12 พ.ย. 2019 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
Modern China History 19
"ผนึกกำลังต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น"
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มทหารหัวรุนแรง และประกอบกับเศรษฐกิจภายในประเทศที่ตกต่ำ จักรวรรดิญี่ปุ่นจึงมีแผนที่จะเข้ายึดครองอำนาจในประเทศจีนอย่างจริงจัง
โดยในปี ค.ศ.1931 ได้เข้ายึดครองแมนจูเรียซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน และนำทรัพยากรเช่น แร่ธาตุ ไม้สัก เป็นต้น ไปใช้ หลังจากนั้นจึงขยายอำนาจลงมาทางใต้ยึดครองเมืองหลวงของประเทศจีนคือปักกิ่ง ในปี ค.ศ.1936
ธงจักรวรรดิญี่ปุ่น (1868-1947)
เนื่องด้วยปัญหาการรุกรานของญี่ปุ่นดังกล่าว พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งในขณะนั้นมีฐานกำลังอยู่ที่มณฑลส่านซี จึงวางแผนที่จะต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยต้องการความร่วมมือของคนทั้งประเทศรวมถึงศัตรูทางการเมืองอย่างก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียงไคเช็คด้วย
แผนที่แสดงพื้นที่(สีแดง)ที่ญี่ปุ่นเข้ายึดอำนาจในประเทศจีน
ประกอบกับในปี ค.ศ.1936 เจียงไคเช็คซึ่งยังคงนิ่งเฉยกับการรุกรานของญี่ปุ่นเพราะให้ความสำคัญกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์จีนเป็นหลัก ได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของ ยางหูเชนและจางซื่อเหลียง เข้าปราบปรามฐานที่ตั้งใหม่ของคอมมิวนิสต์จีนที่มณฑลส่านซี
ภาพถ่ายสองนายพลกับเจียงไคเช็ค จางซื่อเหลียง(ซ้าย) ยางหูเชน(กลาง) และเจียงไคเช็ค(ขวา)
แต่นายพลทั้งสองเมื่อไปถึงก็ได้แปรพักตร์เข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์จีน
หลังจากนั้นไม่นานในเดือน ธันวาคม ปี ค.ศ.1936 เจียงไคเช็คได้บินไปตรวจสอบถึงความล่าช้าในการปราบปรามที่มณฑลส่านซี แต่เมื่อลงจากเครื่องบินก็ถูก สองนายพลที่ตนได้ส่งมาปราบคอมมิวนิสต์จีน เข้าจับกุมเป็นเชลย
หลังจากนั้นในพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีการประชุมกันว่าควรทำอย่างไรกับเจียงไคเช็ค ถ้าจับประหารชีวิตประเทศจีนก็จะขาดผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น ก็อาจจะทำให้บ้านเมืองกลับไปแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าอีกครั้ง
และจะทำให้เป้าหมายหลักในตอนนั้นที่ต้องการขับไล่ญี่ปุ่นออกไปไม่เป็นผลสำเร็จ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงตัดสินใจปล่อยเจียงไคเช็คกลับไปที่เมืองนานกิง
ต่อจากนั้นไม่กี่เดือนระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋งได้ตกลงร่วมมือกันอีกครั้งโดยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือขับไล่จักรวรรดิญี่ปุ่นออกไปจากประเทศจีน
การร่วมมือกันครั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ยอมรับให้พรรคก๊กมินตั๋งเป็นรัฐบาลอันชอบธรรมรัฐบาลเดียวในประเทศจีน ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนเองก็ได้รับอำนาจในการบริหารกิจการในระดับท้องถิ่นเช่นกัน และมีการรวมกำลังทหารกันจัดตั้งกองทัพใหม่ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น
กองทัพจีนต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น(1937)
การร่วมมือกันอีกครั้งของทั้งสองพรรคจะสามารถเอาชนะจักรวรรดิญี่ปุ่นได้หรือไม่ โปรดติดตามได้ในตอนถัดไปครับ
สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามผลงาน ขอบคุณครับ/\
4.ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (History of Modern China), รศ.มาตยา อิงคนารถ, ภาควิชาประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา