19 ธ.ค. 2019 เวลา 15:04 • ความคิดเห็น
มีหนุ่มเหนือ5พี่น้อง มีใจใฝ่ในพระพุทธศาสนา จึงชวนกันไปบวชเป็นภิกษุ ต่างศึกษาธรรมบำเพ็ญบารมีจนสำเร็จเป็นอริยสงฆ์ ทั้ง5พระองค์ พร้อมใจกันอฐิษฐานว่า จะบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือ เหล่าสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ จนกว่าจะนิพพาน
เมื่อพระอริยสงฆ์ทั้ง5ดับขันธ์ ได้เข้าสถิตย์ในพระพุทธรูป5องค์ ปรารถนาที่จะดับทุกข์แก่สัตว์โลกต่อไป จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ ลอยไปตามลำน้ำ5สาย ชาวบ้านเห็นจึงอาราธนาขึ้นประดิษฐานตามวัดต่างๆ
องค์แรกถือเป็นพี่ใหญ่ขึ้นบกก่อนองค์อื่นคือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เล่ากันว่าท่านลอยมาตามลำน้ำแม่กลอง แล้วจมอยู่ปากอ่าว ชาวบ้านตีอวนติดพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ขนาดเท่าคนจริง จึงนำไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม ริมฝั่งแม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม จึงเรียกว่า"หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"
วัดบ้านแหลมเป็นวัดเก่าสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดศรีจำปา พศ.2307 พม่ายกทัพมาตีเมืองเพรชบุรีชาวบ้านเขตบ้านแหลมของเมืองเพรช พากันอพยพหนีมาอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม จึงเรียกชุมชนใหม่ว่า "วัดบ้านแหลม"
พศ.2495 สมัยร.9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า. สถาปนาวัดบ้านแหลมขึ้นเป็นอารามหลวง พระราชทานนามใหม่ว่า"วัดเพรชสมุทรวรวิหาร"
หลวงพ่อวัดบ้านแหลมนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยร.1แล้ว สมัยร.3 พศ.2370 สุนทรภู่ล่องเรือไปเมืองเพรช ตามลำน้ำแม่กลอง ผ่านหน้าวัด จึงแต่ง นิราศเมืองเพรช(แต่ไม่ได้กล่าวถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม)
พศ.2411 พระมหามนตรี(หรุ่น ศรีเพ็ญ) ได้ตามเสด็จร.4 ไปดูสุริยุปราคาที่ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผ่านลำน้ำแม่กลอง จึงแต่ง"นิราศเกาะจาน"ไว้ แต่ไม่ได้กล่าวถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเช่นกัน
หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเริ่มมีชื่อเสียงสมัยร.5 เกิดโรคห่า(อหิวาตกโรค)พศ.2416 เจ้าคุณสนิทสมณคุณ(เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม เกิดฝันว่าหลวงพ่อมาบอกคาถาแก้โรคห่า โดยให้ไปดูที่พระหัตถ์ ท่านเจ้าคุณตอนนั้นเป็นพระครู จึงชวนขุนประชานิยม(อ่อง ประชานิยม)ตอนนั้นเป็นเด็กวัด ย่องไปที่โบถส์กลางดึก พบพระหัตถ์ขวามีคำว่า"นะมะระอะ" ส่วนพระหัตถ์ซ้ายมีคำว่า"นะเทวะอะ" จึงเอามาปลุกเสกน้ำมนต์ให้ชาวบ้านกิน โรคห่าจึงหายไป
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในร.5 ทรงเลื่อมใสหลวงพ่อวัดบ้านแหลมมาก ดังพระราชหัตถเลขาร.6 สมัยเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้พระราชทานถึง เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลมว่า
สวนจิตรลดา บริเวณสวนดุสิต กรุงเทพฯ
2 มิถุนายน รศ.124
นมัสการพระครูมหาสิทธิการทราบ
เมื่อปีกลายนี้ สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ได้เสด็จไปเมืองสมุทรสงคราม ในกระบวนหลวง ได้รับคำสั่ง ให้นำเครื่องสักการะไปถวาย หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ได้รับสั่งแต่ครั้งนั้นว่า ขอผลอานิสงส์แห่งความเลื่อมใส จงช่วยให้หายประชวร ครั้นเสด็จกลับกทม.ได้ไม่นาน ก็หายประชวร โปรดประทานพระราชปัจจัย 800บาท มาปฎิสังขรณ์วัดบ้านแหลม ข้าพเจ้าได้ส่งมาให้ท่านพระครู ทางกระทรวงธรรมการแล้ว
วชิราวุธ
ท่านเจ้าพระคุณพระธรรมปิฏก(สนิท เขมจารี)อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม ได้เขียนถึงประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลมไว้ว่า
"ตามสันนิษฐานของข้าพเจ้าเห็นว่า หลวงพ่อท่านคงมิใช่ลอยน้ำมาลำพัง คงมีผู้อัญเชิญขึ้นจากเรือ มาประดิษฐาน ณ สถานที่แห่งหนึ่ง คงต้องผ่านมาทางทะเลเพราะสมัยนั้นการคมนาคม ทางบกไม่สะดวก ขณะที่ล่องเรือน่าจะมีบางวัดนิมนต์แต่ผู้นำมาไม่ยอมถวาย เว้นแต่วัดบ้านแหลม ขณะที่ผ่านทางทะเล เรือคงอัปปาง สมัยหลาย100ปีนั้น ทะเลปากอ่าวสมุทรสงคราม&ปากอ่าวเพรชบุรีต้องกว้างมาก ปากน้ำอัมพวาอยู่ใกล้ทะเล จึงชื่อว่าปากน้ำ บางจากคงอยู่ริมทะเลจึงเรียกบางจาก เมื่อไม่มีใครงมท่านขึ้นมาได้ จึงปล่อยให้จมในทะเล พศ.2310มีคนตีอวนขึ้นมา จึงนำท่านไปประดิษฐานที่วัดศรีจำปา(วัดบ้านแหลม)"
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ พศ.2492
องค์ที่ขึ้นบกต่อมาคือ หลวงพ่อพุทธโสธร เล่าว่าท่านลอยไปทางแม่น้ำบางปะกง ลอยมาพร้อมกัน3องค์ ชาวบ้านพยามฉุดขึ้นบกก็ไม่สำเร็จ ทั้ง3องค์ลอยทวนน้ำไป ต.นั้นเลยชื่อว่า"สามพระทวน"(สัมปทวน)
ทั้ง3องค์ลอยเข้าไปในคลองหนึ่ง ชาวบ้านพยามฉุดขึ้นบกก็ไม่สำเร็จ ทั้ง3องค์ลอยกลับมาที่แม่น้ำบางปะกง คลองนั้นจึงชื่อ"คลองพระ"
พอลอยออกแม่น้ำทั้ง3องค์ก็จมลง พระพุทธโสธรมาโผล่ที่หน้า"วัดหงส์" อ.ไสยศาสต์ท่านหนึ่ง ตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง ใช้สายสิญจ์คล้องขึ้นฝั่ง นำไปประดิษฐานไว้ในวิหาร
หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สมัยล้านนา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างศอกเศษ มีพุทธลักษณะงดงามแบบอย่างที่สร้างในหลวงพระบาง&เวียงจันทน์ จึงเรียกว่า"พระลาว"
ต่อมาเกิดโรคฝีดาษระบาดที่จ.ฉะเชิงเทรา ชายคนหนึ่งป่วยด้วยโรคนี้ จึงไปหาพระพุทธโสธร อฐิษฐานให้ช่วยรักษา แล้วเอาขี้ธูป ดอกไม้เหี่ยวที่แท่นบูชา น้ำมนต์ พอเอามาต้มกินทาอาบก็หายอย่างอัศจรรย์ จึงแก้บนถวาย
คราวร.5เสด็จประภาสจ.ฉะเชิงเทรา พศ.2451ทรงทอดพระเนตรหลวงพ่อพุทธโสธรก่อนถูกพอก ทรงพระราชนิพนธ์ว่า
"องค์กลางคือหมอดี ดูรูปตัก&เอวบาง ราวกับพระพุทธเทวปฎิมากร"
พระสงฆ์ที่วัดหงส์กลัวใจบาปจะมาขโมยตัดเศียรเนื่องจาก ความงดงามของหลวงพ่อพุทธโสธรเป็นที่เลื่องลือ จึงพอกปูนจากหน้าตักกว้าง3ศอกเป็น5นิ้ว
องค์ที่ขึ้นบกหลังสุด นับเป็นน้องเล็ก คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ปรากฎให้คนเห็นที่ตำบลหนึ่งในกทม. คนถึง300,000ฉุดก็ไม่ขึ้นบก จมน้ำหายไป ต.นั้นจึงชื่อ"บางสามแสน"(สามเสนในปัจจุบัน)
หลวงพ่อโตโผล่อีกครั้งที่ปากคลองสำโรง ชาวบ้านจึงผูกแพเสริม อฐิษฐานว่าถ้าท่านต้องการขึ้นบกตรงไหนให้หยุดตรงนั้น ท่านมาหยุดตรงหน้าวัด พลับพลาชัยชนะสงคราม ชาวบ้านจึงอัญเชิญท่านขึ้นฝั่งสำเร็จ
ตอนอัญเชิญท่านเข้าวิหารนั้น องค์ท่านใหญ่กว่าประตู จึงรื้อหลังคาโบถส์แล้วยกข้ามผนังเข้าไป ต่อมาได้สร้างวิหารใหม่ที่ขนาดใหญ่กว่าวิหารเก่า ให้ท่านประดิษฐานถึงทุกวันนี้
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง3ศอก3คืบ มีลักษณะคล้ายฝีมือช่างสมัยสุโขทัย
วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตีเขมร ตามคลองสำโรง(ขุดมาตั้งแต่ขอมเรืองอำนาจ)ทรงพักไพร่พลที่ตำบลหนึ่ง&อฐิษฐานไว้ เมื่อชนะศึกกลับมาจึงสร้างพลับพลาขึ้น ณ แห่งนั้น พระราชทานนามว่า พลับพลาชัยชนะสงคราม ต่อมาชาวบ้านได้สร้างวัด ที่พลับพลาแห่งนี้ เรียกว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ส่วนต.ที่ทำพิธีพลีกรรมเรียกว่าบางพลี วัดพลับพลาชัยชนะสงครามจึงถูกเรียกวัดบางพลีไปด้วย ภายหลังชื่อซ้ำจึงใช้ชื่อว่า"วัดบางพลีใหญ่ใน"
ส่วนอีก2องค์นั้นได้รวม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา&หลวงพ่อวัดไร่ขิงเข้าไปด้วย
หลวงพ่อวัดเขาตะเคราท่านจมแม่น้ำแม่กลองเช่นหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ชาวบ้านตีอวนขึ้นมาได้ จึงนำไปให้ญาติที่บ้านแหลมเมืองเพรช นำไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
คนทั่วไปเรียก หลวงพ่อวัดเขาตะเครา แต่ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง29นิ้ว หน้าตักกว้าง21นิ้ว หุ้มทองทั้งองค์ พศ.2527คืนนั้น ท่านสละทองไหลออกมาทั้งองค์ เห็นเป็นพุทธลักษณะงดงาม
พศ.2370ร.1สุนทรภู่ล่องเรือไปเมืองเพรชเขียนถึงหลวงพ่อเขาตะเคราไว้ว่า "เขานับถือลืออยู่แต่บุราณ ใครบนบานพระรับช่วยดับร้อน" ในนิราศเกาะจานของพระมหามนตรี ก็กล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขาตะเคราเช่นกัน
องค์สุดท้ายคือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ว่าลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี ถูกอัญเชิญไว้ที่วัดไร่ขิง ริมฝั่งแม่น้ำ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง4ศอก2นิ้ว สูง4ศอก 26นิ้ว ลักษณะการสร้างแบบช่วงอยุธยาตอนปลาย
วัดไร่ขิงสร้างพศ.2395 โดยสมเด็จพุฒาจารย์(พุก) วัดศาลาปูน อยุธยา ซึ่งเกิดขึ้นที่อ.นครชัยศรี เห็นว่าถิ่นของท่านขาดวัดที่เป็นศรีสง่า จึงร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดไร่ขิงขึ้นมา
พศ.2456 สมเด็จสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ เสด็จมาตรวจวัดไร่ขิง จึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า"วัดมงคลจินดาราม" แต่ชาวบ้านยังเรียกวัดไร่ขิงอยู่จนปัจจุบัน
ช่วงกรุงศรีแตกช่วง2310 คนโบราณกลัวพระพุทธรูป จะถูกเผาทำลายจึงต่อแพซ่อนท่านไว้ข้างใต้ ปล่อยลงแม่น้ำไหลลงทางใต้ เพื่อให้พ้นมือคนใจบาปหยาบช้า ท่านคงลอยน้ำมาด้วยวิธีนี้
โฆษณา