DOI: 10.1126/science.aaf9793
4. https://youtu.be/GCRNHdGXTi4 - อันนี้เป็นวีดีโออธิบายเรื่องนี้จาก Journal Science
โฆษณา