Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เภสัชกร [VATE] มีอะไรจะบอก
•
ติดตาม
23 พ.ย. 2019 เวลา 07:14 • สุขภาพ
Antibiotics กับ โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)
งานวิจัยพบการได้รับยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสันมากยิ่งขึ้น ?
โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PD เวลาเราพูดถึงโรคนี้สิ่งที่เด่นชัดและเราพบเห็นบ่อยในผู้ป่วยคือ "อาการสั่น" นอกจากนี้อาจจะพบความผิดปกติของ อารมณ์ พฤติกรรม การคิด และความรู้สึก ได้เช่นกัน
สาเหตุของโรคปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากจากความเสื่อมของระบบประสาท จากการลดลงของ dopamine ใน basal ganglia เมื่อเราเชื่อว่าเกิดจากการลดลงของ dopamine ดังนั้นแล้วยาที่ช่วยเพิ่มระดับ dopamine ได้ เราจึงนำมาใช้รักษาโรคนี้
สาเหตุอื่น ๆ ของโรคที่สันนิษฐานว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น mitochondrial dysfunction, oxidative stress, protein aggregation และ neuroinflammation เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก www.nature.com
การศึกษาแบบ Case-Control Study ทำในประเทศฟินแลนด์ เก็บข้อมูลระหว่างปี 1998 ถึง 2014 โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่เป็นโรคพาร์กินสันจำนวน 13,976 คน (Case) และกลุ่มที่ไม่เป็นโรคจำนวน 40,697 คน (Control) จากนั้นตามดูข้อมูลการใช้ยา Antibiotics ในทั้ง 2 กลุ่ม
การติดตามประวัติการใช้ยา Antibiotics จะแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่
1. ใช้ยา Antibiotics 1-5 ปี ก่อนจะเป็นโรค
2. ใช้ยา Antibiotics 5-10 ปี ก่อนจะเป็นโรค
3. ใช้ยา Antibiotics 10-15 ปี ก่อนจะเป็นโรค
สิ่งที่น่าประหลาดใจในการศึกษานี้คือ ช่วงระยะเวลา 10-15 ปี ที่มีการใช้ยา เราพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันเกิดขึ้นด้วย นั่นหมายความว่าอย่างไร สมมติเราใช้ยาตัวนี้วันนี้ อีก 10 ปี เป็นโรคนั่นเอง (Parkinson's disease with a delay) สิ่งที่น่าตกใจอีกก็คือยาที่พบในช่วง 10-15 ปี คือยา Tetracyclines (ยาแก้อักเสบดำ-แดง ที่เมื่อก่อนใช้กันมาก) แล้วเราอธิบายความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร
ขอบคุณภาพจาก www.thehimalayantimes.com
มีสมมติฐานหนึ่งคือ เกิดจาก exogenic factor หรือ toxin ที่มาจากจุลินทรีย์ในลำไส้ กระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท โดยเริ่มจาก submucosal plexus ของ enteric nervous system จากนั้นส่งต่อไปยัง central nervous system โดย preganglionic axons ผ่านทาง vagus nerve แล้วก่อให้เกิดความผิดปกติตามมา จนกระตุ้นให้เกิดโรคพาร์กินสันในที่สุด
ในลำไส้ของเรามีจุลินทรีย์ฝั่งดีอยู่มาก แต่พอเราได้รับยา Antibiotics เข้าไป โดยเฉพาะ broad-spectrum antibiotics (ยา Antibiotics ที่ออกฤทธิ์กว้าง ฆ่าเชื้อได้หลากหลายชนิด) ยานี้มีผลทำให้จุลินทรีย์ฝั่งดีตายไปด้วย ระบบสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้จึงเสียไป และเกิดความผิดปกติดังสมมติฐานข้างต้นได้
จริง ๆ แล้วอาการที่เราพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เช่น การเคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อาการสั่นต่าง ๆ ก็มาจากองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ในผู้ป่วยพาร์กินสันนั้นผิดปกติ รวมถึงโรคทางระบบกระเพาะอาหารเช่น Constipation (ท้องผูก), irritable bowel syndrome และ inflammatory bowel disease โรคเหล่านี้มักเพิ่มความเสี่ยงสูงทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน
ขอบคุณภาพจาก www.smithsonianmag.com
การค้นพบนี้บอกอะไรเราได้บ้าง
การค้นพบนี้อาจมีผลกระทบต่อการใช้ยาปฏิชีวนะในอนาคตนอกจากปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะแล้ว การใช้ยาต้านจุลชีพก็ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวต่อจุลินทรีย์ในลำไส้และการพัฒนาของโรคบางชนิด
ปัจจุบันเราใช้ยา Antibiotics กันพร่ำเพรื่อมาก ขอใช้คำนี้เลยละกันครับ เป็นหวัดเจ็บคอ นิด ๆ หน่อย ๆ ก็หายามากินแล้ว บางคนกินกันไว้ก่อนก็มี บางคนจำเป็นเป็นต้องกินจริง ๆ แต่กินไม่ครบตามที่แพทย์สั่งก็มี เหล่านี้ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
หลายท่านอาจไม่เห็นความสำคัญของเชื้อดื้อยา แต่เคยมีรายงานแล้วว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อในกระเเสเลือดรุนแรง ไม่มียาปฏิชีวนะรักษา เพราะดื้อยาหมดทุกตัว ท้ายที่สุดผู้ป่วยเสียชีวิต
หลายท่านอาจจะงง อ่าว ฉันไม่เคยกินยาปฏิชีวนะเลยนะ จะเกิดเชื้อดื้อยาได้อย่างไร เกิดขึ้นได้ครับเพราะท่านได้รับเชื้อดื้อยาจากทางอื่น เช่น อาหารที่เรากินเข้าไป ลองไปดูเถิดว่าการเลี้ยงสัตว์ในบ้างเราใช้ยาปฏิชีวนะไหม ถ้าใช้ นั่นแหละครับสาเหตุที่เราได้รับเชื้อดื้อยามา
ขอบคุณภาพจาก www.cdc.gov/foodsafety/challenges/antibiotic-resistance.html
หากท่านใดที่อยากทราบผลร้ายของเชื้อดื้อยาตามมาอ่านกันได้เลยครับ
เพจ "บทเรียนจากเชื้อโรค" ทำเป็นซีรีย์ไว้ 6 ตอน เป็นเรื่องเล่าผ่านตัวละคร อ่านสนุกได้ความรู้มากครับ
https://www.blockdit.com/series/5d22ff729ca9ef0fec80394d
เพจ "Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว" ก็เขียนไว้ดีเช่นเดียวกัน
https://www.blockdit.com/articles/5db3bb29d237797ce518a8a9
เมื่อทราบอย่างนี้แล้วหลายท่านอาจจะกำลังต้องการจุลินทรีย์ฝั่งดีอยู่แน่ ๆ เลย เพจ "สุขภาพดีวิถีแพทย์ไทยติดดิน" เขียนบทความเรื่องนี้ไว้แล้ว ติดตามอ่านประกอบได้ครับ
https://www.blockdit.com/articles/5db6c9b51fbd887a89769eb6
กลับมาสู่หลักการเดิมของเราอีกแล้ว “ใช้ยาเมื่อจำเป็นต้องใช้จริง ๆ” เท่านั้น 😊
เอกสารอ้างอิง
1.
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/mds.27924
2.
https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/parkinsons-disease
8 บันทึก
62
63
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Drug Topic
8
62
63
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย