Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2020 เวลา 02:14 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็ม (針灸學)
ภาคทฤษฎี
บทที่ 9
จุดเชื่อมหรือจุดลั่ว (絡穴)
จุดเชื่อม (絡穴) มีความหมายว่าจุดที่เชื่อมต่อ หรือก็คือเป็นจุดที่ทำการเชื่อมต่อเส้นลมปราณที่มีความสัมพันธ์แบบนอกในเข้าไว้ด้วยกัน ใน 12 เส้นลมปราณหลักต่างจะมีจุดเชื่อมอยู่เส้นละหนึ่งจุด โดยจุดเชื่อมจะอยู่ตรงบริเวณแขนขาที่อยู่ใต้ศอกหรือหัวเข่าลงไป มีทั้งหมด 12 จุดบน 12 เส้นลมปราณหลัก บวกกับจุดเชื่อมของเส้นเยิ่นม่าย จุดเชื่อมของเส้นตูม่าย และจุดเชื่อมใหญ่ของเส้นม้าม รวมทั้งสิ้น 15 จุดด้วยกัน แต่ในซู่เวิ่น (素問) ได้มีการบันทึกไว้ว่า “กระเพาะอาการมีจุดเชื่อมใหญ่ ชื่อว่าซวีหลี่ (虛里) ทะลุกระบังลมและเชื่อมกับปอด และออกมาตรงตำแหน่งใต้ราวนมขวา” ด้วยเพราะเหตุนี้ หากรวมจุดซวีหลี่เข้าอีกหนึ่งจุด ก็จะทำให้มีจุดเชื่อมทั้งหมด 16 จุดด้วยกัน
หน้าที่หลักของเส้นเชื่อมคือการเสริมการเชื่อมต่อของ 12 เส้นลมปราณหลักที่มีความสัมพันธ์แบบนอกในให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการกล่าวว่า “หนึ่งเส้นเชื่อมทะลวงสองเส้นลมปราณ” นั่นเอง
อีกหน้าที่หนึ่งของเส้นเชื่อมก็คือการกำกับเส้นเชื่อมทั้งหมดทั้วร่างกาย หากเส้นเชื่อมทั้ง 15 เส้นเป็นเส้นเชื่อมใหญ่แล้ว นอกจากนี้ก็จะยังมีเส้นเชื่อมย่อย เส้นเชื่อมแขนงที่แตกย่อยลงไปอีก เส้นเชื่อมใหญ่จะมีหน้าที่และความสามารถในการกำกับดูแลเหล่าเส้นเชื่อมปลีกย่อยเหล่านี้
นอกจากนี้ เส้นเชื่อมยังมีหน้าที่ในการลำเลียงอิ๋งชี่ (營氣) เว่ยชี่ (衛氣) และเลือดลมไปทำการหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และการที่จะบรรลุเป้าหมายการทำงานนี้ได้ก็จะต้องอาศัยเส้นเชื่อมปลีกย่อยทั้งหลายในการเชื่อมผสาน
สำหรับพยาธิสภาพของโรคที่เกี่ยวกับเส้นเชื่อมนั้น แม้ในหวงตี้เน่ยจิง (黃帝內經) จะมีการกล่าวถึงเพียงเล็กน้อย แต่จากตัวอย่างของพยาธิสภาพที่ยกมาก็พอจะทราบได้ว่า ลักษณะอาการของโรคที่สะท้อนออกมาที่เส้นเชื่อมนั้น โดยหลักแล้วมีความคล้ายคลึงกับลักษณะอาการของเส้นลมปราณหลัก หากดูจากลักษณะของการเชื่อมต่อและความเกี่ยวพันแล้ว ลักษณะอาการของโรคไม่เพียงแต่จะสะท้อนจากอวัยวะภายในและแสดงออกมาที่เส้นลมปราณหลักเท่านั้น หากยังจะแสดงออกมาที่เส้นเชื่อมที่มีการเชื่อมต่ออีกด้วย
เมื่อเราเข้าใจความเกี่ยวพันของระบบเส้นเชื่อมและเส้นลมปราณหลักดังนี้แล้ว ในการรักษาทางคลินิก เราก็จะสามารถอาศัยคุณสมบัติการเชื่อมโยงของเส้นเชื่อมมาทำการรักษาโรคได้ ยกตัวอย่างเช่นอาการป่วยของปอดที่มีลักษณะของการไอและหอบหืดนั้น หากเราเลือกใช้จุดเชื่อมของปอดคือเลี่ยเชวีย ไม่เพียงแต่จะสามารถรักษาอาการของปอดได้เท่านั้น หากยังจะสามารถรักษาอาการของเส้นลำไส้ใหญ่ เป็นต้นว่าอาการปวดฟัน ปวดต้นคอได้อีกด้วย หรืออย่างเช่นจุดเฟิงหลง ไม่เพียงแต่จะสามารถรักษาอาการของกระเพาะอาหารที่เกี่ยวกับโรคเจ็บคอ บ้าคลั่ง หรือถอดเสื้อผ้าวิ่งหนี แล้ว หากยังจะสามารถรักษาอาการของม้ามที่เกี่ยวกับอาการหน้าบวม แขนขาบวม หัวใจอึดอัด ตัวหนัก หรืออาเจียน ได้อีกด้วย
2 บันทึก
3
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
2
3
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย