20 ธ.ค. 2019 เวลา 14:30 • ความคิดเห็น
พระพุทธรูปที่ถูกค้นพบเป็นข่าวเกรียวกราวที่สุด คงเป็นพระพุทธรูปทองคำ วัดไตรมิตรที่ถูกค้นพบ พศ.2498 จากนั้นก็พบพระพุทธรูปทองคำอีกหลายองค์ องค์ที่ใหญ่ที่สุด&เป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด หนักถึง5ตัน คือพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร
ตามประวัติที่สำนักนายกพิมพ์แจกในงาน ทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดไตรมิตร วันที่ 18 ต.ค พศ.2514 กล่าวว่า
"เดิมพระพุทธรูปทององค์นี้ ประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย แต่หายสาบสูญไป เพราะมีผู้หุ้มด้วยปูนปั้น มีข้อสันนิษฐาน 3ข้อ 1.หุ้มตั้งแต่พระบรมราชาธิราช(ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จตีอาณาจักรสุโขทัย ชาวสุโขทัยกลัวจะอัญเชิญ พระพุทธรูปทองคำลงมา จึงปั้นปูนหุ้มเอาไว้
2.หุ้มเพราะกลัวข้าศึกจะเอาไฟมาสำรอกทองไป
3.ขุนนางผู้ใหญ่เห็นลักษณะงดงาม จึงอัญเชิญมาประดิษฐาน ที่วัดสกุลของตน แต่ปรากฎหลักฐานว่า อยู่วัดโชตินาราม(วัดพระยาไกร)เมื่อร.3นี่เอง
1
วัดโชตินาราม เป็นวัดที่พระยาไกรโกษา(บุญมา) กรมพระคลังวังหน้า ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างตั้งแต่เป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี สมัยร.3พอร.5แถวบางคอแหลมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีบ.ฝรั่งมาเช่าทำท่าเรือมาก วัดพระยาไกรถึงถูกบุกรุกจนกลายเป็นวัดร้าง พระขนาดเล็กถูกอัญเชิญไปวัดต่างๆ เหลือองค์ใหญ่องค์เดียว สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ เจ้าคณะแขวงพระนครใต้ มีบัญชาให้พระวีรธรรมุนี(ไสว ฐิตวีโร) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร(วัดสามจีน) ไปอัญเชิญมาไว้ที่วัดสมัยร.6
องค์พระมีขนาดใหญ่โตมากเมื่อขนขึ้นรถบรรทุกบ.East asia ผู้เช่าที่ดินวัดจัดให้นั้น ต้องเอาไม้ค้ำสายไฟ สายโทรศัพท์ให้พ้นพระเกตุมาลามาตลอดทาง ตอนนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเป็น พระพุทธรูปทองคำ วิหารวัดไตรมิตรก็เก่าผุพัง สร้างเพิงสังกะสีกันแดด-ฝน อยู่ข้างพระเจดีย์หน้าโบถส์ จึงบอกว่าวัดใดต้องการจะยกให้ มีหลายวัดต้องการเอาไปเป็นพระประธาน แต่เกิดเหตุติดขัดทุกรายไป
พศ.2498 มีการฉลอง 25พุทธศตวรรษ ในปี2500 วัดไตรมิตรเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีใครเหลียวแล จึงสร้างวิหารให้ประดิษฐาน แต่25 พ.ค พศ. 2498 ขณะขนย้าย ปูนที่พระพักตร์กะเทาะออก เห็นเนื้อในเป็นทองคำ จึงกะเทาะทั้งองค์&เก็บเป็นความลับ จนเป็นข่าวพศ.2499
จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ ยอมรับว่าพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ งดงามอย่างหาที่สุดมิได้ สันนิษฐานว่าสร้างสมัยสุโขทัย ผู้สร้างคงเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค สันนิษฐานว่าเป็นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของสุโขทัย โปรดให้สร้างพิหารหลวงขึ้นกลางสุโขทัย เพื่อใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ซึ่งหลักศิลาจารึกกล่าวว่า
"กลางกรุงสุโขทัยมีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารส มีพระพุทธรูปอันใหญ่งดงาม"
พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตักกว้าง 3.10ม. สูงจากฐานถึงยอดเกตุมาลา 3.94ม. ถอดออกได้9ชิ้น เนื้อทองบริสุทธิ์จากฐานขององค์พระ 40% เรื่อยถึงพระพักตร์ ทองบริสุทธิ์80% ส่วนยอดเป็นทอง99.99% มีน้ำหนักเฉพาะยอด 45กก.
มีพุทธลักษณะดังนี้
พระเกตุมาลายาวสูงเรียวปลายพริ้วสะบัด
เส้นพระศกขมวดเป็นทักษิณาวัตร&ก้นหอย
พระพักตร์รูปไข่ พระปรางเรียวงามรับกับพระพักตร์
พระขนงโก่งงามเป็นสัน
พระนาสิกโด่งค่อนข้างงุ้ม
พระโอษฐ์เรียวงามเหมือนจะแย้มสรวล
พระกรรณยาวเหมือนกลีบดอกบัว
พระอังสกุฎใหญ่มนลงมารับกับพระพาหา
พระอังสา&พระอุระผึ่งผายดุจพญาราชสีห์
พระรากขวัญลาดลงมารับกับเต้าถัน
พระกัประกลมกลืนไม่แข็งกระด้าง
พระกรดุจงวงไอยรา
พระกฤษฎีลาดโค้งอ่อนช้อยมายังพระเพลา
จีวรบางเบาแนบกับองค์พระ
สังฆาฎิยาวถึงพระนาภีชายพริ้วดุจเขี้ยวตะขาบ
พระนาภีโค้งนูนพองาม
พรอิริยาบท นั่งขัดสมาธิ จับตาต้องใจ นิ้วพระหัตถ์บนพระชานุเรียวกลม ไม่เสมอกัน
หลังจากนั้นมีข่าวพบพระพุทธรูปทองคำ ที่วัดอื่นๆเช่นกัน เช่น พระพุทธรูปทองคำโบราณ ที่วัดหงส์รัตนราม บางกอกใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ หน้าตักกว้างเมตรเศษ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า สันนิษฐานว่าพระเจ้าตากอัญเชิญ มาจากเมืองเหนือ สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาพระสมเด็จสุริเยนทรามาตย์ ราชินีในร.2สร้างโบถส์ใหม่ ทรงสร้างพระประธานที่ใหญ่ขึ้น ทรงแปลงอุโบสถเก่าเป็นพระวิหาร ต่อมาถูกทิ้งร้าง มีผู้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กไป เหลือแต่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ถูกทิ้งจนต้นไม้เลื้อยปกคลุม
26 ส.ค พศ. 2499
พระสุขุมธรรมาจารย์ เจ้าอาวาส ได้ทำความสะอาดวิหาร ขณะนั้นปูนที่พระอุระก็กะเทาะออก ให้เห็นเป็นทองคำ ตรงฐานมีอักษรจารึกไว้ นายฉ่ำ ทองคำวรรณ บรรณารักษ์โท กรมศิลป์ถอดความได้ว่า
พระพุทธศาสนายุกาลล่วงได้ 1963 ตรงกับปีเถาะ เดือน3 ขึ้น1ค่ำ สมเด็จท้าวพระยาศรียศราช...(ชำรุดอ่านไม่ได้)...มีพระประสาทะ ศรัทธาทรงบำเพ็ญพระราชทาน แบ่งพระราชกุศล2สถาน คือ พระราชทานถวายภัตตาหาร แด่พระนนทปัญญา เถระเจ้าส่วนหนี่ง พระราชทานถวายเป็นพระพุทธบูชา แด่พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ คือพระราชพัสดุ(ที่ดิน) เริ่มตั้งแต่สระน้ำจนถึงดงหวาย6ไร่ ..(ชำรุดอ่านไม่ได้)....ส่วนพระราชโอรส-ธิดา&พระชายา พร้อมด้วยพระราชสมบัติทั้งหมด ขอถวายเป็นพุทธบูชา จนสิ้นประยูรวงศ์ทั้งหลาย ท่านผู้ใดเลื่อมใจจะบูรณะก็เชิญเถิด"
ต่อมามีการสร้างศาลาตรีมุข เป็นอาคารคอนกรีต3มุข มีประตูเหล็ก อัญเชิญมาวันที่ 27 กพ. พศ.2501(ปัจจุบันถูกเชิญมาประดิษฐานที่วิหารใหญ่)
มีผู้รบเร้าให้วัดมหรรณพาราม สำรวจ"หลวงพ่อพระร่วง" พระพุทธรูปในวิหารที่อัญเชิญมาจากเมืองเหนือ สมัยร.3 ทางวัดลอกทองตรงอุระด้านขวาพบ เป็นทองเหลืองอร่าม จนท.กรมศิลปากรแจ้งว่ามีทอง60% มีรอยต่อ9แห่งเช่นเดียวกับพระพุทธรูป ทองคำวัดไตรมิตร
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างสมัย สุโขทัยหน้าตักกว้าง1วา1ศอก1คืบ5นิ้ว สูง1วา3ศอก1คืบ7นิ้ว
ประดิษฐานที่วิหารจนปัจุจุบัน
8 พ.ค พศ.2500
นสพ.ลงข่าวว่าพบพระพุทธรูป ทองคำอีก2องค์ ประดิษฐานในอุโบสถวัดพนัญเชิง จ.อยุธยา หน้าตักกว้าง3ศอกองค์หนึ่ง &4ศอกอีกองค์หนึ่ง มีสีดุจนาก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าสร้างปลายกรุงสุโขทัย รุ่นเดียวกับพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก กรมศิลปากรแจ้งว่าเป็นทองสัมฤทธิ์
อาจมีอีกหลายวัดที่มี พระพุทธรูปทองคำทั้งเปิดเผย&ไม่เปิดเผย ชาวพุทธทั้งหลาย ไม่ว่าท่านจะเป็นทอง&ปูน ก็คือตัวแทนแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นกัน
โฆษณา