2 มี.ค. 2020 เวลา 20:33 • การศึกษา
The Principles of Ship Handling
“ การนำเรือมันเกี่ยวข้องกับการใช้แรงและการสร้างสมดุลย์ของแรง ”
ทฤษฎีการควบคุมเรือ - The Principles of Ship Handling
การควบคุมเรือและการเคลื่อนที่ไปของเรือ (Ship handling and Maneuvering) ได้มีการให้นิยามไว้คือ “ ศิลปะในการควบคุมเรือให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสมในขณะที่เรือกำลังแล่น โดยเฉพาะในเขตท่าเรือ รอบๆ ท่าเทียบเรือ “
มันเป็นความเชี่ยวชาญอย่างหนึ่งของนักนำเรือ (ควบคุมเรือ) เมื่อเขาได้ทำงานสำเร็จด้วยดี สิ่งที่เขาต้องเข้าใจคือ เข้าใจในอาการและการตอบสนองของเรือในแต่ละสถานการณ์ และคำสั่งที่จะสั่งการเพื่อให้เรือตอบสนองและเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เขาต้องการ
ความแตกต่างระหว่างทิศของหัวเรือกับทิศทางการเคลื่อนไปจริงๆ ของเรือ (ships’ heading and the actual direction of movement of the ship) ซึ่งต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษอย่างยิ่ง เมื่อเรือมีความเร็วต่ำและเมื่อเรือได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำ กระเเสลม
ทิศทางการเคลื่อนตัวของเรือ แบ่งออกคร่าวๆ ได้ 3 ทิศทาง คือ
1. การเคลื่อนที่ตามแนวยาว (เดินหน้า หรือถอยหลัง) - Longitudinal motion (forward or astern)
2. การเคลื่อนที่ออกด้านข้าง - Lateral motion (sideways)
3. เลี้ยวเปลี่ยนทิศทาง - Rotational or turning motion
ยิ่งไปกว่านั้น เรือก็มียังอาการอย่างอื่นที่ไม่ควรมองข้าม เมื่ออุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นทำงานเป็นปกติอยู่ เช่น อาการที่เกิดจากประเภทของใบจักร เรือใบจักรเดี่ยว เมื่อเรือเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจากจอดนิ่ง เรือจะเอียงไปทางซ้ายหรือทางขวา หรือเมื่อใช้เครื่องถอยหลังจากเรือที่จอดนิ่งอยู่ เรือก็จะเอียงซ้ายหรือขวาในอัตราความเร็วที่เร็วกว่าเดินหน้า, เมื่อเรือมีความเร็วไปด้านหน้า หัวเรือจะหมุนไปในทิศทางเดียวกันกับทิศของหางเสือที่หมุนไป, Thrusters จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เรือเคลื่อนตัวไปด้านข้าง จะทำงานได้มีประสิทธิภาพเมื่อเรือมีความเร็วต่ำ
ปัจจัยและแรงที่ก่อขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงอาการของเรือในระหว่างที่เรือเคลื่อนตัว :
@ ปัจจัยหรือแรงภายนอก (External Factors/forces) :
1. กระแสน้ำ - Tide
2. ลมกรรโชก - A sudden change in wind velocity and direction (gust).
3. แรงที่มาทำให้เรือออกนอกทิศการเดินทาง - Set and drift.
4. เรือที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน - The proximity of other vessels.
5. ความลึกของท่าเรือ - The depth of harbours.
@ ปัจจัยหรือแรงภายใน ที่อยู่ในการควบคุมของคนนำเรือ (Internal Factors/forces under the control of the Shiphandler) :
1. กำลังของเครื่องจักร - Engine power
2. ความเร็ว - Speed
3. ใบจักร - Effect of the type of propeller.
4. ชิดของหางเสือและการเคลื่อนตัวของมัน - Rudder movement and type.
5. Thrusters.
6. สมอและเชือกเทียบเรือ - Anchors and mooring lines.
7. เรือทัก - Tug boats.
ผลกระทบของแรงภายนอก - Effects of external forces:
ผลกระทบของแรงภายนอก บางครั้งก็อาจจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นผลดีต่อคนนำเรือ เป็นการดีที่สุดที่เราจะรู้และเข้าใจผลกระทบนี้ล่วงหน้า เพื่อรับมือหรือนำมาใช้ในกระขณะที่เรือเคลื่อนตัว
ดังที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “ the art of ship handling involves the effective use of the forces under one’s control to overcome the effects of external forces”
ในบรรดาแรงภายนอก ผลกระทบเนื่องมาจากแรงลมและกระแสน้ำจะมีความสำคัญมากที่สุด มันจะมีผลอย่างมากต่อการเคลื่อนที่ของเรือ
เมื่อเรือเเล่นไปด้านหน้าและมีลมมาพัดเข้าที่ด้านข้างของตัวเรือ เรือจะไม่เคลื่อนตัวไปในทิศทางตามเส้นทางที่ได้ขีดเข็มไว้ แต่จะเบี่ยงเบนไปยังด้านใต้ลม ในทำนองเดียวกันถ้ากระแสน้ำมากระทำที่ด้านหนึ่งของเรือ เรือก็จะแล่นไปในอาการเดียวกัน ดังนั้นเรือจะแล่นไปในแนวเส้นทะแยงมุมที่กระแสน้ำพัดไป ถึงแม้ว่าทิศของหัวเรือจะหันไปตามเข็มที่ถือท้าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเส้นทาง เราต้องตั้งค่าเพื่อชดเชยกระแสน้ำและกระแสลม พึงระลึกไว้เสมอว่ากระแสน้ำจะมีผลกระทบต่อเรือมากกว่าลม ค่าที่ตั้งชดเชยนี้ เราจึงเรียกว่า “ Set “
The angular difference between the ship’s heading and the course made good is called the drift angle.
ถ้าตั้งเข็มเรือไว้ 270 degrees และมีกระแสน้ำไหลไปทางเหนือ เรือจะเบี่ยงออกไปทางทิศเหนือจากเข็มเรือ มุมที่เกิดขึ้นระหว่างทิศหัวเรือกับทิศที่เดินทางไป (ship’s heading and the course made good) เราเรียกว่า “ drift angle “ สามารถหาได้โดยการเขียนกราฟหรือวิธีคำนวณทางคณิตศาสตร์ ค่า drift angle จะมีทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสน้ำ เพื่อให้เรือแล่นดำเนินตามเส้นทางที่วางแผนไว้
ปัจจัยที่มีผลต่อ “ drift angle “ คือ สถานะการบรรทุกบนเรือ, ความเร็วของเรือ, ความเร็วของลมหรือกระแสน้ำ ทิศทางของมันที่กระทำกับข้างเรือสัมพันธ์กับเเนวหัวเรือ ท้ายเรือ และมันจะมีผลกับความเร็วของเรือหากมันมากระทำในแนวหัวหรือท้ายเรือ
ปัจจัยผันแปรอื่นๆ ที่มีผลต่อการควบคุมเรือ - Variable factors affecting ship handling
1. Human factor – ความลาช้าระหว่างคำสั่งกับการปฎิบัติตามคำสั่ง ที่เราต้องการให้เรือเคลื่อนตัวไปตามนั้น อันเนื่องมาจากปัจเจกบุคคล เช่น การได้ฝึกอบรมมา ความสามารถในการปฎิบัติงาน หรือคำสั่งนั้นต้องได้การส่งทอดต่อจากนายยาม
2. อุปกรณ์เสียหายหรือล้มเหลวกระทันหัน - Sudden breakdown or failure of the ship’s equipment.
3. การติดต่อสื่อสารล้มเหลว - Mode of communication failure from the bridge to engine room or vice-versa, or to the fore and aft stations.
4. ปัญหาด้านภาษา - Language problems between nationalities.
5. แรงเฉี่อยของเรือ - Ship’s Momentum.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา