2 พ.ย. 2019 เวลา 11:49 • ธุรกิจ
จับตาดูประชุมสุดยอดอาเซียน
และข้อตกลง RCEP
หลังจากที่ IMF เพิ่งออกประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกอาจเติบโตน้อยกว่าเดิม อีกทั้งสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก และยังบีบให้แต่ละประเทศต้องเลือกข้าง
2
ทำให้การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระดับพหุภาคี (กลุ่มประเทศ) ดูจะมีความเร่งด่วนมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่กำลังประชุมกันในกรุงเทพฯ ณ เวลานี้ คือข้อตกลง ASEAN+6 หรือตั้งชื่อใหม่ว่า "RCEP"
โดยปกติเจรจาธุรกิจกัน ก็อยากที่จะให้ส่วนแบ่งของแต่ละคนใหญ่ขึ้น คือ โดยรวมได้ประโยชน์ ด้วยกันทุกฝ่ายหรือ "win-win"
1
แต่ในความเป็นจริง ก็จะมีคนที่ได้ประโยชน์เยอะหน่อย หรือ WIN ตัวใหญ่ และคนที่ได้ประโยชน์น้อย win น้อยหน่อย
ซึ่งสำหรับข้อตกลง RCEP นี้ดูเหมือนคนที่อาจได้ประโยชน์น้อย หรืออาจถึงขั้นเสียประโยชน์ ก็คือ "อินเดีย" ทำให้ "โมดี" ผู้นำของอินเดียต้องให้ความสำคัญ บินมาไทยเพื่อร่วมประชุมด้วยตนเอง
RCEP คือ อะไร?
Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) คือ ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค ที่เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ กับคู่ภาคีที่มีอยู่ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
2
Cr. Thaipublica
โดยหากเจรจาสำเร็จ เขตการค้าเสรี RCEP จะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นคือ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเกือบ 1 ใน 3 ของโลก ครอบคลุมการค้าและการลงทุนกว่า 1 ใน 3 และ ครอบคลุมประชากรกว่า 50% ของประชากรโลก  เรียกได้ว่าตอบสนอง ยุทธศาสตร์ Belt and Road ของจีนเลย
1
โดย RCEP ถือเป็นเครื่องมือ ที่จีนสนับสนุนอย่างมาก เพื่อมาต่อกรกับข้อตกลงการค้าเสรีอีกอันหนึ่งคือ TPP (Trans-Pacific Partnership) ที่ก่อนหน้านี้ โอบามา ของสหรัฐฯ เป็นตัวตั้งตัวตี แต่ปัจจุบัน TPP มีความน่าสนใจน้อยลง เพราะทรัมป์ ประกาศไม่เข้าร่วม TPP อีกต่อไป (ชอบอยู่คนเดียว ไม่อยากค้าขายกับชาวบ้าน-ถ้าเสียเปรียบ)
โดยประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 หรือ RCEP ส่วนใหญ่ มีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน อยู่แล้ว เช่น อาเซียน-ญี่ปุ่น, อาเซียน-อินเดีย หรือ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เป็นต้น
แต่ประเทศที่ไม่ได้มีข้อตกลงกันมาก่อนก็คือ จีน-อินเดีย ซึ่งการทำข้อตกลง RCEP ก็จะทำให้ 2 ประเทศนี้ มีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่อินเดีย กลัวมาก ที่จะต้อง "ลดภาษี" ให้จีน นอกจากนี้ยังมีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่อินเดียอาจเสียเปรียบ
เพราะอย่างที่ทราบว่าจีน คือ "โรงงานผลิตเบอร์  1 ของโลก" มีความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงมาก หากลดภาษีให้จีน จะกระทบต่อประชาชนชาวอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม เหล็ก และอิเล็กทรอนิกส์
ผู้เลี้ยงโคนมอินเดีย ขู่ประท้วงหยุดป้อนนมเข้าตลาด
สหกรณ์โคนมในเบงกาลูรู (บังกาลอร์) ขู่ประท้วงใหญ่หากอินเดียยินยอมข้อตกลง RCEP โดยคู่แข่งสำคัญก็คือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
"หากรัฐบาลอินเดีย ยืนยันตามข้อตกลง RCEP อาจทำให้อุตสาหกรรมนมต้องถึงจุดจบ เหมือนตอนที่อินเดียเซ็นต์สัญญานำเข้าเส้นไหม จากจีน" ประธานของกลุ่มสหกรณ์ฯ กล่าว
นอกจากนี้ ในปี 2561-2562 อินเดียขาดดุลการค้ากับประเทศ RCEP หลัก 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบการขาดดุลการค้าทั้งหมด 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการขาดดุลการค้ากับจีน กว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
แต่หากอินเดีย ไม่ร่วมกับ RCEP ก็ดูจะขัดแย้งกับนโยบาย Act East ของอินเดีย เป็นอย่างยิ่ง คือ ใจหนึ่งก็กลัวตกขบวนรถไฟ อีกใจหนึ่งก็กลัวเสียเปรียบ และที่สำคัญคือ เสียคะแนนเสียงเพราะชาวบ้านจะประท้วง เป็นโจทย์ที่น่าหนักใจของโมดี และอินเดียเป็นอย่างยิ่ง...
โมดี ทวีต ถึงไทยแล้วจ้า
ไทย เปิดบ้าน รับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35
RCEP สำหรับไทยเอง หลักๆ มีผลกระทบทางอ้อมในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน การเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น และการลดความซ้ำซ้อนจากตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับหลายๆ ประเทศใน RCEP นอกจากนี้เรายังต้องทำหน้าที่ในฐานะประธานอาเซียน ที่ต้องผลักดันความร่วมมือให้เกิดขึ้น และเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับเพื่อนบ้าน
ลุงตู่ โพสเฟสบุ๊ก ต้อนรับ
สำหรับการเจรจา RCEP ระดับรัฐมนตรี ล่าสุดเมื่อวันทีื่ 1 พ.ย. ก็ยังตกลงกันไม่ได้ หลักๆ ก็ติดอินเดีย เจ้าเดิม ก็ต้องรอดูว่าพอ โมดี มาประชุม จะเกิดความคืบหน้าหรือไม่
ทั้งนี้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งนี้ ยังมีการประชุมย่อยๆ อีกหลายประชุม ตัวอย่างเช่น การประชุมอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งไทยอาจใช้โอกาสนี้ประชุมนอกรอบกับสหรัฐ เรื่องสิทธิ GSP สินค้าไทย 573 รายการ แต่ก็น่าเสียดาย ที่สหรัฐฯ ส่งเบอร์รอง มาประชุม โดยทั้งทรัมป์ และรองประธานาธิบดี ไม่ได้มาประชุม
สำหรับเกร็ดเล็กน้อยก็คือ ชาวจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพฯ ก็ไม่ต้องสงสัยไป หากมีการปิดทางด่วน หรือรถติดแถวเมืองทองธานีฯ เพราะ ช่วงวันที่ 2-4 พ.ย. นี้ เหล่าผู้นำเค้าประชุมกันอยู่...
Cr. ตำรวจภูธรนนทบุรี
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด  ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และสำหรับผู้นำเข้าส่งออก เชิญเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หาช่องทางนำเข้าส่งออก และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา