5 ม.ค. 2020 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
“โศกนาฏกรรมเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก (Hindenburg Disaster) โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ทางอากาศรายแรกๆ ในประวัติศาสตร์การบิน” ตอนที่ 3
1
ภายหลังสงคราม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้น กองทัพจึงเริ่มสนใจในเรือเหาะเซปเปลิน
ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) กองทัพเยอรมันเริ่มสร้างกองเรือเหาะขึ้น ทำให้บริษัทของเซปเปลินขยายใหญ่ตามไปด้วย
1
กองทัพเริ่มจะใช้เครื่องบินในการรบ แต่เรือเหาะเซปเปลินสามารถบินได้สูงกว่าเครื่องบินทั่วๆ ไปและสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า
นอกจากนั้น เครื่องบินส่วนใหญ่สามารถบินได้เพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงก็ต้องลงจอด ทำให้ระยะทางที่บินไปนั้นไม่ไกล ในขณะที่เรือเหาะเซปเปลินสามารถบินได้เป็นวันๆ และใช้ในการนำทหาร เสบียง รวมถึงคลังอาวุธเข้าไปในพื้นที่ของศัตรู
1
นอกจากนั้น เรือเหาะยังใช้ในการสอดแนมภูมิประเทศของศัตรูและยังใช้ในการขนเสบียงเป็นระยะทางไกลๆ
ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เยอรมนีเริ่มจะส่งเรือเหาะเซปเปลินไปทิ้งระเบิดที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งลอนดอนเองก็ไม่สามารถจะป้องกันเมืองได้ เนื่องจากเรือเหาะเซปเปลินอยู่สูงเกินกว่าที่เครื่องบินจะโจมตีได้ หรือถึงโจมตีได้ หากยิงกระสุนใส่เรือเหาะเซปเปลิน ผลที่ได้ก็คือเกิดรูในบริเวณที่เก็บก๊าซซึ่งมีอยู่หลายจุด ก๊าซอาจจะรั่วบ้าง ทำให้เรือเหาะเซปเปลินจะลอยต่ำลงมาเล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถบินกลับเยอรมนีได้
1
ในเวลานั้น เรือเหาะเซปเปลินกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อกองทัพเยอรมันมาก มากซะจนชาวเยอรมันเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริโภค
บริเวณที่เก็บก๊าซไฮโดรเจนในเรือเหาะนั้นมีส่วนประกอบของลำไส้วัว ซึ่งนำมาร้อยเรียงกัน
เรือเหาะหนึ่งลำต้องใช้ลำไส้วัวประมาณ 250,000 ตัวในการสร้างเรือเหาะหนึ่งลำ
1
ในเวลาปกติ ลำไส้วัวใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ไส้กรอก แต่ในช่วงสงคราม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้ลำไส้วัวจำนวนมาก จึงมีการห้ามทำไส้กรอกในเยอรมนีรวมถึงประเทศต่างๆ ที่อยู่ใต้การควบคุมของเยอรมนี
ลำไส้วัว
แต่ต่อมาไม่นาน อังกฤษก็หาวิธีที่จะจัดการกับเรือเหาะเซปเปลินได้แล้ว
อังกฤษได้คิดค้นกระสุนที่ระเบิดเวลายิงออกไปกระทบวัตถุ ซึ่งเมื่อกระสุนนี้ยิงไปโดนเรือเหาะ ก็จะเกิดไฟไหม้ ทำให้เรือเหาะทั้งลำไหม้ เรือเหาะเซปเปลินจึงไม่ได้มีบทบาทมากเท่าที่ควร
ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) เซปเปลินได้เสียชีวิตด้วยวัย 78 ปี ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะจบเพียงไม่นาน
1
ต่อมา เอคเนอร์ได้ขึ้นเป็นผู้บริหารบริษัทเซปเปลิน และบริษัทเซปเปลินก็ได้วางแผนจะทำสายการบินใหม่อีกครั้ง
ฮิวโก้ เอคเนอร์ (Hugo Eckener)
บริษัทเซปเปลินได้ทำการสร้างเรือเหาะเซปเปลินใหม่อีกสองลำและเริ่มออกบิน
แต่เนื่องจากสนธิสัญญาที่เยอรมนีได้เซ็นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบุว่าเยอรมนีต้องมอบเรือเหาะทั้งหมดให้แก่ชาติที่ชนะสงครามและยังไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างเรือเหาะขนาดใหญ่อีกด้วย
พอเรื่องเป็นอย่างนี้ บริษัทเซปเปลินจึงเปลี่ยนไปทำหม้อที่ทำมาจากอลูมิเนียมแทน
แต่เอคเนอร์นั้นนับว่าเป็นผู้บริหารที่ฉลาดมากคนหนึ่ง เมื่อมีการส่งมอบเรือเหาะเซปเปลินให้แก่ชาติที่ชนะสงครามแต่ละแห่งนั้น ไม่มีเรือเหาะลำไหนที่ถูกส่งไปให้สหรัฐอเมริกาเลย และสหรัฐอเมริกาก็ไม่เชี่ยวชาญการสร้างเรือเหาะ
1
เอคเนอร์ตระหนักว่าบริษัทที่เชี่ยวชาญการสร้างเรือเหาะก็คือบริษัทเซปเปลินนี่แหละ ดังนั้นในปีค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) เอคเนอร์จึงติดต่อไปยังสหรัฐอเมริกา พร้อมถามว่าหากเยอรมนีจะสร้างเรือเหาะให้สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจะว่ายังไง
สหรัฐอเมริกาตอบตกลงทันที ทำให้บริษัทเซปเปลินได้โอกาสสร้างเรือเหาะที่ใหญ่และดีกว่าเดิม ถึงแม้บริษัทจะไม่สามารถเก็บเรือเหาะนี้ไว้ได้ ต้องส่งมอบให้กับสหรัฐอเมริกา แต่อย่างน้อยก็มีโอกาสในการทดลองสิ่งใหม่ๆ
ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) เรือเหาะลำใหม่ก็เสร็จสมบูรณ์
เรือเหาะลำใหม่นี้มีชื่อว่า “ยูเอสเอส ลอสแอนเจลิส (USS Los Angeles)”
ยูเอสเอส ลอสแอนเจลิส (USS Los Angeles)
ยูเอสเอส ลอสแอนเจลิสบินข้ามมหาสมุทรแอนแลนติกไปยังนิวเจอร์ซีย์โดยใช้เวลาสี่วัน
เรือเหาะลำใหม่นี้มีจุดเด่นที่แตกต่างจากเรือเหาะที่ผ่านๆ มา นั่นคือเรื่องของความปลอดภัย
เรือเหาะลำใหม่นี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับก๊าซไฮโดรเจน แต่เรือเหาะลำใหม่นี้ออกแบบมาให้รองรับก๊าซฮีเลียม
ก๊าซไฮโดรเจนนั้นติดไฟได้ง่าย การก่อสร้างเรือเหาะลำที่ผ่านๆ มานั้นจึงต้องระมัดระวังมากไม่ให้เกิดประกายไฟ ซึ่งจะทำให้เรือเหาะไหม้ แต่ก๊าซฮีเลียมนั้นไม่ติดไฟ มีความปลอดภัย
1
เรือเหาะที่ใช้ก๊าซฮีเลียมนั้นปลอดภัยกว่าเรือเหาะที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนมาก แต่สาเหตุที่เรือเหาะที่ผ่านมาไม่ใช้ก๊าซฮีเลียม ก็เนื่องจากก๊าซฮีเลียมนั้นมีราคาแพงและหายาก โดยก๊าซฮีเลียมส่วนมากจะอยู่ในสหรัฐอเมริกา
กองทัพเรือสหรัฐได้ใช้งานยูเอสเอส ลอสแอนเจลิสจนถึงปีค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) ก่อนจะเลิกใช้เรือเหาะลำนี้
เส้นทางของเรือเหาะจะเป็นอย่างไรต่อไป ติดตามได้ในตอนหน้านะครับ
โฆษณา