25 ม.ค. 2020 เวลา 00:19 • สุขภาพ
สิ่งที่ได้มาฟรีๆ เพื่อการผลิตสินค้าเกษตร ตอน2of2 (ใจเกษตร EP15)
สิ่งที่ได้มาฟรีๆ จากธรรมชาติ
ต่อจาก EP ก่อนนี้ พูดถึง แสงแดด น้ำ และไนโตรเจนไปแล้ว และยังมี
- แอมโมเนีย (NH3) และไนเตรต (NO3)
- โปรตีนพืช
- อินทรียวัตถุ
- จุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ
ที่ได้มาฟรีๆ และเป็นประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าเกษตร มีรายละเอียด ดังนี้
• แอมโมเนีย (NH3) และไนเตรต (NO3)
เป็นการสะสมธุาตไนโตรเจนที่เกิดจากการหมักอินทรียวัตถุในดินและในน้ำ
เช่นจากการเลี้ยงปลาก็จะเกิดขี้ปลาสะสมในน้ำเลี้ยงปลา ในรูปแบบของสารแอมโมเนียและไนเตรต หากทิ้งไว้นานๆ จะเป็นอันตรายกับปลาที่เลี้ยง
จะต้องแก้ไขโดยเปลี่ยนน้ำปลา หรือแก้ไขโดยใส่จุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงลงไปในน้ำ หรือเติมออกซิเจนลงไปในน้ำ
แต่แอมโมเนียและไนเตรตนี้ กลับเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์กับพืช การจะได้แอมโมเนียและไนเตรตมาใช้ประโยชน์ ต้องออกแบบการเลี้ยงปลาผสมกับการปลูกพืช เช่น Aquaponic
2
หรือการรดต้นไม้ด้วยน้ำ จากการเปลี่ยนถ่ายน้ำเสียที่ใช้เลี้ยงปลา
• โปรตีนพืช (เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์)
โปรตีน เป็นธาตุอาหารที่สำคัญที่สุดในโลก เพราะทิศทางของความต้องการโปรตีนจากทั้งคนและสัตว์เลี้ยงทั่วโลกจะทวีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โปรตีนเป็น สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน (N) การจะได้มาฟรีๆ เราต้องใช้พืชดึงมาจากสิ่งแวดล้อม นั้นคือจากอากาศ ดิน และน้ำ
ยกตัวอย่างเช่น ใบและฟักจามจุรี เป็นโปรตีนพืชของวัว ใบ,เปลือกไม้กระถิน เป็นโปรตีนพืชของแพะและหมูป่า แหนแดง เป็นโปรตีนพืชของเป็ดไก่ ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่มีโปรตีนสูง เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าหลายๆชนิด ถั่วหลายๆชนิด เป็นต้น
Feed Conversion Ratio
เพื่อเปลี่ยนโปรตีนพืช ให้เป็นโปรตีนสัตว์ เป็นโปรตีนที่จำเป็นต่ออาหารคน
สัตว์แต่ละประเภท มีอัตราแลกเนื้อแตกต่างกัน
จากกราฟ จะเห็นว่าแมลง และปลา มีอัตราแลกเนื้อดีมากๆ
คือการผลิตแมลงและปลา จะใช้โปรตีนพืชน้อยกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ
ดังนั้น การนิยมกินปลาเป็นอาหาร ช่วยลดภาระการผลิตอาหารโลก
หรือลดการใช้ทรัพยากรโลกได้มากเลยที่เดียว
• อินทรียวัตถุ
ส่วนใหญ่ก็คือ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งได้กล่าวใน Zero Waste
อินทรียวัตถุประกอบด้วยธาตุหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือธาตุคาร์บอน (C) นอกจากนี้มีธาตุ ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟรอรัส (P) และ กำมะถัน (S)
เกษตรกรตามแนวทางวนเกษตร เขาจะเห็นคุณค่าใบไม้ที่ร่วงจากไม้ยืนต้น ไม่นำไปเผาทิ้ง แต่จะแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก หรือใช้เป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน
• จุลินทรีย์
จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นแร่ธาตุที่พืชดูดซึมได้
เนื่องจากการใส่ปุ๋ยพืชสดเช่น ใบไม้ ฟาง ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุลงไปที่โคนต้น แล้วปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นการรอให้จุลินทรีย์ในบริเวณนั้นซึ่งมีน้อยเกินไป พืชจะไม่ได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ
เพราะการย่อยสลายยังไม่สมบูรณ์ รากพืชยังดูดซึมธาตุอาหารจากปุ๋ยพืชสดไม่ได้ และแร่ธาตุยังไม่ทันย่อยสลายได้หมด แล้วสูญเสียไปทางอากาศ หรือย่อยเป็นแร่ธาตุได้ช้ากว่าที่พืชต้องการใช้
จึงมีการทำปุ๋ยหมักโดยใช้ขี้วัวผสมกับอินทรียวัตถุ ในสัดส่วน 1 ต่อ 4
- ขี้วัว 1 ส่วน
- อินทรียวัตถุ 4 ส่วน เช่น ผักตบชวา ฟาง ต้นข้าวโพด
ขี้วัวนั้นมีแร่ธาตุอาหารอยู่แล้ว แถมยังมีจุลินทรีย์ติดมาในท้องวัวด้วย
แต่อาจมีการเติมจุลินทรีย์ย่อยสลายเพิ่ม จากที่มีในขี้วัว เช่น พด.1
สิ่งที่ได้มาฟรีๆ (Free Thing) อาจจะมีมากกว่านี้ ไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมด โดยสรุปคือ เป็นการพิจาณาการใช้ประโชยน์จากธรรมชาติเพื่อการผลิตสินค้าเกษตรให้ต้นทุนถูกที่สุด
บทสรุปแนวทาง Zero Waste จาก EP ก่อน และสิ่งที่ได้มาฟรีๆ ใน EP นี้
ขอสรุปรวมแนวทางการทำเกษตร แบบใจเกษตร ได้ 3 ข้อ
1
ข้อ 1. ใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร "ภายในพื้นที่ฟาร์ม"
ข้อ 2. ใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร "จนเหลือน้อยที่สุด"
ข้อ 3. รู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้มาฟรีๆ "เพื่อให้ต้นทุนถูกที่สุด"
1
ใน EP ต่อไปจะกล่าวถึง คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีเทน (CH4) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สิ่งที่ได้มาฟรีๆ และปรากฏการณ์เรือนกระจก ในการทำการเกษตร
โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไป ** ทุกวันเสาร์ **
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา