Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฉุดคิด
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2020 เวลา 06:04 • ความคิดเห็น
มูลค่าของเงิน แท้จริงแล้วคืออะไร??
ในรูปนี้ มีเงินอยู่เท่าไหร่ครับ??
คำตอบแบบไม่พลิกโผ ก็คือ 1,000 บาท
คนไทยทุกคน รู้ข้อนี้ดี เพราะนี่คือสกุลเงินของชาติเรา
และแบงค์สีเทาใบนี้ ก็มีมูลค่า 1,000 บาท ตามกฎหมายไทย
แต่ถ้าวันพรุ่งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาประกาศว่า ธนบัตร ใบละ 1,000 บาท ที่ผลิตจะถูกยกเลิกทั้งหมด
แบบนี้ แบงค์ พัน เมื่อกี้จะเหลือมูลค่าเท่าไหร่ครับ??
ที่ยกตัวอย่างนี่เพื่อจะ ให้เห็นถึง มูลค่าที่แท้จริงของ เงินตรา ที่โลกเราใช้ในปัจจุบัน
แท้จริงแล้ว มันไม่ได้มีมูลค่าอะไร เหมือนดั่งที่มันมี
มันเป็นเพียง มูลค่า ที่ได้รับการยอมรับจากทุกคน ต่างหาก มันถึงมีมูลค่า
แบงค์พัน มีมูลค่าเพราะว่า คนที่ได้รับการยอมรับจากทุกคน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นคนตีพิมพ์ และบอกว่า นี่คือ เงิน 1,000 บาท
แต่วันนึงมันก็จะไม่มีมูลค่าเลยได้ ถ้า ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาบอกว่า ไม่ใช้แล้วนะ
3
จริง ๆ แล้ว ค่าเงินทุกสกุลทั่วโลก ก็เป็นแบบเดียวกันครับ
เพราะได้รับการยอมรับ จากคนอื่น ๆ มันเลยเกิดเป็นมูลค่าขึ้นมา
ยิ่งค่าเงิน ดอลล่าสหรัฐ ยิ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก มันเลยยิ่งมีมูลค่า
สกุลเงิน Cryptocurrency เองก็เช่นกัน สาเหตุที่ Bitcoin มีราคาไม่แน่ไม่นอน นั่นก็เพราะ การยอมรับของ Bitcoin แปรผันไปตาม จำนวนคนที่ยอมรับ
สมมุติว่า ผม สร้างสกุลเงินขึ้นมา เป็น ฉุดคิดคอย สร้างเองใช้เอง คิดว่าจะมีมูลค่ารึเปล่าครับ??
แต่ในทางกลับกัน ถ้าผมสามารถหาคนมาใช้ร่วมด้วย หรือไปบอกว่า สามารถเอาเงินของผมไปจ่ายที่ร้านนั้น ร้านนี้ได้ ฉุดคิดคอย ของผมก็จะมีมูลค่ามากขึ้นตามนั่นเอง
1
นี่แหละครับเป็นสาเหตุที่ ทำไมค่าเงิน Cryptocurrency มันถึงผันผวน เพราะ มีคนเพียงกลุ่มย่อยๆ ไม่กี่คนให้การยอมรับ ค่าเงินนี้
เปรียบเสมือน สระน้ำเล็ก ๆ ที่มีคนอ้วนคนนึงกระโดดลงไป แรงกระเพื่อมเวลาที่มีมันก็ต้องเยอะมาก ตามไปด้วย แต่ถ้าวันนึง คนที่ยอมรับเยอะขึ้น จากสระเล็ก ๆ กลายเป็นมหาสมุทร เด็กอ้วนคนเดิมกระโดดลงไป แรงกระเพื่อม มันก็แทบจะไม่มีอีกต่อไปแล้วนั่นเอง
ไหน ๆ ก็พูดถึง Cryptocurrency แล้ว ขอแถมความรู้ ในเรื่องของ Blockchain ระบบซึ่งเป็นต้นกำเนิด Cryptocurrency ต่าง ๆ เพิ่มหน่อยแล้วกัน
สงสัยกันรึเปล่าครับว่า ทำไม internet ที่มีมาถึง 30 ปีแล้ว มันพึ่งจะ มาทำการแลกเปลี่ยนมูลค่าเงิน อย่างแพร่หลาย ได้ไม่กี่ปีมานี้เอง?
สาเหตุก็เป็นเพราะ ว่า ก่อนหน้านี้ ภาษาที่ใช้ในการส่งข้อมูลหลัก ๆ ที่มีชื่อว่า TCP/IP นั้น มันไม่สามารถ รับ-ส่ง สิ่งที่เป็น "มูลค่า" ได้
คิดภาพตามแบบนี้นะครับ
เวลาเราส่งเมลล์ที่มีไฟล์ รูปไปให้เพื่อน ในเครื่องผมก็ยังจะมีไฟล์รูปนั้นอยู่ และเครื่องเพื่อนก็จะมีไฟล์นั้นเช่นกัน
1
ข้อมูลจะถูก ทำสำเนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนคนที่ส่ง ซึ่งนั่นมันเป็นสิ่งที่ดี ครับ สำหรับการทำเรื่องข้อมูล มีมากชุดยิ่งดี
แต่ถ้าลองคิดดูว่ามันเป็น เงินหละ? เงินจริง ๆ ที่เราใช้กันอยู่
เช่นผมส่ง แบงค์พัน ไปในอีเมลล์ ให้เพื่อน
เพื่อนผมก็จะมีแบงค์พัน และตัวผมก็จะมีแบงค์พัน
ลองคิดดูนะครับ ว่าถ้าคุณทำแบบนี้ได้ สิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร??
น่าจะเป็น ส่งเมลล์ไปให้ทุกคนที่คุณรู้จัก เยอะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช่ไหมครับ เพื่อให้ได้เงินเยอะ ๆ
สบายละ รวยโดยไม่ต้องหาเงิน แค่ส่งเมลล์
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นรับรอง ระบบการเงิน เละเทะครับ
แต่ เราก็ต้องขอบคุณ เจ้า Blockchain ที่มันเกิดขึ้นมานี่แหละครับ ซึ่งทำให้เรา รับ-ส่ง ข้อมูล ที่มี "มูลค่า" ได้
ดังนั้น Blockchain จึงเป็นเสมือน ระบบพื้นฐาน โดยเฉพาะ ในด้านการเงินของโลก ที่จะมาแทนที่ระบบเก่า
ซึ่งจะทำให้การโอนเงินระหว่าง ประเทศ สะดวกสบายยิ่งขึ้น ค่าธรรมเนียม อาจจะไม่มีอีกต่อไป ระยะเวลา T+1 +2 จะไม่มีอีกต่อไป
และอีกหนึ่งความสามารถ ของ Blockchain ที่อยากจะเล่าให้ฟังก็คือ
มันสามารถซื้อ-ขาย ข้อมูลที่มีมูลค่า แบบแบ่งซอยได้
เช่น ในอนาคต เราอาจจะ ซื้อขายคอนโด เพียงพื้นที่ส่วนหนึ่ง ไม่ต้องซื้อ จำนวนเต็ม 1 ห้องอีกต่อไป
1
เสมือนเวลาลงทุนในหุ้น เมื่อ ถึงเวลา ก็รับเงินปันผลตามจำนวนสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่นั่นเอง
อีกอย่างที่อาจจะได้เห็นก็คือ การซื้อขายชื่อ-เสียง ของ ดารานักร้อง นักแสดง
เช่น อาจจะมีเหรียญ BNK ขึ้นมา และให้คนซื้อเหรียญไป เพื่อให้ BNK ไปใช้ลงทุน กับการขยายฐานแฟนคลับ และสุดท้าย ครบกำหนดเวลา คนถือเหรียญ ก็ได้เงินปันผลไปตามผลตอบแทนที่ BNK ทำได้
คราวนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคต อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีเพียงแต่หุ้น ที่จะถูกซื้อ-ขาย ณ ตลาดแห่งนี้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งที่กล่าวมายังเป็นเพียงแค่อนาคต
ผมเพียงแต่บอกว่ามันสามารถทำได้ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ต้องมาดูข้อกำหนดต่าง ๆก่อนว่า ทำได้หรือทำไม่ได้
สำหรับตอนหน้า เราจะได้พบกับ Social Banking กันจริงๆ ซะทีแล้ว หลังจาก คั่นด้วยความรู้เสริม มาถึง 2 ตอน
21 บันทึก
123
45
23
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Digital Disruption
21
123
45
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย