18 ม.ค. 2020 เวลา 01:15 • สุขภาพ
การแพ้ยาลดกรดยูริก Allopurinol และการตรวจสารพันธุกรรมก่อนการเริ่มยา 😪❗💊💊💊
Stevens-Johnson Syndrome
HLA-B*5801 เป็นยีนหนึ่งที่สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในร่างกาย และมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการแพ้ยาลดกรดยูริกที่สำคัญมากที่สุดสำหรับโรคเกาต์ นั่นคือ Allopurinol
การแพ้มีได้ตั้งแต่ Hypersensitivity syndrome, Stevens-Johnson Syndrome, Toxic Epidermal Necrolysis ลักษณะมีไข้ แผลพุพองตามเยื่อบุปาก ตา อวัยวะเพศ และผิวหนัง สร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก มีโอกาสเสียชีวิตจากติดเชื้อแทรกซ้อน และใช้เวลาเป็นเดือนๆกว่าจะหาย โดยอาการแพ้พบได้ประมาณ 2% ของผู้ที่ทานยา
งานวิจัย case-control study หนึ่งในไทยพบว่า ผู้ป่วยที่ทาน Allopurinol แล้วแพ้ยามียีนHLA-B*5801ทุกคน (27คน, 100%) ขณะที่ผู้ป่วยไม่แพ้ยามียีนตัวนี้เพียง 7 คนจาก 54 คน (13%)
[OR 348.3, 95%CI 19.2-6336.9]
ความหมายคือไม่ใช่ทุกคนที่มียีนนี้จะแพ้ยา แต่คนที่มียีนนี้จะเพิ่มโอกาสที่จะแพ้เยอะเลยทีเดียว
และจากการเก็บข้อมูลคนจีน (Han Chinese) พบยีน HLA-B*5801 ในประชากรถึง 12% หรือประมาณ 1 ใน 10 คนมียีนนี้อยู่ ซึ่งคนไทยพบยีนนี้ในจำนวนใกล้เคียงกัน คือ 12% ถึง 18% ในทางกลับกันคนญี่ปุ่นและยุโรปพบยีนนี้น้อยกว่า 1%
พอสรุปได้ว่า คนไทยเสี่ยงที่จะแพ้ยาค่อนข้างมาก
การตรวจยีน HLA-B*5801 จึงค่อนข้างจำเป็นสำหรับการเริ่มยา Allopurinol ในคนไทย
การตรวจยีนใช้เงินประมาณ 1000-3000 บาท ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์กว่าจะได้ผล ซึ่งถ้าพบยีนนี้จะเปลี่ยนเป็นยาลดกรดยูริกอีกตัวคือ Probenecid ที่ช่วยขับกรดยูริกทางปัสสาวะเหมาะสำหรับคนที่มียูริกทางปัสสาวะออกน้อยและค่าไตดี อีกตัวคือ Febuxostat ที่กลไกคล้าย Allopurinol คือลดการสร้างกรดยูริก
อย่่างไรก็ตามในเชิงสาธารณสุขความคุ้มค่าที่จะตรวจทุกคนที่จะทานยาต้องพิจารณากันต่อ ทั้งประสิทธิภาพยาallopurinolที่ดีมากๆ ค่ายาทางเลือกที่แพง การชะลอการเริ่มการรักษาและการไม่ได้เริ่มการรักษาเพื่อลดกรดยูริกที่เหมาะสม อาจทำให้ผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้
1
ผลเลือดของผมเอง พบยีนนี้ทำให้ผมไม่ควรใช้ยา Allopurinol
References
1.Saokaew, S., Tassaneeyakul, W., Maenthaisong, R., & Chaiyakunapruk, N. (2014). Cost-effectiveness analysis of HLA-B*5801 testing in preventing allopurinol-induced SJS/TEN in Thai population. PloS One, 9(4), e94294. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0094294
2.Cheng, H., Yan, D., Zuo, X., Liu, J., Liu, W., & Zhang, Y. (2018). A retrospective investigation of HLA-B*5801 in hyperuricemia patients in a Han population of China. Pharmacogenetics and Genomics, 28(5), 117–124. https://doi.org/10.1097/FPC.0000000000000334
3.Tassaneeyakul, W., Jantararoungtong, T., Chen, P., Lin, P.-Y., Tiamkao, S., Khunarkornsiri, U., … Tassaneeyakul, W. (2009). Strong association between HLA-B*5801 and allopurinol-induced Stevens-Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis in a Thai population. Pharmacogenetics and Genomics, 19(9), 704–709. https://doi.org/10.1097/FPC.0b013e328330a3b8
โฆษณา