Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
18 ธ.ค. 2019 เวลา 02:41 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็ม (針灸學)
ภาคทฤษฎี
บทที่ 9
การประยุกต์ใช้จุดเบญจธาตุในทางคลินิก
ในด้านการประยุกต์ใช้จุดเบญจธาตุนั้น วิธีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของจุดเบญจธาตุในการรักษาโรคดังต่อไปนี้ จะเป็นวิธีของศาสตราจารย์หยางเจี่ยซัน (楊甲三) ที่ได้ทำการประมวลไว้ โดยสิ่งสำคัญอันดับต้นของการรักษาจะอยู่ที่การวินิจฉัย การวินิจฉัยจะต้องอยู่บนหลักการการวินิจฉัยสี่อย่างคือ มอง ฟัง ถาม จับ ครั้นได้วินิจฉัยจนทราบซึ่งอาการและสาเหตุแล้ว จากนั้นก็จะทำการแยกแยะว่าเป็นลักษณะอาการของเส้นลมปราณใด แล้วจึงทำการวินิจฉัยว่าเป็นอาการทางเส้นลมปราณหรืออาการทางอวัยวะ แล้วจึงใช้หลักของจุดเบญจธาตุมาทำการตัดสินใจเรื่องข้อบ่งใช้ว่าจะใช้จุดฝังเข็มใด ในสุดท้าย ให้เลือกใช้จุดฝังเข็มประกอบตามลักษณะอาการปลีกย่อยอีกที สำหรับรายละเอียดของวิธีการนั้น จะขอยกตัวอย่างของเส้นลมปราณปอดและเส้นลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการอ้างอิง
สำหรับอาการข้างต้น หากยังมีอาการแน่นใต้หัวใจประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการแน่นใต้หัวใจประกอบ แต่มีอาการทางตับแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดเส้าซัง (จุดจิ่งธาตุไม้)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการตัวร้อนประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการต้วร้อนประกอบ แต่มีอาการทางหัวใจแทรกซ้อนอยู่ก็ให้เพิ่มจุดอวี๋จี้ (จุดอิ๋งธาตุไฟ)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการเนื้อตัวหนักและปวดไขข้อประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการเนื้อตัวหนักหรือปวดไขข้อประกอบ แต่มีอาการทางม้ามแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดไท่เยวียน (จุดซูธาตุดิน)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการลมย้อนและรั่วไหลถ่ายเหลวประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการลมย้อนและรั่วไหลถ่ายเหลวประกอบ แต่มีอาการทางไตแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดฉื่อเจ๋อ (จุดเหอธาตุน้ำ)
สำหรับอาการข้างต้น หากยังมีอาการแน่นใต้หัวใจประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการแน่นใต้หัวใจประกอบ แต่มีอาการทางตับแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดซังหยาง (จุดจิ่งธาตุทอง)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการตัวร้อนประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการต้วร้อนประกอบ แต่มีอาการทางหัวใจแทรกซ้อนอยู่ก็ให้เพิ่มจุดเอ้อเจียน (จุดอิ๋งธาตุน้ำ)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการเนื้อตัวหนักและปวดไขข้อประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการเนื้อตัวหนักหรือปวดไขข้อประกอบ แต่มีอาการทางม้ามแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดซันเจียน (จุดซูธาตุไม้)
สำหรับอาการข้างต้น หากมีอาการไอหอบหรืออาการร้อน ๆ หนาว ประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการไอหอบหรืออาการร้อน ๆ หนาว ๆ ประกอบ แต่มีอาการทางปอดแทรกซ้อนอยู่ ให้เพิ่มจุดหยางซี (จุดจิงธาตุไฟ)
สำหรับอาการข้องต้น หากมีอาการลมย้อนและรั่วไหลถ่ายเหลวประกอบ หรืออาจจะไม่มีอาการลมย้อนและรั่วไหลถ่ายเหลวประกอบ แต่มีอาการทางไตแทรกซ้อนอยู่ ก็ให้เพิ่มจุดชวีฉือ (จุดเหอธาตุดิน)
โดยสรุปนั้น ขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจุดเบญจธาตุจะต้องรู้ก่อนว่าเป็นอาการแบบไหน เป็นอาการทางเส้นลมปราณหรืออาการทางอวัยวะภายใน จากนั้นค่อยนำหลักการของเบญจธาตุมาทำการกำหนดข้อบ่งใช้ เช่นนี้ก็จะทำให้สามารถกำหนดระบบการรักษาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้
ในหลิงซูได้กล่าวไว้ว่า “จุดอิ๋งซูรักษาอาการทางเส้นลมปราณ” ดังนั้นในด้านการรักษา หากเป็นอาการแกร่งก็ต้องระบาย หากเป็นอาการพร่องก็ต้องบำรุง เป็นต้นว่าหากเป็นอาการแกร่งของเส้นปอด เช่น มีอาการไออันเนื่องจากการได้รับผลกระทบจากภายนอก ปอดลำคอ มีอาการปวดหรือแดงร้อนตามเส้นลมปราณ เป็นต้น ในกรณีนี้ให้ใช้จุดที่เกี่ยวกับหัวใจคือจุดอวี๋จี้ (จุดอิ๋งธาตุไฟ) หรือจะใช้วิธีการปล่อยเลือดที่จุดอวี๋จี้เพื่อทำการระบายก็ได้ แต่หากเป็นอาการพร่อง เป็นต้นว่าอาการเย็นวาบตามเส้นลมปราณ หรืออาการเหน็บชาตามเส้นลมปราณเป็นต้น ในกรณีนี้ให้เลือกจุดที่เกี่ยวกับม้ามคือจุดไท่เยวียน (จุดซูธาตุดิน) ในเวลานี้ให้ใช้วิธีบำรุง หรืออาจจะใช้วิธีรมยาก็ได้
หากเป็นเส้นลำไส้ใหญ่ อาการแกร่งของเส้นลำไส้ใหญ่ที่มีอาการตัวร้อนกลัวหนาว อาการทางจมูก ปวดฟัน ปากและจมูกเบี้ยว ผิวหนังเจ็บคัน หรืออาการบวมแดงตามตำแหน่งเส้นลมปราณ ในเวลานี้ให้ใช้วิธีการระบายที่จุดเอ้อเจียน (จุดอิ๋งธาตุน้ำ) แต่หากเป็นอาการพร่องของเส้นลำไส้ใหญ่แล้ว เป็นต้นว่ามีอาการนิ้วชี้ขัดข้อง หรืออาการเหน็บชาเย็บวาบตามตำแหน่งเส้นลมปราณ ในเวลานี้ให้ใช้วิธีการบำรุงที่จุดซันเจียน (จุดซูธาตุไม้) หรืออาจจะใช้วิธีการรมยาก็ได้
ส่วนอาการของอวัยวะภายในนั้น ก็ให้ใช้จุดฝังเข็มที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในนั้น ๆ ซึ่งก็คือหากเป็นอาการทางตับก็ให้ใช้จุดจิ่ง หากเป็นอาการทางหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจก็ให้ใช้จุดอิ๋ง หากเป็นอาการทางม้ามก็ให้ใช้จุดซู หากเป็นอาการทางปอดก็ให้ใช้จุดจิง หากเป็นอาการทางไตก็ให้ใช้จุดเหอ ส่วนอาการทางหกอวัยวะหยางก็ให้ใช้จุดเซี่ยลิวเหอ หรือจุดรวมล่างหก (下合穴)
ดังนั้น หากเป็นอาการทางปอดก็ให้จุดจิงฉวี (จุดจิง) เพื่อทำการระบายพลังของปอด แต่หากป่วยทั้งนอกทั้งในก็สามารถรักษาได้พร้อมกัน โดยสามารถใช้ได้ทั้งจิงฉวี (จุดจิง) ไท่เยวียน (จุดซู) อวี๋จี้ (จุดอิ๋ง) และหากมีอาการของตับเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้ใช้จุดเส้าซัง (จุดจิ่ง) เนื่องด้วยจุดเส้าซังเป็นจุดจิ่ง (ธาตุไม้) เกี่ยวข้องกับตับ อีกทั้งจุดเส้าซังยังเป็นจุดฝังเข็มบนเส้นปอดอีกด้วย ดังนั้นไม่เพียงแต่สามารถระบายพลังตับได้เท่านั้น หากยังสามารถรักษาปอดได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางหัวใจเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็สามารถเพิ่มจุดอวี๋จี้ (จุดอิ๋ง) เพราะจุดอวี๋จี้เป็นจุดอิ๋ง (ธาตุไฟ) เกี่ยวข้องกับหัวใจ อีกทั้งยังเป็นจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นปอดอีกต่างหาก ดังนั้นไม่เพียงแต่สามารถระบายความร้อนของโลหิตได้เท่านั้น หากยังสามารถรักษาปอดได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางม้ามเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้เพิ่มจุดไท่เยวียน (จุดซู) เพราะจุดไท่เยวียนเป็นจุดซู (ธาตุดิน) เกี่ยวข้องกับม้าม อีกทั้งยังอยู่บนเส้นปอดอีกต่างหาก ดังนั้นไม่เพียงแต่สามารถบำรุงม้ามสลายความชื้นได้เท่านั้น หากยังสามารถรักษาปอดได้อีกด้วย และหากมีอาการทางไตเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้เพิ่มจุดฉื่อเจ๋อ (จุดเหอ) เพราะจุดฉื่อเจ๋อเป็นจุดเหอ (ธาตุน้ำ) มีความเกี่ยวข้องกับไต อีกทั้งยังอยู่บนเส้นปอดอีกต่างหาก ดังนั้นไม่เพียงแต่สามารถบำรุงไตลดลมตีย้อนขึ้นเท่านั้น หากยังสามารถรักษาอาการทางปอดได้อีกด้วย
สำหรับเส้นลำไส้ใหญ่นั้น เนื่องด้วย “จุดเหอรักษาอวัยวะหยาง” ดังนั้นจึงเลือกใช้จุดรวมล่าง (下合穴) คือซั่งจวี้ซวีเพื่อทำการระบายลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการป่วยทั้งภายนอกภายใน ก็ให้เลือกใช้ทั้งจุดซั่งจวี้ซวี จุดเอ้อเจียน (จุดอิ๋ง) และจุดซันเจียน (จุดซู) และหากมีอาการของตับเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้ใช้จุดซังหยาง (จุดจิ่ง) เนื่องด้วยจุดซังหยางเป็นจุดจิ่ง เกี่ยวข้องกับตับ อีกทั้งจุดซังหยางยังเป็นจุดฝังเข็มบนเส้นลำไส้ใหญ่อีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถระบายพลังตับปรับลำไส้ใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางหัวใจเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็สามารถเพิ่มจุดเอ้อเจียน (จุดอิ๋ง) เพราะจุดเอ้อเจียนเป็นจุดอิ๋ง เกี่ยวข้องกับหัวใจ อีกทั้งยังเป็นจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลำไส้ใหญ่อีกต่างหาก ดังนั้นจึงสามารถระบายความร้อนและปรับลำไส้ใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางม้ามเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้เพิ่มจุดซันเจียน (จุดซู) เพราะจุดซันเจียนเป็นจุดซู เกี่ยวข้องกับม้าม อีกทั้งยังอยู่บนเส้นลำไส้ใหญ่อีกต่างหาก ดังนั้นจึงสามารถสลายความชื้นและปรับลำไส้ใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางปอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้เพิ่มจุดหยางซี เพราะจุดหยางซีเป็นจุดจิง เกี่ยวข้องกับปอด อีกทั้งยังอยู่บนเส้นลำไส้ใหญ่อีกต่างหาก ดังนั้นจึงสามารถระบายปอดปรับลำไส้ใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน และหากมีอาการทางไตเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ให้เพิ่มจุดชวีฉือ (จุดเหอ) เพราะจุดชวีฉือเป็นจุดเหอ มีความเกี่ยวข้องกับไต อีกทั้งยังอยู่บนเส้นลำไส้ใหญ่อีกต่างหาก ดังนั้นจึงสามารถบำรุงไตปรับลำไส้ใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน
เส้นลมปราณที่เหลือก็ให้ปฏิบัติตามหลักการข้างต้นต่อไป โดยสรุปก็คือให้รู้ก่อนว่าเป็นอาการทางเส้นลมปราณไหน จากนั้นค่อยเลือกใช้จุดฝังเข็ม แล้วจึงค่อยดำเนินการว่าจะบำรุงหรือระบายในภายหลัง
วิธีการใช้จุดเบญจธาตุแบบระบายบำรุงที่จุดแม่ลูก (母子補瀉法)
เนื้อหาทางทฤษฏีด้านการระบายหรือบำรุงที่แม่ลูกนี้ เริ่มปรากฏการบันทึกเป็นครั้งแรกที่คัมภีร์หนันจิง (難經) ในตำราได้อาศัยคุณสมบัติทางทฤษฏีของจุดเบญจธาตุมาทำการประยุกต์ และกำหนดออกเป็นหลักการที่ง่าย ๆ คือ “หากพร่องก็บำรุงที่แม่ หากแกร่งก็ระบายที่ลูก”
คำว่า “แม่” หมายถึง “แม่ผู้ให้กำเนิดธาตุลูก” เป็นต้นว่า แม่ของธาตุทองคือธาตุดิน แม่ของธาตุดินคือธาตุไฟ แม่ของธาตุไฟคือธาตุไม้ แม่ของธาตุไม้คือธาตุน้ำ และแม่ของธาตุน้ำคือธาตุทอง ส่วนคำว่าลูกนี้ หมายถึง “ลูกที่เกิดจากธาตุแม่” เป็นต้นว่า ลูกของธาตุทองคือธาตุน้ำ ลูกของธาตุน้ำคือธาตุไม้ ลูกของธาตุไม้คือธาตุไฟ ลูกของธาตุไฟคือธาตุดิน ลูกของธาตุดินคือธาตุทอง
เมื่อเข้าใจความหมายของธาตุแม่ธาตุลูกแล้ว เราก็สามารถเข้าใจหลักการของการบำรุงและระบายได้ โดยหลักการที่ได้กำหนดมาจากคัมภีร์โบราณคือ “หากพร่องก็ให้บำรุงที่แม่ หากแกร่งก็ให้ระบายที่ลูก” ดังนั้น หากธาตุทองพร่อง ก็ให้บำรุงที่ธาตุดินเพื่อให้เกิดธาตุทองมากขึ้น หากธาตุดินพร่อง ก็ให้บำรุงที่ธาตุไฟเพื่อให้เกิดธาตุดินมากขึ้น หากธาตุไฟพร่อง ก็ให้บำรุงที่ธาตุไม้เพื่อให้เกิดธาตุไฟมากขึ้น หากธาตุไม้พร่อง ก็ให้บำรุงที่ธาตุน้ำเพื่อให้เกิดธาตุไม้มากขึ้น และหากธาตุน้ำพร่อง ก็ให้บำรุงที่ธาตุทองเพื่อให้เกิดธาตุน้ำมากขึ้น นี่เป็นส่วนของธาตุที่พร่องที่จำเป็นต้องทำการบำรุง
แต่หากเป็นส่วนที่แกร่งและจะต้องทำการระบายแล้ว ก็ให้ยึกหลัก “แกร่งให้ระบายที่ลูก” ดังนั้น หากธาตุทองแกร่ง ก็ให้ระบายที่ธาตุน้ำเพื่อให้ธาตุทองเบาลง หากธาตุน้ำแกร่ง ก็ให้ระบายที่ธาตุไม้เพื่อให้ธาตุน้ำเบาลง หากธาตุไม้แกร่ง ก็ให้ระบายที่ธาตุไฟเพื่อให้ธาตุไม้เบาลง หากธาตุไฟแกร่ง ก็ให้ระบายที่ธาตุดินเพื่อให้ธาตุไฟเบาลง หากธาตุดินแกร่ง ก็ให้ระบายที่ธาตุทองเพื่อให้ธาตุดินเบาลง
ด้วยหลักการ “หากพร่องก็บำรุงที่แม่ หากแกร่งก็ระบายที่ลูก” ดังนี้ จึงทำให้เกิดเป็นวิธีการบำรุงและการระบายอยู่สองวิธีด้วยกัน
1.วิธีการบำรุงและระบายที่เส้นลมปราณที่ป่วย (本經補瀉法)
หมายถึงวิธีการบำรุงและระบายตามหลักของจุดเบญจธาตุที่เส้นลมปราณที่ป่วยโดยตรง เป็นต้นว่า เส้นที่ป่วยคือเส้นปอด เส้นปอดคือธาตุทอง หากอาการป่วยของเส้นปอดเป็นอาการพร่อง ในเวลานี้ควรจะทำการเพิ่มธาตุทองด้วยการบำรุงที่ธาตุดินในเส้นปอด ดังนั้นจึงต้องฝังเข็มที่จุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุดิน ซึ่งจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุดินของเส้นปอดคือจุดไท่เยวียน (จุดซูธาตุดิน) ขณะเดียวกัน หากอาการป่วยของเส้นปอดเป็นแบบแกร่ง ในเวลานี้ควรจะทำการลดธาตุทองด้วยการระบายที่ธาตุน้ำในเส้นปอด ดังนั้นจึงต้องฝังเข็มที่จุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุน้ำ ซึ่งจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุน้ำของเส้นปอดคือจุดฉื่อเจ๋อ (จุดเหอธาตุน้ำ) ส่วนเส้นลมปราณที่เหลือก็ให้ดำเนินการตามหลักการนี้ทั้งหมด
2.วิธีการบำรุงและระบายที่เส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับเส้นลมปราณที่ป่วย (異經補瀉法)
หมายถึงวิธีการบำรุงและการระบายตามหลักจุดเบญจธาตุที่เส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับเส้นลมปราณที่ป่วย เป็นต้นว่า หากเส้นปอดป่วยชนิดอาการพร่อง เส้นปอดคือธาตุทอง ในเวลานี้ควรจะทำการเพิ่มธาตุทองด้วยการบำรุงที่ธาตุดิน ดังนั้นจึงควรฝังเข็มที่เส้นม้ามเพื่อทำการบำรุงเส้นปอด หลังจากเลือกเส้นลมปราณที่จะช่วยบำรุงเส้นปอดได้แล้ว จากนั้นให้เลือกจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุดิน ซึ่งจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุดินในเส้นม้ามคือจุดไท่ป๋าย (จุดซูธาตุดิน) ขณะเดียวกัน หากเส้นปอดป่วยชนิดอาการแกร่ง เส้นปอดคือธาตุทอง ในเวลานี้ควรจะทำการลดธาตุทองด้วยการระบายที่ธาตุน้ำ ดังนั้นจึงควรฝังเข็มที่เส้นไตเพื่อทำการระบายเส้นปอด หลังจากเลือกเส้นลมปราณที่จะช่วยระบายเส้นปอดได้แล้ว จากนั้นให้เลือกจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุน้ำ ซึ่งจุดเบญจธาตุที่เป็นธาตุน้ำในเส้นไตคือจุดอินกู่ (จุดเหอธาตุน้ำ) ส่วนเส้นลมปราณที่เหลือก็ให้ดำเนินการตามหลักการนี้ทั้งหมด
นอกจากนี้ เรายังสามารถทำการระบายหรือบำรุงที่เส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องแบบนอกในได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเส้นลมปราณปอด หากปอดเป็นแบบพร่อง ก็ให้เลือกจุดที่ช่วยบำรุงธาตุทองที่เส้นลำไส้ใหญ่ ในเวลานี้จะต้องหาจุดที่เป็นธาตุดิน ซึ่งก็คือจุดชวีฉือ เพราะจุดชวีฉือเป็นธาตุดินนั่นเอง ขณะเดียวกัน หากปอดเป็นแบบแกร่ง ก็ให้เลือกจุดที่ช่วยระบายธาตุทองที่เส้นลำไส้ใหญ่ ในเวลานี้จะต้องหาจุดที่เป็นธาตุน้ำ ซึ่งก็คือจุดเอ้อเจียน เพราะจุดเอ้อเจียนเป็นธาตุน้ำนั่นเอง
4 บันทึก
6
6
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
4
6
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย