17 ม.ค. 2020 เวลา 01:02 • สุขภาพ
การรักษาตอนเกาต์กำเริบ
อาการข้ออักเสบจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อ
โรคเกาต์มักเป็นแค่ข้อเดียวในระยะแรก และข้อที่เกิดการอักเสบบ่อยที่สุดคือ ข้อนิ้วโป้งเท้า
อาการข้ออักเสบ มักเป็นตอนตื่นนอน จะปวดวาบๆ จนเดินลงน้ำหนักไม่ได้
วิธีรักษาคือ ไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย เจาะเลือด และวินิจฉัย โดยแยกโรคข้ออักเสบอื่นๆออกไป
การวินิจฉัยบางครั้งอาจต้องเจาะน้ำในข้อของข้อที่เกิดการอักเสบ การตรวจนี้จะวินิจฉัยโรคข้ออักเสบได้ดีที่สุด ทั้งโรคข้ออักเสบติดเชื้อหรือโรคข้ออักเสบจากผลึก เช่น เกาต์
การไปพบแพทย์ให้เร็ว นอกจากจะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นโรคเกาต์จริงๆ การเริ่มการรักษาที่เร็ว โดยเฉพาะภายในวันแรกที่เริ่มเป็นจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อเกิดข้ออักเสบ แพทย์จะให้ยากินหรือฉีดยาต่างๆ เช่น ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDS เช่น Ibuprofen Naproxen Diclofenac
หรือยาแก้อักเสบกลุ่ม cox-2 inhibitors ที่มีผลข้างเคียงกัดกระเพาะน้อยกว่า เช่น Celecoxib Etoricoxib
หรือยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น prednisolone dexamethasone
หรือยาโคลชิซีน (colchicine ) ที่มีผลข้างเคียงคือท้องเสียหากรับประทานมากเกินไป
บางกรณีแพทย์อาจให้ยาลดกรดยูริกไปด้วย
การรักษาด้วยตนเองโดยไม่ไปพบแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ และการรักษาด้วยสมุนไพร เท่าที่ค้นหามายังไม่มีงานวิจัยรองรับมากนัก สมุนไพร เช่น ใบยอ ใบย่านาง ใบมะรุม รางจืด เป็นต้น อยู่ในตำรับยาไทย งานวิจัยอย่างใบย่านาง พบมีผลลดการอักเสบละรู้ผลข้างเคียงแน่ชัด
การรักษาที่ทำได้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับยา เช่น การประคบเย็นสามารถช่วยลดการปวดได้ ดื่มน้ำมากๆ ยกขาสูงถ้าขออักเสบบริเวณเท้า
นอกจากนี้การคุมอาหาร ทานอาหารที่แนะนำ ออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ
เกาต์เป็นโรคที่ทำให้ผู้ที่เป็นทุกข์ทรมานมาก แต่เกาต์ก็มีข้อดี นั่นคือทำให้ผู้ที่เป็นโรคหันกลับมาดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้ดียิ่งขึ้นก่อนที่จะเป็นโรคที่รุนแรงกว่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา