13 ก.พ. 2020 เวลา 07:14 • การศึกษา
เจาะลึกทองคำ EP5 : เราอยู่บนความเสี่ยงของวิกฤตเงินดอลลาร์ ! ทองคำอาจจะกลับมาเป็นหลักประกันของโลก เรื่องที่คุณควรรู้ !
วันนี้ World Maker เอาข้อมูลแบบแน่น ๆ มาฝากคุณผู้อ่านอีกแล้วครับ บทวิเคราะห์เจาะลึกถึงความเป็นไปได้ครั้งนี้ มีที่มาที่ไปยังไงมาดูกัน
1
Session 1 : ค.ศ. 1971 มูลเหตุแห่งความเสี่ยง
1
จุดเริ่มต้นของความเสี่ยงครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1971 หลังจากที่ประธานาธิปดีนิกสันของสหรัฐ ประกาศยกเลิกการใช้เงินดอลลาร์อ้างอิงกับทองคำโดยสินเชิง !
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเหตุการณ์ครั้งนี้ World Maker ได้เคยเขียนสรุปไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมแล้ว ผู้ใดยังไม่ได้อ่าน ควรแวะไปอ่าน EP ก่อน ๆ ได้ที่ https://www.blockdit.com/series/5e219cb5451f2f6841d85b65 เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งหากอ่านในบทความนี้จะเขียนเพียงย่อ ๆ
โลกเราดำเนินมาโดยระบบ Gold Standard ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่19 ที่อังกฤษพิมพ์เงินปอนด์โดยอิงทองคำ มาตรฐานทองคำ คือธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเท่าที่มีทองคำสำรองอยู่ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้สามารถพิมพ์เงินมาใช้อย่างไม่จำกัดได้เพราะจะทำให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ค่าเงินตก และเกิดเงินเฟ้อ
ระบบ Gold Standard นี้ก็เป็นมาอย่างราบรื่นดี จนกระทั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปีค.ส. 1946 ที่อเมริกาได้ขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนอังกฤษ ทำให้เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก แต่ตอนนั้นยังใช้ Gold Standard อยู่ โดยกำหนดว่าใครมีเงินดอลลาร์สามารถซื้อทองคำได้กับ FED ในราคา 35 $/ออนซ์
ก่อนหน้าจะประกาศยกเลิก Gold Standard อเมริกาได้ทำการพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเกินกว่าปริมาณทองคำที่มีอยู่ ซึ่งประมาณการว่ารัฐบาลสหรัฐได้พิมพ์เงินออกมาเป็นมูลค่าเท่ากับทองคำอย่างน้อย 30,000 ตัน ทั้ง ๆ ที่ทองจริงๆมีเพียงประมาณ 6,000 ตันเท่านั้น และด้วยการก่อหนี้ต่าง ๆ ของสหรัฐทำให้รัฐบาลไม่สามารถหาทองคำที่มีมูลค่าเท่ากันมาคืนให้ประเทศต่าง ๆ ได้ รัฐบาลสหรัฐจึงแก้ปัญหาด้วยการยกเลิกการผูกติดเงินดอลลาร์กับทองคำซะง่าย ๆ แบบนั้นเลย
4
หลายคนถามว่าอ้าวทำแบบนั้นได้ด้วยหรือ ก็นั่นแหละครับ อเมริกาทำไปแล้ว ที่นี้ ดอลลาร์ก็เลยกลายเป็นกระดาษใบนึงที่ไม่ได้อ้างอิงกับอะไรเลย สามารถพิมพ์มาใช้เท่าไหร่ก็ได้ แต่ที่มันยังมีมูลค่าเพราะอเมริกาตอนนั้นเป็นมหาอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและกำลังทหาร
2
ประวัติศาสตร์ของระบบ Gold Standard เพิ่มเติม
นับตั้งแต่นั้นมาระบบการเงินโลกเปลี่ยนเป็นระบบการเงินกระดาษ (Fiat currency system) คือ FED สามารถพิมพ์เงินไม่จำกัดโดยไม่มีหลักทรัพย์ หรือทองคำหนุน
บทสรุป Session 1 : หลังจากประกาศยกเลิกการอ้างอิงกับเงินทองคำ เงินดอลลาร์กลายเป็นกระดาษธรรมดาที่ไม่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวมันเองอีกแล้ว
ดังคำกล่าวของ DR. Alan Greenspan อดีตประธาน FED ที่ว่า
"In the Absence of gold standard, there is no way to protect savings from confiscation through inflation. There is no safe store of value"
โดยปราศจากมาตรฐานทองคำ ไม่มีทางที่จะป้องกันเงินออมจากการกลืนกินของอัตราเงินเฟ้อได้ จะไม่มีการเก็บรักษามูลค่าของทรัพย์สินใด ๆ ได้อย่างปลอดภัย
2
Session 2 : การแพร่กระจายของดอลลาร์ และ "หนี้สิน" ท่วมโลก
ค่าเงินดอลลาร์ลดค่าลงอย่างต่อเนื่องหลังจากปี 1971 จนถึงปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์ทางการเงินโดยได้รับแรงหนุนจากการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เพื่อเพิ่มเครดิตและสภาพคล่องให้บริษัทต่าง ๆ และประชาชนมากู้ แต่ปรากฎว่าแม้เฟดจะลดดอกเบี้ยแล้วดูเหมือนจะยังไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก FED จึงใช้มาตรการสำคัญซึ่งจะยิ่งนำทำให้วิกฤตการณ์ครั้งนี้มีความรุนแรงมากขึ้น ที่น่าแปลกก็คือหลังมาตรการนี้ออกมา บริษัทต่าง ๆ และผู้คนต่างก็พากันกู้เงินอย่างบ้าคลั่งโดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงเลย
1
เงินดอลลาร์ที่ผันผวนและลดค่าลงอย่างต่อเนื่องยืนยันคำพูดของ Alan Greenspan ได้เป็นอย่างดี
กราฟแสดงค่าเงินดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1971 มีความผันผวนอย่างมากและมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
คนร้ายตัวสำคัญที่ทำให้บริษัทและคนมูลมากคล้อยตามก็คือสิ่งที่เรียกว่า Q.E. หรือ Quantitative Easing นั่นเอง
Quantitative Easing คืออะไร ?
แปลตรงตัวคือ การผ่อนคลายเชิงปริมาณ ซึ่งในทางปฎิบัติหมายถึงการที่ FED ทำการพิมพ์พันธบัตรดอลลาร์เพิ่มขึ้นและอัดฉีดเข้ามาในระบบเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ และประชาชนกู้เงินไปลงทุนในธุรกิจหรือดำเนินการต่าง ๆ พูดง่าย ๆ คือการเอา "หนี้" ไปทำธุรกิจ หรือเอา "หนี้" ไปซื้อ "ทรัพย์สิน" นั่นเอง
1
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนของการ Q.E. ลองดูวิดีโอข้างล่างนี้
ผลกระทบของมาตรการ QE ต่อประเทศไทย
1
การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (U.S Treasury) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ลดลงด้วย ส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะผลตอบแทนดีกว่า ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนต่างประเทศจึงได้กำไรทั้งจากอัตราผลตอบแทนทางธุรกิจ และอัตราแลกเปลี่ยน (พอเงินไหลเข้ามาลงทุนเยอะ ๆ แล้วเงินไทยแข็งขึ้นพอแลกกลับเป็นดอลลาร์ก็ได้มากขึ้น)
ผลกระทบของการ Q.E ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะ FED ต้องใช้นโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว แต่รวมไปถึงประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low Income) อีกด้วย ซึ่งประเทศเหล่านี้ให้ผลตอบแทนที่ดีและน่าลงทุนทั้งนั้น ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้ต่างก็แข็งค่าไปในทิศทางเดียวกัน
สถานการณ์เหมือนจะดูดีแต่เมื่อวิเคราะห์จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เราได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือ มูลค่าเงินหลายประเทศพลอยแข็งค่าขึ้นจากเศษกระดาษที่เรียกว่า ดอลลาร์ นั่นเอง การ Q.E. ก็หมายถึงเพิ่มเงินถือครองในมือและจำนวนเงินทั้งหมดบนโลกขึ้น เมื่อผู้คนมีเงินมากขึ้น กำลังซื้อก็เพิ่มขึ้น แต่ Supply นั้นมีจำกัด จึงทำให้ราคาสินค้าบริโภคอุปโภคนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก สังเกตุได้จากค่าดัชนี CPI ทั่วโลก
1
CPI รวมทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1971
CPI ของไทยสูงขึ้นตลอดตั้งแต่ปี 1971
ผลที่ตามมาคือสหรัฐฯขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องเพราะเงินดอลลาร์ไหลออกไปนอกประเทศ ปริมาณ "หนี้" เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุนสำรองระหว่างประเทศก็เริ่มจะร่อยหลอลงเรื่อย ๆ
กราฟแสดงการขาดดุลการค้าของสหรัฐหลังยกเลิกมาตรฐานทองคำ
สหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจของโลกแต่มีเงินทุนสำรองน้อยมาก น้อยกว่าไทยเกือบเท่าตัว
ปริมาณเงินดอลลาร์หมุนเวียนในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเฟดก็พิมพ์เงินออกมาเรื่อย ๆ โดยในขณะนี้มูลค่าของดอลลาร์ขึ้นอยู่กับว่าแต่ล่ะประเทศถือดอลลาร์อยู่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศมากน้อยขนาดไหน
การขาดดุลการค้าของสหรัฐมานานกว่า 20 ปีติดต่อกัน หมายความว่า คนอเมริกันบริโภคสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก ทำให้ "หนี้" ของรัฐบาลสหรัฐก็ยังคงเติบโต
ณ สิ้นปี 2017 ซึ่งเป็นปีแรกที่ทรัมป์ทำงาน มีหนี้เท่ากับ 19.362 ล้านล้านดอลลาร์ แต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2019 มีหนี้เกิน 22 ล้านล้านดอลลาร์ไปเสียแล้ว (105% ของ GDP) โดยวิกฤตหนี้นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ในอเมริกา แต่ข้อมูลจากสถิติพบว่าทั่วโลกก่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเทศ "ตลาดเกิดใหม่" และประเทศที่มี "รายได้ต่ำ" ซึ่งมีข้อมูลยืนยันจากหลายแหล่ง โปรดดูกราฟต่อไปนี้
ข้อมูลจาก IMF
ข้อมูลจาก Begingold
ข้อมูลจาก IMF
สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของจีนย้อนหลัง ภาพจาก IIF.
สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากรู้เรื่อง "หนี้" อย่างละเอียด World Maker ก็เคยเขียนไว้แล้วเช่นกัน สามารถติดตามได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5e2d4074f9d9390c953bf0a1
แล้วจะเป็นยังไงเมื่อเอา "หนี้" ไปแลกกับทรัพยากรและทรัพย์สิน ?
สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ เลยคือ การสูญเสียทรัพยากรโลกอย่างสิ้นเปลือง และไม่คุ้มกับ "มูลค่าที่แท้จริง" ของทรัพยากร การนำเงินดอลลาร์ที่พิมพ์ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ โดยไม่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเองไปแลกกับ "ทรัพยากร" ที่มีอยู่จำกัดในโลกนั้น ตามหลักธรรมชาติแล้วถือเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก
ผลลัพธ์ที่ออกมาในเชิงตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์ก็คือปริมาณ "หนี้" ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเอง แต่ในทางปฎิบัติแล้ว เมื่อเกิด "หนี้" ขึ้นสูง สิ่งที่ตามมาคือ "วิกฤต" ซึ่งมนุษย์จะได้รับผลกระทบโดยการขาดแคลนปัจจัย 4 นั่นเอง จะสังเกตได้หลายครั้งว่าเมื่อเกิดวกฤตทางเศรษฐกิจทุกครั้ง หลาย ๆ คนสูญเสียบ้าน ที่ดิน และสินทรัพย์อื่น ๆ ทั้งหมด บางคนไม่มีเงินแม้แต่จะกินข้าว บางคนหนี้ท่วมตัว
1
Great Depression ทำให้หลายแสนคนในอเมริกาต้องรอคิวเพื่อรับสวิสดิการอาหารจากรัฐบาล
ภาพตึกร้างในไทยที่ขาดทุนมหาศาลจากวิกฤตต้มยำกุ้ง
สำหรับคนที่สนใจอ่านเรื่อง "วิกฤต" World Maker ก็เคยเขียนไว้ (อีกแล้ว) เกี่ยวกับ 5 วิกฤตครั้งสำคัญของโลกในช่วงอายุเรา ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5e3c9a6275203f0cb64fdf88
บทสรุป Session 2 : เมื่อเงินดอลลาร์ถูกใช้เป็นสกุลเงินหลักของโลก หลายประเทศก็ถือเงินดอลลาร์ไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ และทรัพยากรถูกใช้ไปโดยไม่คุ้มค่ากับ "มูลค่าที่แท้จริง" จึงก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "หนี้" ซึ่งจะนำมาซึ่ง "วิกฤต" นั่นเอง
ดังคำกล่าวของ Voltaire ปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส ที่ว่า
"Paper money eventually returns to its intrinsic value : zero.
ท้ายที่สุดแล้ว เงินกระดาษจะต้องกลับไปสู่มูลค่าที่แท้จริงของมัน นั่นคือศูนย์ (โดยบริบทหมายถึงเมื่อเทียบกับทองคำ)
1
Session 3 : The Big Reset มาตรฐานทองคำจะกลับมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายคนคงยังไม่รู้เกี่ยวกับ The Big Reset ซึ่งไม่แปลกเพราะสื่อไทยไม่ค่อยมีใครพูดถึงเรื่องนี้ แต่วันนี้ World Maker มาเสิร์พสรรค์ความรู้ให้คุณแล้ว
The Big Reset : War on Gold and the Financial Endgame เป็นหนังสือของ Willem Middelkoop คณะกรรมการที่ปรึกษาขององค์กร OMFIF ซึ่งเป็นองค์กรมันสมองด้านการลงทุนระดับโลก เคยเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2014 แต่ไม่เคยมีการแปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการเลย
ซ้าย : ภาพหน้าปกของหนังสือ ขวา : Willem Middelkoop
The Big Reset แปลตรงตัวก็คือ "การเริ่มต้นใหม่ครั้งยิ่งใหญ่" เป็นชื่อเรียกของปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลกไปอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับ ระบบเงินทุนสำรองโลกใหม่ (New global reserve system)
ในประมาณปี 2014 OMFIF ออกมาบอกว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายปีกว่าเงินหยวนจะมาท้าทายดอลลาร์ได้ ในขณะเดียวกันเงินยูโรนั้นก็ไม่มีทางเทียบกับเงินดอลลาร์ได้เลย
แล้ว The Big Reset จะเกิดได้ยังไง?
ระบบการเงินโลกจะเปลี่ยนตามประเทศที่เป็นมหาอำนาจของโลก ซึ่งเกณฑ์วัดความมีอำนาจที่สำคัญมีอยู่ 2 อย่างก็คือ
1. อำนาจทางการทหาร
2. อำนาจทางการค้าโลก
ประเทศใดที่มีกำลังทหารแข็งแกร่งย่อมมีอำนาจในการกำหนดความมั่นคงของโลก และประเทศใดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกก็จะมีอำนาจในการขับเคลื่อนโลกนั่นเอง
1
ซึ่งประเทศที่จะขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกในยุคต่อไปนั้นมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอยู่ 2 อย่างคือ
1. การเสื่อมสลายของดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลหลักของโลก
2. การเติบโตของหนี้สินที่ควบคุมไม่ได้ในงบดุลของนาคารกลางที่ต้องเข้าไปอุ้มระบบแบงค์ไม่ให้ล่มสลาย
และเป็นที่รู้กันว่า ณ ปัจจุบันนี้ "จีน" กำลังก้าวขึ้นมาท้าทายความเป็นมหาอำนาจของ "อเมริกา" อย่างมาก เรามาดูขนาดเศรษฐกิจและข้อมูลการลงทุนทางการทหารบางส่วนของจีนและสหรัฐกัน ซึ่งข้อมูลตรงนี้คลาดเคลื่อนกันเล็กน้อยตามแต่ล่ะแหล่งข้อมูล เราจึงคัดแค่บางแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
1
1.ข้อมูลทางการทหาร
ข้อมูลจาก : Military Balance
ข้อมูลจาก chinausfocus
ข้อมูลจาก Express
2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
The Big Reset ต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยที่ทางสหรัฐฯและ IMF ได้เตรียมแผนระบบเงินทุนสำรองที่ใช้เงินหลายสกุล (multiple reserve currency system) มาแทนระบบเงินทุนสำรองโลกที่ใช้ดอลลาร์เพียงสกุลเดียว
การตั้งระบบทุนสำรองที่ใช้เงินหลายสกุล โดยให้หยวนเข้ามามีบทบาทด้วย เพื่อว่าสหรัฐฯ และ IMF จะยังคงคุมเกมการเงินโลกอีกต่อไป ในระบบนี้ดอลลาร์ยังคงเป็นเงินสกุลหลักของโลก โดยมีเงินสกุลอื่นค้ำประกันให้
รายงานของ OMFIF บอกว่าระบบเงินทุนสำรองโลกใหม่ จะเป็นการเปิดศักราชของระบบการเงินยุคใหม่ ที่ผ่านมา150 ปี โลกเรามีเงินสกุลหลักของโลกเเพียงสองสกุล คือปอนด์และดอลลาร์ ปอนด์เป็นเงินสกุลหลักจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ดอลลาร์เข้ามามีบทบาทแทนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปอนด์ยิ่งเสื่อมอิทธิพลลงไปอีก เมื่อเงินยูโรเกิดขึ้นในปี 2009 เพราะปอนด์ต้องกลายเป็นเงินสกุลร่วมของสหภาพยุโรป (EU) ยูโรกลายเป็นเงินที่มีความสำคัญอันดับสองของโลกทันทีรองจากดอลลาร์ ทำให้ยูโรและดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักของโลกที่อยู่เคียงคู่เงินสกุลอื่นๆ
2
ขอบคุณภาพจาก thairath
แต่สิ่งที่จีนกำลังทำเพื่อขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกคือการเป็นพันธมิตรกับชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ของโลกเช่น รัฐเซีย อิหร่าน หรือแม้แต่อินเดีย ที่มองเผิน ๆ แล้วดูเหมือนจะไม่ลงรอยกันสักเท่าไหร่ก็ตาม (แต่หากใครศึกษาลึก ๆ จะรู้ว่าเค้าเป็นเพื่อนรักเพื่อนร้ายกันเลย ขาดกันไม่ได้จริง ๆ)
1
นอกจากนี้ยังมีข่าววงในหลายแห่งกล่าวว่าตอนนี้ จีน รัสเซีย อิหร่าน และอินเดีย กำลังจับมือกันและเร่งสะสมทองคำเข้าคลังทรัพย์สินของประเทศ เพื่อเตรียมเอาคืนที่อเมริกาเคยทำไว้กับพวกเขา โดยการยกเลิกการอ้างอิงสกุลเงินของพวกเขากับเงินสกุลดอลลาร์ แล้วเปลี่ยนมาอ้างอิงกับทองคำเหมือนเดิม โดยข้อมูลจากข่าววงในบางแหล่งกล่าวว่า อาจประกาศทองคำเป็นหลักค้ำประกันอย่างน้อย 30,000 - 100,000 ตัน ซึ่งก็คือ The Big Reset นั่นเอง และมันไม่ใช่แค่คำทำนายเพราะในอดีตมันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว !
เงินทั้งโลกอ่อนค่าลง 97-99% เมื่อเทียบกับทองคำ เป็นเหตุการณ์สำคัญในรอบ 100 ปี
ก่อนปี 1933 กว่า 100 ปีที่ดอลลาร์ถูกค้ำประกันด้วยทองคำ เงิน 20 ดอลลาร์สามารถซื้อทองคำได้ 1 ออนซ์ แต่หลังจากปี 1933 ประชาชนอเมริกาถูกรัฐบาลปล้นทองคำ โดยบังคับแลกกับพันธบัตร 20 ดอลลาร์ ค่าทองคำได้ปรับค่าสูงขึ้นเป็น 35 ดอลลาร์ นั่นคือดอลลาร์ด้อยค่า 43% ชั่วข้ามคืน
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจาก The Big Reset คือเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับทองคำ มีการประมาณที่น่าเชื่อถือได้ระบุว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ราคาของทองคำอาจพุ่งขึ้นที่ระดับ $4000/ออนซ์ และสูงสุดถึง $25,000/ออนซ์ เลยทีเดียว (น่าตกใจจริง ๆ แต่ย้ำอีกครั้งว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก) และที่ราคาระดับนั้นจะทำให้ 99.95% ของคณบนโลกจะไม่มีทางมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะครอบครองทองคำแท่งได้เลย
เราจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาทองคำปรับตัวขึ้นสูงมาก
เรื่องราวเหล่านี้เคยถูกเขียนไว้ในหนังสือพิมพ์ People's Daily ของจีนประกาศเอาไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1971 มีเนื้อหาประมาณว่า "ระบบการเงินมันเริ่มพังตั้งแต่วันนั้นแล้ว"
รัฐบาลจีนเห็นมาตั้งแต่ 48 ปีก่อนแล้ว ตอนที่นิกสันตัดสินใจยุติการค้ำประกันค่าเงินดอลลาร์ด้วยทองคำ จีนรู้ดีว่านั่นคือจุดจบของดอลลาร์และระบบการเงินของโลกตะวันตก แต่ไม่มีใครเชื่อคำทำนายนี้เลย จนเริ่มเห็นผลแล้ววันนี้ โดยมาการตั้งข้อสังเกตว่าสหรัฐเริ่มสูญเสียการครอบครองทองคำครั้งใหญ่ตั้งแต่ช่วงปี 1960 และในปัจจุบันจะยังมีทองคำเหลืออยู่อีกหรือไม่ ? ซึ่งตอนนี้สหรัฐฯ ก็ไม่กล้าเปิดเผยจำนวนทองคำสำรองที่ถืออยู่อย่างชัดเจน
มีการวิเคราะห์ถึงค่าเงินดอลลาร์กับเงินฟรังก์ของ Switzerland ดังนี้
- เมื่อปี 1970 มูลค่าเงิน $1 เท่ากับ 4.30 ฟรังก์สวิส วันนี้มีค่าเหลือไม่ถึง 1 ฟรังก์ ต่อ $1 นั่นเป็นการร่วงลงถึง 77% ของเงินสกุลหลักของโลกภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี
1
ขอบคุณภาพจาก Goldswitzerland
เป้าหมายต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะเหลือระหว่าง 0.4-0.0 ฟรังก์ต่อ 1 ดอลลาร์ นั่นหมายถึงอาจร่วงไปอีก 60%-100% ทำให้ดอลลาร์หมดค่าลงทันที นี่เป็นการ Comfirm คำพูดของ Voltaire ที่ว่า "ท้ายที่สุดแล้ว เงินกระดาษจะต้องกลับไปสู่มูลค่าที่แท้จริงของมัน นั่นคือศูนย์" เรารู้ว่านั่นหมายถึงการเปรียบเทียบกับทองคำ แต่น่าแปลกที่นำมาเปรียบกับเงินฟรังก์สวิสก็ได้
สรุปตั้งแต่ยกเลิก Gold Standard ปี 1971
1. ดอลลาร์สูญค่าไปถึง 97% เมื่อเทียบกับทองคำ
2. 57% เมื่อเทียบกับเงินยูโร
3. 77% เมื่อเทียบกับเงินฟรังก์สวิส
ข้อมูลเพิ่มเติมจากสภาทองคำโลกยังระบุอีกด้วยว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางเประเทศต่าง ๆ ได้เพิ่มการถือครองทองคำขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดสรุปเมื่อสิ้นปี 2019 ระบุว่ามีการสะสมทองคำเพิ่ม 650 ตัน จากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ในปีนี้ โดยหลัก ๆ คือ จีน รัสเซีย และอินเดีย (เห็นความเป้นไปได้ของ The Big Reset บ้างไหมครับ ?)
สถิติการซื้อตุนทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นรอบทศวรรษ
ยังไม่เพียงแค่นี้ ในประเทศ "ตลาดเกิดใหม่" และประเทศ "รายได้ต่ำ" ก็เริ่มมีการสะสมทองคำกันแล้ว ! ซึ่งโดยรวมธนาคารกลาง 15 แห่งได้เพิ่มปริมาณการถือครองทองคำอย่างน้อย 10 ตันในปี 2562 โดยเบื้องต้นมีดังนี้
1. ตุรกีซึ่งเริ่มซื้อทองคำในปี 2560 กลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในปี 2562 โดยมีปริมาณทองคำสำรองเพิ่มขึ้น 159 ตัน ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นรวมอยู่ที่ 413 ตัน เพิ่มขึ้น 63% จากปีก่อนและเท่ากับ 20% ของทุนสำรองทั้งหมด
1
2. โปแลนด์ซื้อ 25.7 ตัน ในปี 2561 และได้ทำการซื้อครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2562 โดยซื้อทีเดียว 94.9 ตัน โดยรวมแล้วโปแลนด์ซื้อทองมากกว่า 100 ครั้งและสำรองทองคำไว้ที่ 228.6 ตัน
3. ทุนสำรองทองคำรัสเซียเพิ่มขึ้น 158.1 ตัน แม้ว่ายอดซื้อจะต่ำกว่าปีที่แล้ว 42%
4. ปริมาณทองคำสำรองของจีนเพิ่มขึ้น 95.8 ตันในช่วงเก้าเดือนแรกโดยมีปริมาณสำรองทองคำรวมอยู่ที่ 1,948 ตัน (3% ของปริมาณสำรองทั้งหมด)
นอกจากนี้การวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นว่า มีการถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 2-13% ในพอร์ตของกองทุนต่าง ๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ (นักลงทุนบางกลุ่มคงเริ่มรู้ตัวและเตรียมรับมือกันแล้ว) ข้อมูลวงในบางแห่งกล่าวว่าในปัจจุบันนี้จีนถือครองทองคำอย่างน้อย 30,000 ตัน
ข้อมูลประมาณการจำนวนการถือครองทองคำของจีน
บทสรุป Session 3 : สุดท้ายแล้วหากเรายังยืนกรานที่จะแลกทรัพยากรที่มีอย่างกำจัดกับเงินกระดาษ เราจะควรจะเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตการขาดแคลนทรัพยากรครั้งใหญ่ไว้บ้าง The Big Reset เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากเหตุผลที่ทรัพยากรได้ถูกใช้ไปอย่างสูญสิ้นคุณค่าอย่างมาก ผลลัพธ์ที่อาจจะตามมาโดยธรรมชาติคือ "วิกฤตทางเศรษฐกิจและทรัพยากรโลก"
1
โดยเรามีคำกล่าวของ Egon von Greyerz ผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน Matterhorn และ GoldSwitzerland เพื่อสนับสนุนความเป็นไปได้นี้อีก ซึ่งกล่าวไว้ว่า
“The value of dollar has no guarantee whatsoever”
มูลค่าของเงินดอลลาร์มันไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้อีกแล้ว
Session 4 : บทสรุปและวิธีรับมือหากเกิดวิกฤต
หากใครอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะพอเข้าใจประเด็นและสาเหตุต่าง ๆ ที่แสดงชัดเจนถึงความเป็นไปได้ในการเกิด "วิกฤต" ทางการเงินครั้งใหญ่ในเร็ววัน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ยังคงหนีไม่พ้น "ความผิดพลาดของระบบทุนนิยม" ที่เคยเกิดขึ้นแล้วนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต สาเหตุซึ่งเป็นแก่นหลัก ๆ ของวิกฤตทุกครั้งยังคงเป็น 6 ปัจจัยเดิมที่เคยกล่าวไว้ใน https://www.blockdit.com/articles/5e3c9a6275203f0cb64fdf88 ดังนี้
1. ความโลภ (คู่กับระบบทุนนิยม)
2. การกู้ยืม (คู่กับ Q.E. และการลดดอกเบี้ย)
3. การเก็งกำไร (คู่กับอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และตลาดเงิน)
4. หนี้สิน (มาจากการกู้ยืมและใช้ทรัพยากรโดยไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่แท้จริง)
5. นโยบายที่ผิดพลาดของสถาบันการเงินและการขาดความรู้ทางการเงินของประชาชนหมู่มาก (ส่งผลต่อทั้งโลก)
6. การที่มูลค่าของธุรกิจและทรัพยากรถูกเพิ่มขึ้นจากการเก็งกำไรมากเกินไป แทนที่จะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ก็เกิดคำถามว่า แล้วเมื่อเราอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราควรเตรียมตัวรับมืออย่างไรดี ? World Maker ขอแนะนำดังนี้
1. ลดการถือครองเงินที่เป็นพันธบัตรลง หันไปถือครองสินทรัพย์อื่น ๆ บ้างที่ไม่ใช่พันธบัตร อย่าคิดว่าเงินบาทหรือเงินสกุลอื่นจะปลอดภัยจากวิกฤตเด็ดขาด เพราะทุกรัฐบาลมีการถือครองดอลลาร์เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ การล่มสลายของเงินดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินทั่วโลกเช่นกัน ซึ่งเราขอยืนยันคำกล่าวด้วยข้อมูลจากสภาทองคำโลก ดังกราฟด้านล่างนี้
1
กราฟแสดงการสูญเสียมูลค่าของสกุลเงินต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เทียบกับทองคำ
2. การเร่งทำงานและประหยัดค่าใช้จ่ายไว้ใช้ยามวิกฤตเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 100% นัก สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตแล้วจะสร้างรายได้ยังไง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้ทางการเงิน หากท่านยังไม่มีความรู้ทางการเงินมากพอก็ควรหาความรู้ด้านนี้เพิ่มให้กับตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้
3. ท่านควรสอนความรู้ทางการเงินของท่านให้กับบุคคลอื่นให้มากที่สุด รวมถึงครอบครัวของท่าน ยิ่งคนมีความรู้ทางการเงินมากขึ้นเท่าไหร่ วิกฤตย่อมเกิดขึ้นได้ยาก
4. ขอทิ้งท้ายด้วยคำว่า "อย่าตื่นตูมจนเกินไป" นี่เป็นแค่ความเป็นไปได้ แต่ท่านใส่ใจหาความรู้ทางการเงินให้กับตัวเองตั้งแต่วันนี้ ต่อให้วิกฤตมันเกิดขึ้นจริง ๆ ท่านจะสามารถผ่านพ้นมันไปได้เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา
เพิ่มเติม
มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจากคุณ ทนงค์ ขันทอง เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากไว้ให้คนที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้รับชมครับ
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมบทความในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ จะเป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอบคุณมากครับ
ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
Reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา