Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2020 เวลา 02:04 • ปรัชญา
ตำราฝังเข็ม (針灸學)
ภาคทฤษฎี
บทที่ 10 สาเหตุแห่งโรคห้าประการ
สี่ การบาดเจ็บจากภายนอกและการบาดเจ็บจากแมงสัตว์กัดต่อย (外傷及蟲獸所傷)
ห้า มูกเสมหะ เลือดคั่ง (痰飲瘀血)
อาการบาดเจ็บในกรณีนี้ ส่วนใหญ่จะเป้นการบาดเจ็บในที่เกิดจากการกระทบกระทั่งจากภายนอก เป็นต้นว่ามีดบาด หกล้มเป็นแผล กระดูกหัก น้ำร้อนลวก เป็นต้น อาการบาดเจ็บเหล่านี้หากทำการรักษาอย่างไม่เหมาะสม ความจริงก็สามารถก่อผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
นอกจากการบาดเจ็บที่เกิดจากการกระทบกระเทือนจากภายนอกแล้ว ก็ยังมีการบาดเจ็บที่เกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่นงูกัด ยุงกัด สุนัขกัด เป็นต้น
มูกเสมหะ เลือดคั่ง (痰飲瘀血)
มูกเสมหะและเลือดคั่งล้วนเป็นผลผลิตที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายในทั้งสิ้น แม้นว่ามูกเสมหะและเลือดคั่งจะเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในร่างกาย แต่มันกลับสามารรถส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในทั้งทางตรงและทางอ้อม จนทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างใหญ่หลวงได้เช่นกัน
1.มูกเสมหะ (痰飲)
การเกิดขึ้นของมูกเสมหะนั้นเป็นเพราะปอด ม้าม ไตเกิดการเสียสมดุล จึงทำให้การหมุนเวียนของน้ำเกิดปัญหา สุดท้ายจึงทำให้น้ำและความชื้นเกิดการอุดอั้นและกลายเป็นผลิตผลของมูกเสมหะขึ้น โดยมูก (飲) คือสิ่งที่มีลักษณะเหลวใส ส่วนเสมหะ (痰) คือสิ่งที่มีลักษณะขุ่นข้น สองสิ่งรวมเรียกว่ามูกเสมหะ (痰飲)
การมีมูกเสมหะถือว่าเป็นโรคประเภทหนึ่ง เป็นสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการหมุนเวียนอย่างผิดปกติของร่างกาย เนื่องจากเมื่อมูกเสมหะสะสมอยู่ในตำแหน่งของร่างกายที่แตกต่าง ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่ามูกเสมหะสามารถสะท้อนลักษณะอาการของโรคได้อย่างหลากลาย เป็นต้นว่า หากเสมหะอุดที่ปอดก็จะทำให้เกิดอาการหืดหอบและเสมหะมาก หากเสมหะอุดที่หัวใจก็จะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว สลึมสลือ บ้าคลั่ง หากเสมหะอุดที่เอ็นกระดูก ก็จะทำให้เกิดอาการวัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่คอ หากเสมหะกระจายอยู่ตามร่างกาย ก็จะทำให้เกิดอาการเหน็บชา หรือกระทั่งเกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้ หากเสมหะอุดที่ศีรษะและดวงตา ก็จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนตาลาย หากเสมหะอุดที่ลำคอ ก็จะทำให้มีความรู้สึกเหมือนมีก้อนที่คอ
นอกจากเสมหะที่สามารถก่อให้เกิดอาการของโรคต่าง ๆ แล้ว ในส่วนของมูกที่มีลักษณะเหนียวใสนั้นก็สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน เป็นต้นว่า หากมูกอุดที่ผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดอาการตัวบวมน้ำ เนื้อตัวหนัก หากมูกอุดที่หน้าอกและสีข้าง ก็จะทำให้เกิดอาการปวดแน่นหน้าอกและสีข้าง หากมูกอุดที่กระเพาะลำไส้ ก็จะทำให้เกิดอาการพะอืดพะอมและน้ำลายไหลยืด ท้องร้อง ท้องเฟ้อ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว มูกเสมหะก่อให้เกิดปัญหาของร่างกายต่าง ๆ มากมาย แต่อาการโดยรวมที่มักจะพบเห็นในทางคลินิกนั้นคือ ผู้ป่วยจะมีน้ำลายเหนียว ลำคอมีเสียงครืด ๆ ปวดแน่นท้อง อาเจียน วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว ฝ้าลิ้นเหนียว และชีพจรตึงลื่น เป็นต้น
2.เลือดคั่ง (瘀血)
สาเหตุที่เกิดเลือดคั่งนั้น เป็นเพราะมีปัญหาเรื่องของเลือดพร่อง ลมปราณพร่อง และเลือดอุดอั้นนั่นเอง จึงทำให้เลือดหมุนเวียนไม่คล่องตัว เมื่อเลือดหมุนเวียนไม่คล่องตัวก็จะทำให้เกิดการอุดอั้นและมีอาการเลือดคั่งขึ้น นอกจากนี้ก็อาจจะเกิดจากการกระทบกระเทือนจากภายนอกจนทำให้เกิดอาการเลือดออกที่ภายใน หากอาการเลือดออกที่ภายในไม่สามารถสลายออกไป ในเวลานี้ก็ทำให้เกิดอาการเลือดคั่งได้เช่นกัน
การมีเลือดคั่งเป็นโรคอย่างหนึ่ง และมักจะมีอาการของโรคที่แตกต่างตามตำแหน่งที่เลือดคั่งสะสมอยู่ เป็นต้นว่า หากเลือดคั่งที่หัวใจ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดแน่นหน้าอก ริมฝีปากเป็นสีม่วงเขียว หากเลือดคั่งที่ปอด ก็จะเกิดอาการแน่นหน้าอกและไอออกเป็นเลือด หากเลือดคั่งที่กระเพาะลำไส้ ก็จะทำเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระออกเป็นเลือด หากเลือดคั่งที่ตับ ก็จะทำให้เกิดก้อนแข็งที่สีข้าง หากเลือดคั่งที่มดลูก ก็จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนเป็นสีเข้มและมีลิ่มเลือด หากเลือดคั่งที่ผิวหนัง ก็จะทำให้มีรอยจ้ำสีม่วงตามร่างกาย หรือมีก้อนเลือดแข็งใต้ผิวหนัง เป็นต้น
แม้นอาการของเลือดคั่งจะมีหลากหลาย แต่ก็สามารถสรุปอาการหลัก ๆ ที่พบเห็นในทางคลินิคได้ดังต่อไปนี้
1.อาการเจ็บปวด : มีอาการเจ็บปวดเหมือนเข็มทิ่มแทง ตำแหน่งปวดจะไม่เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยจะกลัวการกดที่ตำแหน่งปวด
2.เลือดออก : สีของเลือดจะมีลักษณะม่วงเข้ม หรืออาจจะมีลิ่มเลือดดำปนออกมาก็เป็นได้
3.รอยจ้ำ : หากเลือดคั่งอยู่ตรงตำแหน่งใต้ผิวหนัง ก็จะทำให้มีรอยจ้ำสีม่วง บางตำแหน่งอาจจะมีอาการปวดประกอบ ส่วนฝ้าลิ้นก็จะมีสีม่วงเข้มหรือบางทีอาจจะมีรอยจุดสีม่วงบนลิ้นก็เป็นได้
4.ก้อนแข็ง : ลักษณะของก้อนแข็งจะมีตำแหน่งคงที่ไม่เคลื่อนย้าย บางทีก้อนแข็งอาจจะมีสีม่วงแดง และมักจะมีอาการปวดประกอบอีกด้วย
2 บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม ภาคทฤษฎี บทที่ 10
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย